http://kccd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าหลัก

 ภารกิจ สพอ.

 บทบาทหน้าที่

 ประวัติอำเภอ

 แผนที่อำเภอ

 บุคลากร

 เว็บบอร์ด

ติดต่อเรา

ลิงค์หน่วยงาน

งานนโยบายสำคัญ

กิจกรรมเด่น/โครงการริเริ่ม

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน/ ตำบล (VDR/TDR)

คลังภูมิปัญญา OTOP

องค์ความรู้ พช.

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

สถิติ

เปิดเว็บ24/11/2014
อัพเดท20/11/2017
ผู้เข้าชม32,724
เปิดเพจ39,778
iGetWeb.com
AdsOne.com

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน บ้านแมด หมู่ 10

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน

บ้านแมด  หมู่ที่   10   ตำบลบ้านเหล่า

อำเภอคำชะอี    จังหวัดมุกดาหาร

 

 

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

          บ้านแมด หมู่ที่ 10  ตั้งอยู่ ตำบลบ้านเหล่า  อำเภอคำชะอี  จังหวัดมุกดาหาร  บ้านแมดเป็นเชื้อสายผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองบก เมืองวัง ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ประเทศลาว มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร อยู่ได้ประมาณ 10 ปี จึงอพยพมาเรื่อยๆ จนตั้งถิ่นฐานอยู่ในที่ปัจจุบัน เดิมชื่อบ้านคำแมด เพราะบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านเป็นดงป่าไม้ชนิดหนึ่ง ชื่อไม้คำแมด ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็นบ้านแมด จนถึงปัจจุบัน

ลักษณะที่ตั้ง

          ชื่อ บ้านแมด  หมู่ที่ 10 ตำบลบ้านเหล่า  ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ  ของอำเภอคำชะอี  ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอ  7 ก.ม. 

 

อาณาเขตติดต่อ

          ทิศเหนือ  ติดต่อกับ  บ้านดงยาง ตำบลบ้านค้อ

          ทิศใต้     ติดต่อกับ บ้านแมดหมู่ 5

          ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ  บ้านแพง หมู 6

          ทิศตะวันตก  ติดต่อกับ  ภูผาวาน

การปกครองและการบริหารจัดการชุมชน

มี  นายธีรยุทธ  คนขยัน            เป็น  ผู้ใหญ่บ้าน

แบ่งการปกครองเป็นคุ้ม  จำนวน  5  คุ้ม  ดังนี้

1.  คุ้ม  หนองแวงพัฒนา  หัวหน้าคุ้ม นายเนย 

2.  คุ้ม  ปู่ป้องคำผิว  หัวหน้าคุ้ม  นายธีรยุทธ  คนขยัน

3.  คุ้ม  บันเทิงศิลป์  หัวหน้าคุ้ม  นายตาคม  วงค์สุภา 

4.  คุ้ม  โพธิสาร  หัวหน้าคุ้ม  นายจันทอง  ไชยประเทศ 

5.  คุ้ม  ปู่จันทร์  หัวหน้าคุ้ม  นายกาศ  โคตรสุโพธิ์

ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพทั่วไป

          เป็นที่ราบสลับภูเขา มี 3 ฤดูกาลคือ ร้อน ฝน หนาว 

แหล่งน้ำที่สำคัญมีดังนี้

  1. 1.      หนองแวง
  2. 2.     สระใหญ่

การคมนาคม

มีถนนติดต่อกับอำเภอ  1  เส้นทาง  รวมระยะทางทั้งหมด  7  กิโลเมตร

เป็นถนนลาดยาง  ระยะทาง  7  กิโลเมตร

มีถนนสายหลักภายในหมู่บ้าน  1 สาย  รวมระยะทางทั้งหมด  1  กิโลเมตร

เป็นถนนคอนกรีต  1  สาย  ระยะทาง  0.5  กิโลเมตร

 

ประชากร

ราษฎรอาศัย  129  ครัวเรือน  มีประชากร  จำนวน  484  คน  ชาย  239  คน  หญิง  245  คน (ตาม ข้อมูล จปฐ. 2559)

การประกอบอาชีพและมีงานทำ

          ประชากรส่วนใหญ่ มีอาชีพหลัก ทำการเกษตร  ทำนา   อาชีพรอง   รับจ้าง และเลี้ยงสัตว์

ข้อมูลสถานบริการ

มีสถานบริการน้ำมัน  ชนิดปั๊มหลอด/ขนาดเล็ก  จำนวน  -  แห่ง

มีร้านค้าในหมู่บ้าน                                 จำนวน  3  แห่ง

มีศูนย์จำหน่ายสินค้า  หรือร้านค้าที่ราษฎรรวมตัวกันจัดตั้ง  จำนวน  1  แห่ง

มีร้านอาหาร   จำนวน 1  แห่ง

สถานที่ท่องเที่ยวในหมู่บ้าน/ตำบล

1.  แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติภูผาซาน

แหล่งน้ำ – กินน้ำใช้

1.  มีระบบประปา  1  แห่ง       มีผู้ใช้จำนวน  129  ครัวเรือน

2.  บ่อน้ำบาดาล  2  บ่อ

3. สระน้ำ  1  แห่ง

4. หนองน้ำสาธารณะ  1  แห่ง

2.  ศักยภาพและโอกาสของหมู่บ้าน

 

ศักยภาพและโอกาสของหมู่บ้าน

ในภาพรวมของหมู่บ้านมีปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาชุมชนในอนาคต  ดังนี้

 ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ  ที่สามารถนำมาพัฒนาแปรรูปเพิ่มมูลค่าสินค้า  ได้แก่

-  ข้าวเปลือก

การรวมกลุ่ม

มีการรวมกลุ่มเพื่อประกอบกิจกรรมในการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  ดังนี้

  1. กลุ่มเลี้ยงปลา

จัดตั้งเมื่อปี 2558    สมาชิก  30  คน 

กิจกรรมที่ดำเนินการ

- รวมกลุ่มกันเพื่อเป็นการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต

- ให้ความรู้แก่คนในชุมชนเกี่ยวกับขั้นตอนการเลี้ยงปลาเพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

2.  กลุ่มออมทรัพย์

จัดตั้งเมื่อปี 251  สมาชิก  452  คน  ซึ่งกิจกรรมที่ดำเนินการ

          -  ปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ

          -  ปันผลกำไรตอบแทนแก่สมาชิก

          -  การจัดสวัสดิการแก่สมาชิกในชุมชน

3.  กลุ่มร้านค้าสวัสดิการชุมชน

มีสมาชิก  143  คน  เงินทุน  525,370  บาท

กิจกรรมที่ดำเนินการ

- จำหน่ายสินค้าราคายุติธรรม

- ส่งเสริมการออมให้แก่สมาชิก

- ให้สมาชิกกู้ยืม

 

 

 

 

 

 

ส่วนที่ 2 : การประเมินผลการพัฒนาหมู่บ้าน

 

 

การประเมินสถานการณ์พัฒนาหมู่บ้านจากข้อมูล จปฐ.

สถานการณ์พัฒนาหมู่บ้านของบ้านแมด  ที่ 10 ตำบลบ้านเหล่า   อำเภอคำชะอี     จังหวัดมุกดาหาร     จากการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลจปฐ. ประจำปี 2560   เป็นดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การประเมินสถานการณ์พัฒนาหมู่บ้านจากข้อมูล กชช 2 ค

จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน(กชช 2 ค) ประจำปี 2560 บ้านแมด  หมู่ที่ 10 มีผลการพัฒนาอยู่ในระดับก้าวหน้า (ระดับ 3 ) และเมื่อพิจารณากลุ่มตัวชี้วัดตามระดับปัญหาเป็นดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนที่ 3 : แนวโน้มทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน

 

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและชุมชน

 

จุดแข็ง  -  จุดเด่น  ที่เกี่ยวข้องภายในหมู่บ้าน

จุดอ่อน – จุดด้อย  ที่เกี่ยวข้องภายในชุมชน

1.  มีภูผาซาน

2.  มีกองทุนหมู่บ้าน

3.  กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

4.  กลุ่มผู้สูงอายุ

5.  กลุ่มเลี้ยงปลา

6.  มีธนาคารหมู่บ้าน

1.  ทรัพยากรถูกทำลาย

2.  ประชาชนยังขาดความเข้าใจในการตั้งกลุ่ม

 

ปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อชุมชน

 

ผลกระทบด้านบวก

ผลกระทบด้านลบ

1.  หน่ายงานทางราชการ  อปท.  ให้การสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาหมู่บ้าน

2.  ได้รับการฝึกอบรมด้านต่างๆ

 

3.  มี รพสต.อยู่ใกล้หมู่บ้าน

1. การทำการเกษตรใช้สารเคมียาปราบศัตรูพืชทำให้เป็นสารตกค้างเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทำให้สัตว์บางชนิดสูญพันธุ์

2.  ขาดความรู้ด้านการเกษตร

3.  รายได้น้อย – รายจ่ายมาก

 

 

แนวทางการพัฒนาส่งเสริมศักยภาพของชุมชน

1.  จัดระเบียบในชุมชน

2.  จัดตั้งคณะกรรมการหมู่บ้าน

3.  พัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน

4.  ส่งเสริมให้ชาวบ้านดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

สภาพปัญหาของชุมชน  ( จุดอ่อน – จุดด้อย และผลกระทบด้านลบต่อชุมชน)

 

สภาพปัญหาเรื่อง

สาเหตุ

แนวทางแก้ไข

1.  หนี้สิน

2.  ไม่มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจเพื่อให้คนในชุมชนสุขภาพกายและใจดี

1.  ไม่มีรายได้เสริม

2.  ไม่มีร่องระบายน้ำ

3.  ขาดการปรับปรุงทัศนียภาพภูผาซาน

1.  ส่งเสริมอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับทุกครัวเรือน

2.  วางท่อระบายทั้งรอบหมู่บ้าน

3.  ปรับปรุงทัศนียภาพภูผาซานเพื่อใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและบริเวณนี้ออกกำลังกาย

 

 

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ข้อมูล จปฐ.ปี 2560

          จากการวิเคราะห์ข้อมูลหมู่บ้าน/ชุมชน  จากข้อมูล จปฐ.ปี 2560 ข้อมูล กชช.2 ค ปี 2560 และข้อมูลอื่นๆ ด้วยโปรแกรม CIA และ Logic  Model ของบ้านแมด  หมู่ที่ 10  ตำบลบ้านเหล่า  อำเภอคำชะอี  ผลการวิเคราะห์ปรากฏสภาพปัญหาต่างๆ  ในภาพรวมในด้านต่างๆ  ดังนี้

  1. ปัญหาด้านการบริหารจัดการชุมชน  ระดับ  2.75
  2. ปัญหาความยากจน  ระดับ  2.52
  3. ปัญหาเรื่องความเสี่ยงของชุมชน  ระดับ  2.58
  4. ปัญหาด้านการพัฒนาอาชีพ  ระดับ  2.79
  5. ปัญหาด้านทุนชุมชน  ระดับ  2.52

 

การจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตบ้านแมด  ม.10

         การดำเนินงานการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตบ้านแมด  หมู่ที่ 10  ตำบลบ้านเหล่าได้ดำเนินการตามกระบวนการต่างๆ ทำให้เกิดผลการดำเนินงาน ดังนี้

         ๑. กระบวนการสร้างความเข้าใจร่วมกัน  โดยการจัดเวทีประชาคมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และแนวทางการดำเนินงาน แก่คณะกรรมการหมู่บ้าน  ทำให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญว่าข้อมูลมีความสำคัญต่อการพัฒนาหมู่บ้านเพียงใดและมีการนำข้อมูลที่มีอยู่ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร

         ๒. กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  โดยมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล สารสนเทศ รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาในการจัดทำสารสนเทศหมู่บ้านและหาแนวทางแก้ไข

         ๓. กระบวนการกำหนดความต้องการร่วมกัน  โดยคนในชุมชนร่วมกันกำหนดว่าต้องการจะจัดทำสารสนเทศด้านใดบ้าง  ซึ่งสารสนเทศที่ได้จากความต้องการของคนในหมู่บ้าน มีดังนี้

                     (๑.) สารสนเทศด้านอาชีพ 

                        -กลุ่มกลุ่มปุ๋ยชีวภาพ

                             - กลุ่มเลี้ยงปลา

                             - กลุ่มจักสานไม้ไผ่

                             - กลุ่มเพาะเห็ด

                     (๒.) สารสนเทศด้านทุนชุมชน 

                             - กองทุนหมู่บ้าน

                             - กลุ่มร้านค้าสวัสดิการชุมชน

                             - กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

                             - โรงสีชุมชนข้าว

                             - กองทุนแม่ของแผ่นดิน 

                             - ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน 

                     (๓.) ด้านการแก้ไขปัญหาความยากจน 

                             - โครงการ ส่งเสริมครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

                     (๔.) ด้านบริหารจัดการชุมชน 

                             - โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์รอบหมู่บ้านทุกสิ้นเดือน

                             - โครงการส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมตามวันสำคัญต่างๆ

                     (5.) ด้านการจัดการความเสี่ยงชุมชน

                             - ส่งเสริมการจัดทำบัญชีครัวเรือนแก่คนในชุมชน

                             - โครงการออมวันละบาท

 

การใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาหมู่บ้าน

บ้านแมดเป็นหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งคณะกรรมการหมู่บ้าน วัด โรงเรียน ได้ร่วมกัน กำหนดเป้าหมายการพัฒนาหมู่บ้านให้มีความเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ โดยเน้นการใช้ฐานข้อมูล ชุมชน เป็นฐานสำคัญ ในการชี้เป้าหมายการพัฒนาหมู่บ้านให้มีความเข้มแข็ง ครบถ้วนทุกมิติ ทั้งทาง ด้านเศรษฐกิจ สังคม ประเพณีวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และการศึกษาระบบข้อมูลที่ชุมชนแห่งนี้ มีความตระหนักร่วม และให้ความสำคัญในการชี้เป้าการพัฒนา ได้แก่ ข้อมูล ความจำเป็นขั้นพื้นฐาน (จปฐ) ข้อมูล กชช ๒ ค ข้อมูลการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการร่วมกันของคนในชุมชน หรือแม้กระทั่งข้อมูล ที่คนในชุมชน มีความสนใจ ที่จะศึกษารวบรวม จัดเก็บเพื่อเป็นฐานข้อมูล ในการตัดสินใจ กำหนดแผนการพัฒนาหมู่บ้าน และแผนชุมชน

บ้านแมด ม.10   มีการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย เช่นการใช้ข้อมูลความจำเป็นขั้นพื้นฐาน(จปฐ.) และ ข้อมูล กชช ๒ ค. เป็นการชี้เป้าให้ชุมชนได้เรียนรู้ ร่วมกัน ใน ประเด็นด้านรายรับและรายจ่ายของชุมชนบ้านแมด จากข้อมูล จปฐ. ข้อที่ ๒3 เพื่อนำไปสู่การพัฒนาโครงการหมู่บ้าน  ซึ่งมีการตั้งกลุ่มต่างๆขึ้นในหมู่บ้านเช่น  กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  กลุ่มจักสานไม้ไผ่  กลุ่มเพาะเห็ด  กลุ่มเลี้ยงปลา  และกลุ่มร้านค้าสวัสดิการชุมชน   เป็นการเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเป็นสำคัญ 
          การนำข้อมูล จปฐ./กชช.2ค ของหมู่บ้าน  ไปใช้ประโยชน์ดังนี้

-          การจัดทำแผนชุมชน

-          การจัดทำรายงานการพัฒนาหมู่บ้าน (VDR)

-          การจัดเวทีประชาคมในด้านการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ/กลุ่มผู้สูงอายุ

ผลงานเด่นของหมู่บ้าน

  1. หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ปี 2558
  2. หมู่บ้านเป้าหมายตามโครงการส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท (การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 1)
  3. หมู่บ้านสัมมาชีพชุมชน
  4. หมู่บ้านเป้าหมายโครงการขับเคลื่อนตามแนวทางศาสตร์พระราชา

 

ข้อเสนอแนะของนักพัฒนาต่อการพัฒนาหมู่บ้าน

           บ้านแมดเป็นหมู่บ้านที่มีพื้นที่ทั้งหมดอยู่ในเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเหล่า

 มีระดับการพัฒนาหมู่บ้านอยู่ในระดับ ๓ (จากการสำรวจข้อมูล กชช ๒ค ปี ๒๕60)

           เป็นหมู่บ้านที่มีศักยภาพในการพัฒนาสูง ชาวบ้านและผู้นำชุมชนมีความคิดสร้างสรรค์ อาศัยความรักความสามัคคีของคนในชุมชน แม้จะมีความเจริญเข้ามาในหมู่บ้านแต่ชาวบ้านก็ไม่มีความย่อท้อในการทำกิจกรรมร่วมกับทางราชการ ผู้นำมีการแบ่งความรับผิดชอบเป็นคุ้ม ทำให้ดูแลหมู่บ้านได้อย่างทั่วถึง และเป็นหมู่บ้านปลอดจากยาเสพติด ราษฎรในหมู่บ้านเป็นผู้มีอัธยาศัยดี น่ารัก มีความรู้รักสามัคคี รู้จักแบ่งปันซึ่งกันและกัน อยู่ร่วมกันแบบพี่แบบน้อง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่มีความแตกแยก ไม่มีคดีความร้ายแรงจนไม่สามารถที่จะยับยั้งได้ คนในหมู่บ้านส่วนใหญ่จะเชื่อฟังผู้นำและแสดงความคิดเห็นร่วมกัน

           แนวทางในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาหมู่บ้าน เพื่อให้ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชนปลอด

ยาเสพติด ประชาชนในหมู่บ้านจะต้องมีจิตสำนึกรักชุมชน  มีความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชน ความสัมพันธ์

กับคนในครอบครัว กับญาติพี่น้อง กับผู้สูงอายุ พ่อแม่ควรเลี้ยงดูลูกอย่างไร ความเอื้ออาทรต่อกันและกัน  ช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยเฉพาะในยามทุกข์ยากหรือมีปัญหา ความสัมพันธ์กับธรรมชาติ ผู้คนสมัยก่อนพึ่งพาอาศัยธรรมชาติแทบทุกด้าน และได้ประสานกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน จัดเวทีประชาคมวางแผนการจัดการและบริหารชุมชนและจัดทำแผนชุมชนร่วมกันแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน  ประชาชนในหมู่บ้าน รู้จักนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต และปลูกฝังให้คนรุ่นหลังมีความรักในถิ่นฐานบ้านเกิด โดยนำศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่เดิมมาฟื้นฟูให้เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนในการพัฒนาหมู่บ้านชุมชนสืบไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

view

แผนที่อำเภอ

view