http://kccd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าหลัก

 ภารกิจ สพอ.

 บทบาทหน้าที่

 ประวัติอำเภอ

 แผนที่อำเภอ

 บุคลากร

 เว็บบอร์ด

ติดต่อเรา

ลิงค์หน่วยงาน

งานนโยบายสำคัญ

กิจกรรมเด่น/โครงการริเริ่ม

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน/ ตำบล (VDR/TDR)

คลังภูมิปัญญา OTOP

องค์ความรู้ พช.

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

สถิติ

เปิดเว็บ24/11/2014
อัพเดท20/11/2017
ผู้เข้าชม32,703
เปิดเพจ39,757
iGetWeb.com
AdsOne.com

โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)

1.  ความเป็นมา

                   ความยากจนของประชาชนชาวชนบทเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกรัฐบาลมุ่งแก้ไขให้หมดไป โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2536 เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินงานโครงการ กข.คจ. ระยะที่ 1  ระหว่าง ปี 2536 - 2539  และขยายถึงปี 2540 จำนวน 11,608 หมู่บ้าน  และมีมติอีกครั้ง  เมื่อวันที่  17 มิถุนายน 2540 เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินงานโครงการ กข.คจ. ระยะที่ 2  ระหว่าง   ปี 2541 - 2544 เพื่อขยายพื้นที่ให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านทั่วประเทศที่ยังมีคนจนตามข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) จำนวน 28,038 หมู่บ้าน

2.  หลักการ    

                   สนับสนุนเงินทุนในระดับหมู่บ้านสำหรับครัวเรือนเป้าหมายยืมไปประกอบอาชีพ โดยไม่มีดอกเบี้ย และมอบอำนาจให้คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.ประจำหมู่บ้าน รับผิดชอบบริหารจัดการเงินทุนของหมู่บ้าน

3.  วัตถุประสงค์

                   3.1  ระยะที่ 1

                        เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของครัวเรือนยากจนในชนบททั่วประเทศ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 1 ในปี 2536 - 2539 (ขยายการดำเนินงานต่อถึงปี 2540)  เพื่อให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้

                        (1) เพื่อให้ครัวเรือนยากจนในหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 1 จำนวน 11,608 หมู่บ้าน ได้รับความช่วยเหลือเงินทุนเพื่อการประกอบอาชีพที่เหมาะสม  มีรายได้สูงขึ้นพ้นเส้นความยากจน

                       (2) เพื่อให้หมู่บ้านในชนบท จำนวน 11,608 หมู่บ้าน ได้รับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ  การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน  การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  การพัฒนาด้านการศึกษา วัฒนธรรม สาธารณสุข  และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้าน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในหมู่บ้านต้นแบบให้สูงขึ้น

                       (3) เพื่อให้หมู่บ้านในชนบท จำนวน 11,608 หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองตลอดไป ประชาชนเกิดความร่มเย็นเป็นสุข มีความอุดมสมบูรณ์ มั่งคั่งยิ่ง ๆ ขึ้น

                 3.2  ระยะที่ 2

                       เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของครัวเรือนยากจนในชนบททั่วประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมาย โดย

                       (1)  ครัวเรือนยากจนในหมู่บ้านเป้าหมายทั่วประเทศ  จำนวนมากกว่า 3,460,000 ครัวเรือน ได้รับความช่วยเหลือเงินทุนเพื่อการประกอบอาชีพที่เหมาะสม  มีรายได้เพิ่มขึ้นพ้นเส้นความยากจน

                       (2)  หมู่บ้านในชนบทจำนวน 28,038 หมู่บ้าน ได้รับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ  และส่งผลในด้านสังคม โครงสร้างพื้นฐาน การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาด้านการศึกษา วัฒนธรรม  สาธารณสุข  และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้าน ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในหมู่บ้านดีขึ้น

                      (3)  เพื่อให้หมู่บ้านในชนบทจำนวน 28,038 หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง

4.  เป้าหมาย 

                   ดำเนินการใน 75 จังหวัด  กำหนดเป้าหมาย จำนวนทั้งสิ้น 39,646 หมู่บ้าน ดังนี้

                   1.  หมู่บ้านเป้าหมายโครงการ กข.คจ.  ได้แก่

                        1.1 หมู่บ้านเป้าหมายโครงการ กข.คจ.  ระยะที่ 1 คือ  หมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 1  ตามข้อมูลกชช.2 ค  ปี 2533  จำนวน 11,608  หมู่บ้าน

                        1.2 หมู่บ้านเป้าหมายโครงการ กข.คจ.  ระยะที่ 2 คือ หมู่บ้านที่มีครัวเรือนมีรายได้ตามข้อมูล จปฐ.ปี 2539 ต่ำกว่า 15,000 บาท/คน/ปี  ตั้งแต่ร้อยละ 30 ขึ้นไป  จำนวน 28,038 หมู่บ้าน

                  2.  ครัวเรือนเป้าหมาย คือ ครัวเรือนในหมู่บ้านตามข้อ 1 ที่มีรายได้ตามข้อมูล จปฐ. ต่ำกว่า 15,000  บาท/คน/ปี ในปีที่ได้รับงบประมาณดำเนินการ  และครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. ในปีต่อ ๆ ไป

แบบรายงานฐานข้อมูลหมู่บ้านและครัวเรือนเป้าหมายโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)

อำเภอคำชะอี   จังหวัดมุกดาหาร

หมู่บ้านเป้าหมายโครงการ กข.คจ. จำนวน 36 หมู่บ้าน

ลำดับที่

ชื่อตำบล

ชื่อหมู่บ้าน

หมู่ที่

ปี พ.ศ.

 

สถานภาพของเงินทุน กข.คจ.

ที่ได้รับ

จำนวนครัวเรือน

เงินทุนโครงการ

ครัวเรือนยืม

ฝากธนาคาร

งบประมาณ

เป้าหมาย กข.คจ.

กข.คจ.ทั้งหมด

กข.คจ.

 

 

(บาท)

จำนวน

จำนวนเงิน

จำนวนเงิน

 

ครัวเรือน

คน

 

ครัวเรือน

(บาท)

(บาท)

1

น้ำเที่ยง

ดงภู่

11

2536

32

170

280,061.65

32

260,700

19362

2

บ้านค้อ

โคก

1

2537

67

457

289,055.49

67

280,000

9055

3

โพนงาม

นาดอกไม้

8

2537

90

437

280,000.00

90

280,000

1450

4

คำชะอี

โนนสว่าง

5

2538

91

504

289,480.00

91

286,900

2580

5

คำชะอี

แก้งช้างเนียม

10

2538

46

184

300,000.00

46

300,000

432

6

โพนงาม

ดอนป่าแคน

4

2538

83

357

280,000.00

83

255,600

25568

7

เหล่าสร้างถ่อ

เหล่าสร้างถ่อ

1

2538

96

325

283,100.00

96

203,800

79207

8

คำบก

โนนสะอาด

5

2538

26

109

280,000.00

26

216,000

70745

9

เหล่าสร้างถ่อ

หนองไฮ

5

2539

80

307

280,115.00

64

280,000

115

10

บ้านค้อ

ตาเปอะ

8

2541

96

267

283,560.00

96

270,000

13560

11

คำบก

ห้วยลำโมง

3

2541

79

312

287,028.00

79

286,300

728

12

บ้านซ่ง

โนนก่อ

5

2542

67

493

280,000.00

25

230,000

50000

13

คำชะอี

หนองกะปาด

6

2542

40

192

282,070.65

40

281,000

1071

14

หนองเอี่ยน

ทุ่งนางหนาย

4

2542

47

254

280,500.00

33

280,000

500

15

โพนงาม

แฝก

7

2542

72

376

280,300.00

72

250,800

29500

16

โพนงาม

แฝก

10

2542

62

347

28,443.00

62

270,000

10443

17

เหล่าสร้างถ่อ

โคกสว่าง

3

2542

66

231

281,264.83

66

280,000

1265

18

คำบก

กลาง

2

2542

57

237

322,467.35

40

321,943

534

19

น้ำเที่ยง

โคกป่าหวาย

7

2542

46

220

280,897.13

46

265,996

14197

20

เหล่าสร้างถ่อ

เหล่าสร้างถ่อ

2

2543

71

471

280,000.00

72

280,000

32804

21

คำบก

บาก

1

2543

73

256

280,000.00

73

280,000

0

22

น้ำเที่ยง

หนองเอี่ยนดง

8

2543

47

198

280,000.00

47

280,000

802

23

บ้านซ่ง

นาสีนวล

1

2544

41

154

285,383.00

41

276,600

8783

24

คำชะอี

นาปุ่ง

7

2544

100

394

280,800.00

70

273,000

5862

25

หนองเอี่ยน

หนองอินหม่อน

3

2544

35

247

280,000.00

35

270,000

10000

26

หนองเอี่ยน

หนองบง

5

2544

82

299

280,520.00

40

280,000

520

27

หนองเอี่ยน

นาหลวง

6

2544

35

103

280,000.00

26

260,000

20000

28

บ้านค้อ

ดงยาง

4

2544

39

140

280,920.00

39

280,000

920

29

บ้านเหล่า

หนองหญ้าปล้อง

4

2544

70

238

280,770.16

70

228,000

12770

30

บ้านเหล่า

แพง

6

2544

48

150

280,000.00

48

260,500

19974

31

บ้านเหล่า

โพน

7

2544

98

238

280,000.00

61

281,000

1000

32

บ้านเหล่า

ม่วง

8

2544

44

241

280,000.00

44

204,000

26700

33

บ้านเหล่า

หนองปลาซิว

9

2544

74

242

281,162.00

39

197,727

83435

34

โพนงาม

ตูมหวาน

3

2544

54

232

280,100.00

27

280,000

100

35

โพนงาม

หนองสระพัง

6

2544

47

334

280,000.00

47

269,000

171541

36

คำบก

คำบก

4

2544

50

234

283,656.78

33

283,000

657

ถอดบทเรียน โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) บ้านห้วยลำโมง

หมู่ที่ 3 ตำบลคำบกอำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร

ชื่อ-สกุล ผู้ถอดบทเรียน นางสาวธัญวรรณ  จันปุ่ม ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

............................................................

 

               บ้านห้วยลำโมง หมู่ที่ 3 ตำบลคำบก อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ได้ประกาศจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน  เมื่อประมาณปี พ.ศ.2472 ชื่อเดิมว่า บ้านโนนผักโขม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน มีความเชื่อเรื่องโชคลาง ภูตผี และถูกรบกวนได้รับความเดือดร้อนจึงย้ายหมู่บ้านมาตั้งที่อยู่ปัจจุบัน ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบันคือ เฉย เบญมาตย์ 

               จากผลการสำรวจข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕๕๙ มีจำนวน ๑๕๒ ครัว ประชากรอาศัยอยู่ทั้งสิ้น ๔๑๙ คน แบ่งเป็น ชาย ๒๐๘ คน หญิง ๒๑๑ คน  ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา คิดเป็นร้อยละ ๖๗.๓๐  รองลงมาอาชีพรับราชการ คิดเป็นร้อยละ ๕.๗๓ และรับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ ๓.๘๒ รายได้เฉลี่ย ๖๓,๔๑๓ บาทต่อคนต่อปี ไม่มีครัวเรือนตกเกณฑ์ จปฐ. ข้อ ๒๓ เรื่องรายได้

               โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) เป็นทุนชุมชน ซึ่งรัฐบาลสนับสนุนเงินทุนให้หมู่บ้านๆ ละ 280,000 บาท เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายยืมไปประกอบอาชีพ และมอบอำนาจให้คณะกรรมการกองทุน กข.คจ. ประจำหมู่บ้าน บริหารจัดการเงินทุน ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ. 2536 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2539 และได้ปรับปรุงแก้ไขระเบียบดังกล่าว ในปัจจุบันใช้ฉบับ พ.ศ. 2553 ในส่วนของอำเภอคำชะอีมีหมู่บ้านเป้าหมายตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่  จำนวน 36 หมู่บ้าน

 

 

 

 

 

               บ้านห้วยลำโมง ได้รับงบประมาณตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๑ ครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน ๑๕๒ ครัวเรือน เงินทุน กข.คจ.ของหมู่บ้าน ณ ปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น ๒๙๔,๖๐๑ บาท  ในปี ๒๕๕๙ มีสมาชิกที่ได้ยื่นคำขอยืมเงินกองทุน กข.คจ. และได้รับการอนุมัติฯ จำนวน
๖๒ คน เป็นเงิน ๒๘๐,๐๗๘  บาท สมาชิกได้นำเงินไปลงทุนประกอบอาชีพ ดังนี้

๑)      การเกษตร(ทำนา ทำสวน ปลูกผัก) จำนวน ๓๙ ครัวเรือน เป็นเงิน ๑๗๔,๕๗๘ บาท

๒)      เลี้ยงวัว จำนวน ๑๒ ครัวเรือน เป็นเงิน ๖๐,๐๐๐ บาท

๓)      เลี้ยงไก่พื้นเมือง จำนวน ๖ ครัวเรือน เป็นเงิน ๑๗,๕๐๐ บาท

๔)      อุตสาหกรรมในครัวเรือน(ทอผ้า เย็บผ้า จักสาน) จำนวน ๔ ครัวเรือน เป็นเงิน ๒๓,๐๐๐ บาท

๕)      ค้าขาย จำนวน ๑ ครัวเรือน เป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท

-2-

 

               โครงสร้างคณะกรรมการกองทุน กข.คจ. บ้านห้วยลำโมง ประกอบด้วย

๑)      นายเฉย  บุญมาตย์  ประธาน

๒)      นายวัชรพล  เบญมาตย์ รองประธาน

๓)      นายคำเพย  เบญมาตย์ กรรมการและเลขานุการ

๔)      นายเนิ้น  เบญมาตย์ กรรมการและเหรัญญิก

๕)      นายสมพงค์  สุภาพันธ์ กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก

๖)      นายเหรียญทอง  เบญมาตย์  กรรมการ

๗)      นายยันต์  เบญมาตย์

มติที่ประชุมสมาชิกเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการกองทุน กข.คจ.บ้านห้วยลำโมง หมู่ที่ ๓ ตำบลคำบก จำนวน ๗ คน คณะกรรมการจัดให้มีการประชุมเป็นประจำทุกเดือน มีวาระการดำรงตำแหน่ง ๔ ปี โดยให้มีผู้มีอำนาจเบิกถอนเงินในบัญชีกองทุน กข.คจ. บัญชีเลขที่ ๒๗๓-๒-๘๖๙๖๔-๔   มีอำนาจ ๒ ใน ๓

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุน กข.คจ.บ้านห้วยลำโมง มีดังนี้

๑)      บริหารจัดการเงินโครงการ กข.คจ.หมู่บ้าน

๒)      พิจารณาอนุมัติโครงการและเงินยืมแก่ครัวเรือนเป้าหมายตามโครงการ กข.คจ.

๓)      ติดตาม ส่งเสริม สนับสนุนการประกอบอาชีพของครัวเรือนเป้าหมาย

๔)      จัดทำระบบข้อมูล จัดทำเอกสาร บัญชี ทะเบียนตามโครงการ กข.คจ.

๕)      รายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ กข.คจ.

๖)      แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามโครงการ กข.คจ.

 

 

 

 

                 การบริหารเงินกองทุน กข.คจ. บ้านห้วยลำโมง

               คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.บ้านห้วยลำโมง ได้ปฏิบัติตามระเบียบกองทุน กข.คจ.บ้านห้วยลำโมง ซึ่งได้ปรับปรุงเมื่อปี ๒๕๕๔ โดยให้สมาชิกผู้ได้รับการอนุมัติให้ยืมเงิน เมื่อครบกำหนดชำระคืนเงินยืม สมาชิกจะต้องคืนเงินต้นพร้อมกับดอกเบี้ยบริจาคในอัตรา ร้อยละ ๓ ต่อปี โดยในเดือนมิถุนายน ๒๕๕๙         มีการปันผลกำไรดอกเบี้ยบริจาคจากสมาชิก จำนวน ๑๗,๒๘๐ บาท ดังนี้

๑)      ค่าตอบแทนคณะกรรมการ ร้อยละ ๔๕ เป็นเงิน ๗,๗๗๖ บาท

๒)      พัฒนาสาธารณประโยชน์ ร้อยละ ๓๐ เป็นเงิน ๕,๑๘๔ บาท

๓)      ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ร้อยละ ๒๐ เป็นเงิน ๓,๔๕๖ บาท

๔)      สมทบกองทุน ร้อยละ ๕ เป็นเงิน ๘๖๔ บาท

ปัจจุบันมีเงินสมทบกองทุนรวมทั้งสิ้น ๑๔,๖๐๑ บาท

-3-

 

ความสำเร็จของครัวเรือนในการประกอบอาชีพด้วยเงินกองทุน กข.คจ.

บ้านห้วยลำโมง หมู่ที่ ๓ นับว่าเป็นหมู่บ้านหนึ่งที่บริหารเงินกองทุน กข.คจ.ประสบความสำเร็จ    ทำให้สมาชิกมีเงินทุนหมุนเวียนประกอบอาชีพที่หลากหลาย ซึ่งมีครัวเรือนที่สามารถเป็นต้นแบบให้กับครัวเรือนอื่นๆ ในหมู่บ้าน ได้แก่

๑.    นายสุข  เบญมาตย์  อายุ ๔๔ ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ ๑๔๓  สมาชิกในครัวเรือน มี ๖ คน   ภรรยาชื่อ นางคิด เบญมาตย์ มีบุตร ๒ คน ยืมเงินกองทุน กข.คจ. เมื่อปี ๒๕๔๗  เพื่อนำมาซื้อกล้ายางพารา จำนวน ๕,๐๐๐ บาท  ปลูกในพื้นที่จำนวน ๕ ไร่ โดยนำมาสมทบกับทุนตนเองส่วนหนึ่ง มีรายได้มาจุนเจือครอบครัว  ปัจจุบันนายสุข เบญมาตย์  ได้ส่งคืนเงินยืมกองทุน กข.คจ.ครบแล้ว ตั้งแต่ปี 2554  ปัจจุบันทำให้มีรายได้เฉลี่ย ๔๘,๓๓๓ บาท/คน/ปี  รายได้ส่วนใหญ่มาจากการกรีดยางพารา การเลี้ยงวัว ขายเมล็ดกาแฟ และผักสวนครัว นายสุข ได้เล่าให้ฟังว่า ถ้าไม่มีเงินกองทุน กข.คจ. มาเป็นทุนเริ่มต้น ก็คงจะไม่มีเงินซื้อพันธุ์ยางพารามาปลูก ทำให้มีการขยายการปลูกพืชเพื่อการเกษตรแบบผสมผสาน สามารถเป็นจุดเรียนรู้ให้กับคนในหมู่บ้านได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

-4-

 

๒.    นางคำสอน  เบญมาตย์  อายุ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 150 สมาชิกในครัวเรือน 3 คน สามีชื่อ  นายทด เบญมาตย์ มีบุตร 2 คน ยืมเงินกองทุน กข.คจ. ตั้งแต่ ปี 2551 จำนวน 5,000 บาท นำมาซื้อฝ้ายทอเพื่อจำหน่าย และในปี 2556 ยอดสั่งซื้อผ้าทอมือของนางคำสอน มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีเครือข่ายผู้ผลิตผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติจากพื้นที่อำเภอหนองสูง มาสั่งให้ผลิตผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติ นางคำสอน มีความจำเป็นต้องมีทุนในการซื้อผ้ามาผลิตเพื่อให้ทันตามความต้องการของลูกค้า จึงต้องขอยืมเงินทุน กข.คจ.เพิ่มขึ้น เป็น 10,000 บาท เพื่อมาซื้อวัสดุอุปกรณ์เพิ่ม  ทำให้ครอบครัวของนางคำสอน มีรายได้จากการจำหน่ายผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติเพิ่มขึ้น มีรายได้จุนเจือครอบครัว ส่งบุตรเรียนหนังสือ ปัจจุบันมีรายได้เฉลี่ย 76,667 บาท/คน/ปี  นอกจากนี้ ยังสามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้กับคนในหมู่บ้านได้มาเรียนรู้การทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ เพิ่มทักษะฝีมือให้กับคนรุ่นใหม่ มีความรู้สามารถนำไปประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ และส่งเสริมให้มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านห้วยลำโมง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

              

 

 

-5-

 

๓.    นายญู  เบ็ญมาตย์  อายุ 54 ปี อยู่บ้านเลขที่ 2 สมาชิกในครัวเรือน 5 คน ภรรยา นางเวลา เบญมาตย์ มีบุตร 3 คน ยืมเงินกองทุน กข.คจ. ตั้งแต่ปี 2552 จำนวน 5,000 บาท เพื่อมาซื้อแม่วัว จำนวน    1 ตัว สมทบทุนตัวเองด้วย ซึ่งวัวตัวเองมีอยู่แล้ว 1 ตัว ซื้อเพิ่มอีกเพื่อให้วัวมีคู่ จะได้ขยายพันธุ์วัวเพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีรายได้เฉลี่ย 51,250 บาท/คน/ปี  นายญู เบญมาตย์ เล่าให้ฟังว่า เงินกองทุน กข.คจ. ทำให้ผู้มีรายได้น้อย      มีเงินทุนเพื่อซื้อแม่วัวมาเลี้ยง ขยายพันธุ์วัวเพิ่มขึ้น มีรายได้จากการจำหน่ายลูกวัว ตั้งแต่ปี 2552 – ปัจจุบัน จำนวน 7 ตัวๆ ละประมาณ 15,000 บาท รวมเป็นเงินรายได้จากการจำหน่ายลูกวัวทั้งสิ้น 105,000 บาท      มีรายได้ส่งคืนเงินยืม กข.คจ. ปี 2559 คงเหลือเงินต้น จำนวน 1,500 บาท ทำให้ตนและครอบครัวมีรายได้ส่งลูกเรียนหนังสือจนจบการศึกษา ปัจจุบันบุตรของตนได้ทำงานบริษัททั้งสามคน ก็เป็นความภาคภูมิใจของพ่อแม่ที่ลูกได้งานทำที่มั่นคง นอกจากนี้ มูลวัวยังสามารถนำมาใส่นาข้าวช่วยลดรายจ่าย จาการทำนา ในแต่ละปีสามารถลดรายจ่ายจากการซื้อปุ๋ยเคมีได้มาก ถึงปีละ 4,000 บาท ปัจจุบันนายญู  มีวัวจำนวน 12 ตัว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

-6-

 

4. นายสุพี  เบญมาตย์ อายุ 43 ปี อยู่บ้านเลขที่ 115 สมาชิกในครอบครัว 4 คน ภรรยาชื่อ

นางแพน  เบญมาตย์ มีบุตร 2 คน ปัจจุบันทำงานแล้ว ยืมเงินกองทุน กข.คจ. ในปี 2549 จำนวน 5,000 บาท เพื่อมาซื้อวัวพื้นเมืองเลี้ยง นายสุพี เบญมาตย์ เล่าให้ฟังว่า สมัยนั้นไม่มีแหล่งเงินทุนมากเท่าปัจจุบัน ก็มีเพียงเงินทุน กข.คจ. ที่เป็นทุนให้กับคนจนได้ยืมแบบไม่มีดอกเบี้ย ยืมมา 5,000 บาท ซื้อแม่วัวและลูกวัวได้ 1 คู่      ก็มาขยายพันธุ์วัวเพิ่มขึ้น ครั้งแรกที่ขายแม่วัวและลูกวัวได้ เป็นเงิน 22,000 บาท มีเงินใช้หนี้และใช้จ่ายในครัวเรือน ขายวัวได้พอให้ค่าเรียนหนังสือลูก ขี้วัวก็เป็นปุ๋ยในนาข้าว ช่วยลดรายจ่ายได้เยอะ ปัจจุบันได้ซื้อวัวพันธุ์ดีมาเลี้ยงเพิ่ม ปัจจุบันมีวัว จำนวน 6 ตัว มีรายได้เฉลี่ย 60,000 บาท/คน/ปี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

-7-

 

ในปี  พ.ศ.๒๕๕9  อำเภอคำชะอี ได้ดำเนินงานโครงการส่งเสริมสุขภาพทางการเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)  โดยเฉพาะการจัดทำบัญชีเงินฝากธนาคาร  และบัญชีคุมลูกหนี้  ผลการติดตามการดำเนินงานพบว่าการจัดทำเอกสารยังไม่ถูกต้องและไม่เป็นปัจจุบัน  จึงได้แนะนำและสอนการจัดทำเอกสารที่ถูกต้องให้แก่คณะกรรมการ  พร้อมทั้งตั้งข้อตกลงร่วมกันกับคณะกรรมการกองทุน  ว่าทุกครั้งที่ให้สมาชิกยืมเงินจากกองทุนให้นำบัญชีเงินฝากธนาคาร  และบัญชีคุมลูกหนี้  มาให้ทางพัฒนากรประจำตำบลตรวจความถูกต้องก่อน เพื่อให้การจัดทำเอกสารเป็นไปตามแนวทางและเป็นปัจจุบัน

 

ขั้นตอน/วิธีการดำเนินงาน

๑) ตรวจสอบสถานะการดำเนินงานโครางการ กข.คจ. ตามตัวชี้วัด ตรวจสอบสภาวะหนี้สิน การบริหารงานของกรรมการกองทุน เพื่อตรวจสอบและพัฒนาฐานข้อมูลให้ถูกต้อง สามารถนำไปใช้เป็นฐานในการพัฒนาให้เกิดความเข้มแข็งได้

2) ประชุมทบทวนการบริหารจัดการของคณะกรรมการบริหารโครงการ กข.คจ.

3) นำเครื่องมือตรวจสุขภาพ (สมุดตรวจสุขภาพฯ) ประเมินสุขภาพกองทุน กข.คจ . โดยการพูคุยกับกลุ่มเป้าหมาย

4) ทีมตรวจสุขภาพฯ และกลุ่มเป้าหมายร่วมกันวิเคราะห์ผลการประเมินสุขภาพกองทุนการเงินชุมชน

5) นำผลการวิเคราะห์จัดลำดับความสำคัญร่วมกันกับกลุ่มเป้าหมาย

6) ร่วมกันค้นหาสาเหตุสาเหตุสุขภาพกองทุน กข.คจ. ที่มีปัญหา/ไม่ผ่านเกณฑ์

7) นำสาเหตุมากำหนดแนวทางการพัฒนาเพื่อผ่านเกณฑ์

8) แนะนำการจัดทำบัญชีที่ถูกต้องแก่คณะกรรมการบริหารโครงการ กข.คจ.

9) รายงานผลการติดตามต่อพัฒนาการอำเภอและหาแนวทางแก้ไข

           10) ติดตามผลความก้าวหน้าโดยผ่านพัฒนากรประจำตำบล

 

ผลสำเร็จของการนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้

 1) หมู่บ้านเป้าหมายโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)  มีการบริหารจัดการเป็นไป

อย่างถูกต้องตามแนวทางที่กำหนด

 2) หมู่บ้านเป้าหมายโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)  มีการจัดทำบัญชีที่เกี่ยวข้อง

กับกองทุนเป็นไปอย่างถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

view

แผนที่อำเภอ

view