http://kccd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าหลัก

 ภารกิจ สพอ.

 บทบาทหน้าที่

 ประวัติอำเภอ

 แผนที่อำเภอ

 บุคลากร

 เว็บบอร์ด

ติดต่อเรา

ลิงค์หน่วยงาน

งานนโยบายสำคัญ

กิจกรรมเด่น/โครงการริเริ่ม

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน/ ตำบล (VDR/TDR)

คลังภูมิปัญญา OTOP

องค์ความรู้ พช.

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

สถิติ

เปิดเว็บ24/11/2014
อัพเดท20/11/2017
ผู้เข้าชม32,729
เปิดเพจ39,783
iGetWeb.com
AdsOne.com

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน บ้านทุ่งนางหนาย หมู่ที่ 4 (VDR)

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน

(Village Development Resort : VDR)

บ้านทุ่งนางหนาย หมู่ที่ ๔ ตำบลหนองเอี่ยน

อำเภอคำชะอี  จังหวัดมุกดาหาร

 

 

 

                                          โดย.....นางสาวธัญวรรณ  จันปุ่ม

นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอคำชะอี

ส่วนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป

บ้านทุ่งนางหนาย  หมู่ที่ 4 ตำบลหนองเอี่ยน

อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร

 

 

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

          บ้านทุ่งนางหนาย ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2300 ซึ่งท้าวไชยปัญญา และท้าวรามราชเป็นผู้นำกลุ่มในสมัยนั้น ซึ่งบรรพบุรุษชาวบ้าน นั้นเดินทางมาจาก แถบลุ่ม แม่น้ำโขง ประเทศจีนตอนใต้ ซึ่งเรียกว่า เผ่าไทยใหญ่ มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านเดื่อวัวแดง เมืองเวียงจัน ประเทศลาว ต่อมาได้ข้ามแม่น้ำโขง เข้ามาในประเทศไทยซึ่งตรงกับจังหวัดมุกดาหาร เดินทางเรื่อยมาจนได้มาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินในบริเวณที่อุดมสมบูรณ์กว่าบริเวณบ้านหนองเอี่ยน เมื่อเวลาผ่านไป ชาวบ้านเพิ่มมากขึ้น จึงได้อพยพประชากรย้ายมาอยู่บริเวณบ้านทุ่งอีหน่าย ต่อมาทางการจึงได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็น บ้านทุ่งนางหนาย ปัจจุบันมีนายอุทัย สุพร เป็นผู้ใหญ่บ้าน

ลักษณะที่ตั้ง

          ชื่อ บ้านทุ่งนางหนาย  หมู่ที่ 4 ตำบลหนองเอี่ยน  ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ  ของอำเภอคำชะอี  ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอ  15 ก.ม.  ตั้งอยู่ห่างจาก  องค์การบริหารส่วนตำบล  ระยะทาง  200  เมตร

 

อาณาเขต

ทิศเหนือ จรดกับบ้านโนนตูม หมู่ที่ 3 ตำบลผึ่งแดด อำเภอเมืองมุกดาหาร

ทิศใต้ จรดกับบ้านหนองเอี่ยน หมู่ที่ 2 ตำบลหนองเอี่ยน อำเภอคำชะอี

ทิศตะวันออก จรดกับ บ้านหนองเอี่ยน หมู่ที่ 10 ตำบลหนองเอี่ยน    

ทิศตะวันตก จรดกับ บ้านหนองเอี่ยน หมู่ที่ 1 ตำบลหนองเอี่ยน

การปกครอง

คณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน  15  คน  ประกอบด้วย

1.  นายอุลัย สุพร                   เป็น  ผู้ใหญ่บ้าน

2.  นายอำไพ  สุพร                 เป็น  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง

3.  นายอำนาจ  ผาสุก              เป็น  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง

4.  นายสมพิท  สุพร                เป็น  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ

5.  นายชวลิต  นามบุตร 

6.  นายสินชัย  ยืนยั่ง

7.  นายดุม  พยอม

8.  นางแสงดาว  สุพร

 

 

 

 

 

ลักษณะภูมิประเทศ

          เป็นพื้นที่ราบลุ่ม เนื้อที่ประมาณ  1,000  ไร่  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา

การคมนาคม

มีถนนติดต่อกับอำเภอ  1  เส้นทาง  ถนนมุกดาหาร-กุฉินารายณ์ รวมระยะทางทั้งหมด  15  กิโลเมตร

เป็นถนนลาดยางตลอดเส้นทาง

ประชากร

ราษฎรอาศัย  132 ครัวเรือน  มีประชากร  จำนวน  325  คน  ชาย  152 คน  หญิง  173  คน (ตาม ข้อมูล จปฐ. 2560)

การประกอบอาชีพและมีงานทำ

          ประชากรส่วนใหญ่ มีอาชีพหลัก   ทำนา     อาชีพรอง   รับจ้าง

แหล่งน้ำ

-          บ่อน้ำตื้น ส่วนตัว จำนวน 5 บ่อ

-          บ่อบาดาล ส่วนตัว จำนวน 3 บ่อ

-          มีน้ำประปาใช้ตลอดปี จำนวน 132 ครัวเรือน

-          มีน้ำดื่มและบริโภคเพียงพอตลอดปี จำนวน 132 ครัวเรือน

-          มีน้ำใช้เพียงพอตลอดปี จำนวน 132 ครัวเรือน

บริการสาธารณะในหมู่บ้าน

-          วัด 1 แห่ง

-          ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง

-          ศูนย์เรียนรู้ชุมชน จำนวน 1 แห่ง

ด้านเศรษฐกิจ

-          พื้นที่รวมของหมู่บ้าน 665 ไร่

-          มีที่ดินทำกินของตนเอง และไม่ต้องเช่า จำนวน 132 ครัวเรือน

-          พื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 600 ไร่

-          พื้นที่ทำนาทั้งหมด 600 ไร่

-          รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี 91,261 บาท

การศึกษา

-          ชั้นก่อนประถมศึกษา 29 คน

-          ภาคบังคับ ป.1 – ม.3  169 คน

-          มัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 24 คน

-          อนุปริญญา/เทียบเท่า จำนวน 5 คน

-          ปริญญาตรี จำนวน 1 คน

 

 

 

 

 

ส่วนที่ 2 : การประเมินผลการพัฒนาหมู่บ้าน

 

 

 

การประเมินสถานการณ์พัฒนาหมู่บ้านจากข้อมูล จปฐ.

สถานการณ์พัฒนาหมู่บ้านของบ้านทุ่งนางหนาย หมู่ที่ 4 ตำบลหนองเอี่ยน   อำเภอคำชะอี           จังหวัดมุกดาหาร     จากการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลจปฐ. ประจำปี 2560   เป็นดังนี้

 

บ้านทุ่งนางหนาย มีตัวชี้วัดที่ ไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 3 ตัวชี้วัด คือ

ข้อที่

ตัวชี้วัด จปฐ.

ที่ตกค้าง

จำนวน

ครัวเรือน

ที่ตกเกณฑ์

ร้อยละ

สาเหตุที่ตกเกณฑ์

22

รายได้เฉลี่ยของคนในครัวเรือนต่อปี

2 ครัวเรือน

1.52

รายได้ไม่เพียงพอกับอาชีพ ไม่มีอาชีพเสริม

24

คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา

2 คน

0.62

ดื่มสุราเป็นประจำ

25

คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่

7 คน

2.15

สูบบุหรี่ทุกวัน ไม่สามารถเลิกได้

 

ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไข

          1. ส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริมให้ครัวเรือน ลดรายจ่ายฟุ่มเฟือย

1. รณรงค์การลด ละ เลิก การดื่มสุรา - การสูบบุหรี่  

           2. จัดทำโครงการเลิกสูบบุหรี่ – งดเหล้าเข้าพรรษา                   

            3. รับสมัครอาสาที่จะสาบานตนเพื่อเลิกเหล้า เลิกบุหรี่

      

การประเมินสถานการณ์พัฒนาหมู่บ้านจากข้อมูล กชช 2 ค

จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน(กชช 2 ค) ประจาปี 2560 บ้านทุ่งนางหนาย  หมู่ที่ 4 ตำบลหนองเอี่ยน มีผลการพัฒนาอยู่ในระดับก้าวหน้า (ระดับ 3 ) สภาพปัญหาของหมู่บ้าน มีปัญหามาก (ระดับ ๑) จำนวน 4 ตัวชี้วัด มีปัญหาปานกลาง (ระดับ ๒) จำนวน 4 ตัวชี้วัด และมีปัญหาน้อย (ระดับ ๓) จำนวน 18 ตัวชี้วัด  เมื่อพิจารณากลุ่มตัวชี้วัดตามระดับปัญหามาก สามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้

¨    ผลการวิเคราะห์ข้อมูล กชช.2ค ตัวชี้วัดที่มีปัญหามาก (ระดับ ๑) ปี 2560

ข้อที่

ตัวชี้วัด

ระดับคะแนน

สาเหตุที่เป็นปัญหาตามค่าคะแนน

7

การติดต่อสื่อสาร

1

การติดต่อสื่อสารไม่ทั่วถึงประชาชนในพื้นที่

21

การมีส่วนร่วมในชุมชน

1

ประชาชนบางส่วนต้องไปประกอบอาชีพ จึงทำให้มีกิจกรรมการมีส่วนร่วมในชุมชนน้อยลง

23

การเข้าถึงแหล่งเงินทุน

1

ประชาชนผู้มีรายได้น้อยส่วนใหญ่ไม่เข้าถึงแหล่งทุน เพื่อนำเงินทุนไปประกอบอาชีพเสริม

32

ความปลอดภัยจากภัยพิบัติ

1

เกิดภัยพิบัติน้ำท่วมผลิผลิตทางการเกษตรเสียหาย

 

 

¨    ผลการวิเคราะห์ศักภาพชุมชน(SWOT ANALYIS)

จุดแข็ง

จุดอ่อน

1. มีกลุ่มองค์กรชุมชนที่มีความเข้มแข็ง

2. มีทุนชุมชนเพื่อประกอบอาชีพเสริม

3. เป็นหมูบ้านแผ่นดินทองแผ่นดินธรรม

4. มีประเพณีและวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง

5.คนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นเครือญาติ

1. ขาดแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

2. ประชาชนส่วนใหญ่ยังติดของฟรี

โอกาส

ข้อจำกัด

1. เป็นหมู่บ้านที่มีพื้นที่ติดกับถนนสายหลักสองฝั่งถนน ทำให้มีโอกาสในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ด้านการตลาด

 

1. การจ้างงานในหมู่บ้านมีน้อย

2. ชุมชนขาดการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย

3. การจัดข้อมูลสารสนเทศ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนโดยใช้โปรแกรม CIA

          จากการวิเคราะห์ข้อมูลหมู่บ้าน/ชุมชน  จากข้อมูล จปฐ.ปี 2560 ข้อมูล กชช.2 ค ปี 2560 และข้อมูลอื่นๆ ด้วยโปรแกรม CIA และ Logic  Model ของบ้านทุ่งนางหนาย  หมู่ที่ 4  ตำบลหนองเอี่ยน  อำเภอคำชะอี  ผลการวิเคราะห์ปรากฏสภาพปัญหาต่างๆ  ในภาพรวมในด้านต่างๆ  ดังนี้

  1. ด้านการพัฒนาอาชีพ  ระดับ  2.92
  2. ด้านการจัดการทุนชุมชน  ระดับ  2.55
  3. ด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงของชุมชน  ระดับ  2.63
  4. ด้านการแก้ปัญหาความยากจน  ระดับ  2.65
  5. ด้านการบริหารจัดการชุมชน  ระดับ  2.66

 

 

 

ส่วนที่ 3 : แนวโน้มทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน

 

 

 

วิสัยทัศน์

  1. พัฒนาหมู่บ้าน ชุมชนครัวเรือน ให้สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม
  2. ให้ทุกครัวเรือนพัฒนาคุณภาพชีวิตมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน มีความกินดีอยู่ดี
  3. ให้หมู่บ้านชุมชนปลอดจากยาเสพติดและลด ละ เลิกอบายมุขทุกชนิด

พันธกิจ 

  1. ทุกครัวเรือนต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของหมู่บ้านเคร่งครัด
  2. ทุกคนต้องร่วมกันในการพัฒนาหมู่บ้านไม่ว่าด้านความสะอาดหรือทุก ๆ ด้าน ต้องถือว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนและพร้อมจะให้ความร่วมมือตลอดเวลา
  3. ทุกครัวเรือนจะต้องพร้อมให้ความร่วมมือจากทางราชการทุกฝ่าย
  4. ชาวบ้านทุกคนจะช่วยกันพัฒนาโรงเรียน – วัด – และหมู่บ้านของตน

ประเด็นยุทธศาสตร์  

  1. พัฒนาการเรียนรู้และสร้างจิตสำนักให้แก่คนในชุมชนได้ตระหนักถึงการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  2. เสริมสร้างความสมัครสมานสามัคคีในหมู่คณะ
  3. ร่วมกันพัฒนาและรักษาโครงการกิจกรรมในประเด็นยุทธศาสตร์ ทั้ง 6 ด้าน ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชน

บ้านทุ่งนางหนายจะยึดหลักในการดำรงชีวิต 6 ข้อ ดังนี้

1) ดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง

2) ขยัน ประหยัด เก็บออม

3) พึ่งตนเองก่อนพึ่งคนอื่น

4) มีความสามัคคีช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

5) มีระเบียบ วินัย และเคารพกฎหมาย

6) การลด ละ เลิก อบายมุข

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

         การดำเนินงานการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตบ้านทุ่งนางหนาย  หมู่ที่ 4  ตำบลหนองเอี่ยน ได้ดำเนินการตามกระบวนการต่างๆ ทำให้เกิดผลการดำเนินงาน ดังนี้

         ๑. กระบวนการสร้างความเข้าใจร่วมกัน  โดยการจัดเวทีประชาคมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และแนวทางการดำเนินงาน แก่คณะกรรมการหมู่บ้าน  ทำให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญว่าข้อมูลมีความสำคัญต่อการพัฒนาหมู่บ้านเพียงใดและมีการนำข้อมูลที่มีอยู่ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร

         ๒. กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  โดยมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล สารสนเทศ รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาในการจัดทำสารสนเทศหมู่บ้านและหาแนวทางแก้ไข

         ๓. กระบวนการกำหนดความต้องการร่วมกัน  โดยคนในชุมชนร่วมกันกำหนดว่าต้องการจะจัดทำสารสนเทศด้านใดบ้าง  ซึ่งสารสนเทศที่ได้จากความต้องการของคนในหมู่บ้าน มีดังนี้

                     (๑.) ด้านการพัฒนาอาชีพ 

                        - กลุ่มทำไม้กวาดจากดิ้วไม้ไผ่

                             - กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี

                             - กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์

                     (๒.) ด้านการจัดการทุนชุมชน 

                             - กองทุนหมู่บ้าน

                             - กลุ่มร้านค้าสวัสดิการชุมชน

                             - กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

                             - โรงสีชุมชนข้าว

                             - กองทุนแม่ของแผ่นดิน 

                             - ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน 

                     (5.) ด้านการจัดการความเสี่ยงชุมชน

                             - ส่งเสริมการจัดทำบัญชีครัวเรือนแก่คนในชุมชน

                             - โครงการออมวันละบาท

                     (๓.) ด้านการแก้ปัญหาความยากจน 

                             - โครงการ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน  กรณียากจน  เจ็บป่วย  พิการ  อนาถาและโครงการบริหารจัดการครัวเรือนยากจนแบบบูรณาการ  จังหวัดมุกดาหาร

                     (๔.) ด้านการบริหารจัดการชุมชน 

                             - โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์รอบหมู่บ้านทุกสิ้นเดือน

                             - โครงการส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมตามวันสำคัญต่างๆ

 

การใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาหมู่บ้าน

บ้านทุ่งนางหนายเป็นหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งคณะกรรมการหมู่บ้าน วัด โรงเรียน ได้ร่วมกัน กำหนดเป้าหมายการพัฒนาหมู่บ้านให้มีความเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ โดยเน้นการใช้ฐานข้อมูล ชุมชน เป็นฐานสำคัญ ในการชี้เป้าหมายการพัฒนาหมู่บ้านให้มีความเข้มแข็ง ครบถ้วนทุกมิติ ทั้งทาง ด้านเศรษฐกิจ สังคม ประเพณีวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และการศึกษาระบบข้อมูลที่ชุมชนแห่งนี้
 มีความตระหนักร่วม และให้ความสำคัญในการชี้เป้าการพัฒนา ได้แก่ ข้อมูล ความจำเป็นขั้นพื้นฐาน (จปฐ) ข้อมูล กชช ๒ ค ข้อมูลการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการร่วมกันของคนในชุมชน หรือแม้กระทั่งข้อมูล
ที่คนในชุมชน มีความสนใจ ที่จะศึกษารวบรวม จัดเก็บเพื่อเป็นฐานข้อมูล ในการตัดสินใจ กำหนดแผนการพัฒนาหมู่บ้าน และแผนชุมชน

บ้านทุ่งนางหนาย  มีการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย เช่นการใช้ข้อมูลความจำเป็นขั้นพื้นฐาน(จปฐ.) และ ข้อมูล กชช ๒ ค. เป็นการชี้เป้าให้ชุมชนได้เรียนรู้ ร่วมกัน ใน ประเด็นด้านรายรับและรายจ่ายของชุมชนบ้านทุ่งนางหนาย จากข้อมูล จปฐ. ข้อที่ ๒3 เพื่อนำไปสู่การพัฒนาโครงการหมู่บ้าน  ซึ่งมีการตั้งกลุ่มต่างๆขึ้นในหมู่บ้านเช่น  กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี  กลุ่มทำดอกไม้ประดิษฐ์   เป็นการเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเป็นสำคัญ 
          การนำข้อมูล จปฐ./กชช.2ค ของหมู่บ้าน  ไปใช้ประโยชน์ดังนี้

-          การจัดทำแผนชุมชน

-          การจัดทำรายงานการพัฒนาหมู่บ้าน (VDR)

-          การจัดเวทีประชาคมในด้านการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ/กลุ่มผู้สูงอายุ

ผลงานเด่นของหมู่บ้าน

  1. หมู่บ้านศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดิน
  2. เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ประจำปี 2559

 

ข้อเสนอแนะของนักพัฒนาต่อการพัฒนา

 

 

 

 

 

 

          บ้านทุ่งนางหนาย ประชากรส่วนใหญ่เป็นเครือญาติกัน ดังนั้นการอยู่ร่วมกันจึงอยู่แบบถ้อยทีถอยอาศัยซึ่งกันและกัน ความเป็นอยู่ส่วนใหญ่จะพึ่งพาคนเองและคนในชุมชน จึงเป็นปัญหาในการประสานกับหน่วยงาน กลุ่มองค์กรภายนอกซึ่งเป็นผลให้ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนได้น้อย

          แนวทางในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาหมู่บ้าน เพื่อให้ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชนปลอดยา ประชากรในหมู่บ้านจะต้องมีจิตสำนึกรักชุมชน มีความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชน โดยประสานกับหน่วยงานภาครัฐ จัดเวทีประชาคม วางแผนการกัดการชุมชน ประชาชนรู้จักนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต และปลูกฝังให้คนรุ่นหลังรักษ์บ้านเกิด

 

 

 

 

 

 

view

แผนที่อำเภอ

view