http://kccd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าหลัก

 ภารกิจ สพอ.

 บทบาทหน้าที่

 ประวัติอำเภอ

 แผนที่อำเภอ

 บุคลากร

 เว็บบอร์ด

ติดต่อเรา

ลิงค์หน่วยงาน

งานนโยบายสำคัญ

กิจกรรมเด่น/โครงการริเริ่ม

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน/ ตำบล (VDR/TDR)

คลังภูมิปัญญา OTOP

องค์ความรู้ พช.

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

สถิติ

เปิดเว็บ24/11/2014
อัพเดท20/11/2017
ผู้เข้าชม32,722
เปิดเพจ39,776
iGetWeb.com
AdsOne.com

เรื่องเล่าจาก ศอช.

เรื่องเล่าจาก ศอช.

 

"ศูนย์ประสานงานองค์กร(การ)ชุมชน เรียกย่อๆ ว่า ศอช. โดยเป็นการรวมพลังระหว่างผู้นำ กลุ่ม หรือองค์กรต่าง ที่พวกเราได้จัดตั้งขึ้นมาในหมู่บ้านตำบล ในการทำงานนั้นต้องทำงานร่วมกับผู้ใหญ่บ้าน กำนัน คณะกรรมการหมู่บ้าน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งองค์กรนี้จะต้องประสานการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับภาคราชการ และภาคประชาชน ในการที่จะลงไปบริหารจัดการสังคม พัฒนาชุมชน และท้องถิ่น เรียกโดยย่อว่า "ศอช." มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Community Organization Network Center เรียกย่อๆ ว่า "Con Center" เพราะการทำงานพัฒนาชุมชนเดิมทีเดียวเราทำงานกับผู้นำชุมชน กลุ่ม องค์กรชุมชนอยู่แล้ว แต่เนื่องจากกลุ่มดังกล่าวสวมหมวกหลายใบ การทำงานในงานพัฒนาชุมชนในพื้นที่จึงมีลักษณะต่างคนต่างทำ การทำงานในยุคปัจจุบันทุกคนจึงต้องปรับตัว ทำอย่างไรจะให้คนในหมู่บ้านตำบลตระหนักถึงการแก้ปัญหาชุมชนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนช่วยกันทำงานเพราะองค์กรชุมชนมีพลังความคิด พลังจัดการ เช่น ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา อยู่แล้วเพียงแต่ขาดการรวมกลุ่ม การกระตุ้นจิตสำนึกซึ่งเป็นหน้าที่ของเรา เราจึงต้องสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มเป็นองค์กรในการถักทอ เป็นเครือข่ายและร่วมให้เขาเหล่านั้นร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

ก่อนจะมาเป็น ศอช. ชุมชนไทยสามารถแบ่งเป็น 4ประเภท ประเภทที่ 1ชุมชนอ่อนแอและขาดพลัง คือในชุมชนหรือหมู่บ้านนั้นเป็นหมู่บ้านที่คนในชุมชนถูกครอบงำทางวัฒนธรรมการบริโภคนิยม มีภาวะหนี้สินเกิดจากการไม่พอของคนกู้ทุกกองทุนที่ให้กู้ มีการซื้อสิทธ์ขายเสียงอาชีพคนในหมู่บ้านคือรับจ้างและปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่นทำนาแล้วหมดหน้านาไปรับจ้าง  ประเภทที่ 2 วิถีชีวิตชุมชนพึ่งตนเอง คนในชุมชนมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีทุนในสังคมเช่น บ้านวัดโรงเรียน ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการออมเงินในชุมชน ดำรงชีวิตโดยใช้เศรษฐกิจพอเพียง เคารพในสิทธิของชุมชน คำนึงถึงสวัสดิการชุมชน ประเภทที่ 3 ชุมชนเริ่มฟื้นตัว คือชุมชนเข้มแข็งโดยมีการรวมกลุ่มกันในการทำงานเกิดกลุ่มอาชีพต่าง ๆ มีเครือข่าย ประชาชนมีสำนึกรักบ้านเกิด มีการเชื่อมต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการขอรับงบประมาณสนับสนุนในส่วนที่ขาด ประเภทที่ 4 ชุมชนโลกาภิวัฒน์ คือในหมู่บ้านนี้มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจมีการรวมตัวลักษณะวิสาหกิจชุมชน ภายใต้สถานการณ์ที่มีชุมชนทั้ง 4 ประเภท พัฒนาชุมชนจึงต้องเข้ามาจัดการให้เกิดการประสานพลัง(อาจเกิดจากชุมชนเองหรืออาจเกิดจากเราทำแล้วแต่สถานการณ์) เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน จุดประสงค์หลักๆคือช่วยกันแก้ไขปัญหาในชุมชน จึงมีการจัดตั้ง ศอช.ต.ขึ้น จึงต้องแสวงหาแกนหลักในการทำงานในการวางแผนขับเคลื่อนตำบลให้เกิดการพัฒนาโดยใช้การทำงานรูปแบบเครือข่าย จึงมีการจัดตั้งคณะกรรมการมีการร่างระเบียบการทำงาน มีการวางแผนการทำงาน และที่สำคัญคือเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนแผนชุมชน เพื่อส่งต่อให้ ท้องถิ่นสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาตำบลให้ถูกทาง 

 

วิธีการทำงานของศอช. ต้องมีการประชาสัมพันธื พัฒนากรต้องสร้างความรู้ความเข้าใจสร้างจิตสำนึกในการทำงสน ต้องจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างประสบการณ์ มีข้อมูล กำหนดเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน จัดทำข้อกำหนดระเบียบกติกา จัดทำแผนปฏิบัติการ เชื่อมโยงแผนชุมชน ทุกวันนี้ ศอช.ไม่เข้มแข็งเพราะว่า ขาดการมส่วนร่วมจากชุมชน/ชุมชนไม่สามัคคี เจ้าหน้าที่ผู้นำขาดความเข้าใจ จุดประสงค์การทำงานไม่ชัดเจน ไม่มีแผนการทำงานที่ชัดเจน กรรมการสวมหมวกหลายใบ ทำงานเป็นไฟไหม้ฟาง ฉะนั้นเป็นหน้าที่ที่เราต้องช่วยกันสร้าง ศอช.ให้เข้มแข็งเพื่อให้เขาไปขับเคลื่อนงานในตำบลต่อไป

 

สรุปผล “เรื่องเล่าจาก ศอช.” สู่แนรวทางการปฏิบัติ

ด้านการบูรณาการแผนชุมชนระดับตำบล

การบูรณาการแผนชุมชนระดับตำบล ถูกกำหนดให้เป็นภารกิจหลักของ ศอช.ต. เนื่องจากเป็นภารกิจที่มีความสำคัญต่อคนในชุมชน และเป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างคณะกรรมการ ศอช.ต. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการหมู่บ้าน ซึ่งในการบูรณาการแผนชุมชนระดับตำบลนั้น มีปัจจัยที่ส่งผลให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จ ดังนี้

1)      คณะกรรมการ ศอช.ต. เป็นคณะทำงานสนับสนุนกระบวนการแผนชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยประสานงานกับผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่มองค์กรต่างๆ เช่น กลุ่มสตรี อสม.กลุ่มอาชีพ และเครือข่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเข้าร่วมเวทีประชาคมการบูรณาการแผนชุมชนระดับตำบล

2)      ร่วมกับแกนนำในหมู่บ้านชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดเวทีประชาคม บูรณาการแผนชุมชนระดับตำบล ให้มีมติการพัฒนาอย่างน้อย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

3)      ร่วมเป็นวิทยากรในเวทีบูรณาการแผนชุมชน และร่วมกับชาวบ้านวิเคราะห์ปัญหา สรุป และจับประเด็นสำคัญต่างๆ เรียงตามลำดับความสำคัญ

4)      จัดเก็บข้อมูลชุมชน เช่น ข้อมูล จปฐ. กชช.๒ค บัญชีครัวเรือน ให้มีความถูกต้อง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำแผนชุมชนได้

5)      มีบทบาทเป็นผู้ประสานงานทั้งกับคนในชุมชนและหน่วยงานภาคีการพัฒนาทุกระดับ ให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเพื่อร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา ไปด้วยกัน

6)      ผลักดันโครงการ/กิจกรรม ในแผนชุมชนให้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งติดตามการดำเนินงานตามโครงการต่างๆ

 

ด้านการสนับสนุนให้มีกองทุน การจัดสวัสดิการชุมชนและการแก้ไขปัญหา

๑)      ประชาสัมพันธ์ถึงประโยชน์ของการมีกองทุนและการจัดสวัสดิการในชุมชนให้แก่ผู้นำ กลุ่มองค์กรต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชนให้เข้าใจอยากเข้าร่วมกิจกรรม

๒)      เปิดเผยรายงานผลการดำเนินงานแก่ชุมชนอย่างโปร่งใส

๓)      พัฒนาความรู้ ความสามารถของบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ

๔)      ประสานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อขอรับการสนับสนุนในการดำเนินงาน

 

ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

๑)      จัดตั้งเครือข่ายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในการเฝ้าระวัง ตรวจตรา การจัดเวรยามของตำบล หมู่บ้าน

๒)      อาศัยความร่วมมือจากทุกหน่วยงาน

๓)      เน้นให้เยาวชนในหมู่บ้านเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการต่างๆของหมู่บ้าน ได้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ร่วมแก้ปัญหา และการเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนชุมชนของหมู่บ้าน

view

แผนที่อำเภอ

view