http://kccd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าหลัก

 ภารกิจ สพอ.

 บทบาทหน้าที่

 ประวัติอำเภอ

 แผนที่อำเภอ

 บุคลากร

 เว็บบอร์ด

ติดต่อเรา

ลิงค์หน่วยงาน

งานนโยบายสำคัญ

กิจกรรมเด่น/โครงการริเริ่ม

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน/ ตำบล (VDR/TDR)

คลังภูมิปัญญา OTOP

องค์ความรู้ พช.

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

สถิติ

เปิดเว็บ24/11/2014
อัพเดท20/11/2017
ผู้เข้าชม32,687
เปิดเพจ39,740
iGetWeb.com
AdsOne.com

เสื้อเย็บมือบ้านกกไฮ

เสื้อเย็บมือบ้านกกไฮ

ภูมิปัญญาท้องถิ่น เสื้อเย็บมือบ้านกกไฮ

1.ผลิตภัณฑ์

     1.1ประวัติความเป็นมา

                        

การทำเสื้อเย็บมือบ้านกกไฮ ตำบลคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหารสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษของชนเผ่าผู้ไทยที่มีวิถีชีวิตของการดำรงชีพโดยการแบ่งงานกันทำของชาวผู้ไทยที่ผู้หญิงจะต้องมีความรู้เรืองการบ้านการเรือนและเป็นเพศที่มีความละเอียดอ่อนฝึกการเรียนรู้ด้านอาชีพที่จะต้องเตรียมตัวเป็นแม่บ้านงานด้านแม่บ้านแม่เรือนจำเป็นต้องฝึกก่อนที่จะออกเรือนหรือมีครอบครัวโดยเฉพาะงานบ้านงานเรือนการดูแลเรือนชาน การหาเครื่องนุ่งห่มจำเป็นต้องเรียนรู้กระบวนการตั้งแต่ต้นจนสามรถนำผ้ามาใช้สอยได้ ประกอบกับประเพณีชนเผ่าผู้ไทยเวลาแต่งงานฝ่ายหญิงจะต้องหาเครื่องสมมา(เป็นศัพท์เฉพาะของชนเผ่า)โดยเครื่องสมมาจะแบ่งตามชนชั้นญาติ หากเป็นพ่อ แม่ ทั้งฝ่ายหญิง และฝ่ายชาย จะมีผ้าห่ม ผ้าไหม หมอน ฟูก เสื้อ กางเกง หรือเพื่อนฝูงฝ่ายเจ้าบ่าวก็จะเป็นหมอน ผ้าขาวม้า หรือถ้าญาติที่ห่างไกลก็จะมีดอกไม้ เทียนคู่ ดังนั้นหากเป็นหญิงสาวของเผ่าผู้ไทยจะต้องเรียนรู้ด้านการทอผ้าเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในครัวเรือน เช่นทำผ้าห่ม หมอน มุ้ง เสื้อ กางเกงหากใครที่ทอผ้าไม่เป็นหญิงสาวคนนั้นคุณค่าของตนเองก็จะลดลงฝ่ายชายก็ไม่ต้องการที่จะนำมาเป็นคู่ครองหากใครที่สามารถทอผ้าได้และทอผ้าสวยงามก็จะเป็นการเพิ่มคุณค่าของตนเองดังนั้นการทอผ้าจึงมีการสืบทอดต่อๆมาประกอบกับสมัยก่อนยังไม่มีโรงงานทอผ้าหญิงสาวจำเป็นต้องมีความรู้ด้านการทอผ้าในสมัยก่อนตามชนบทของชาวผู้ไทยไม่มีเครื่องมือที่ทันสมัยที่จะอำนวยความสะดวกในการตัดเย็บเสื้อผ้าด้วยความพากเพียรพยายามของบรรพบุรุษที่ต้องอาศัยความอดทนให้ได้ในสิ่งที่เขาต้องการเพื่อห่อหุ้มปกปิดร่างกายดังนั้นจึงอาศัยฝีมือที่มีอยู่และประสบการณ์ตามวิถีชีวิตที่เป็นธรรมชาติมาใช้ในการถักร้อยเย็บให้สวยงามด้วยลวดลายต่างๆ ดังที่ได้พบเห็น และเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่นการเย็บด้วยลายเกี้ยว (ลายเถาวัลย์พันต้นไม้) ลายเขี้ยวตั๊กแตน ลายโซ่ ลายด้นลายผักกูด ลายผักแว่น และลายก้างปลา ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นวิถีชีวิตทั้งนั้นจนเป็นตัวเสื้อขึ้นมา ซึ่งชาวผู้ไทยกกไฮได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นจึงได้สืบสานให้คงอยู่ตลอดไปและยังเป็นงานอาชีพเสริมรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชนต่อไปในอนาคตอีกด้วย

1.2เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์

 

1.เป็นผ้าฝ้ายทอมือ ที่เริ่มต้นตั้งแต่ปลูกจนถึงการเย็บเป็นเสื้อมาจากแรงงานของชุมชน

2.เป็นงานหัตถกรรมที่เย็บด้วยมือทั้งตัว ด้วยลวดลายหลากหลายที่เลียนแบบธรรมชาติเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับวิถีชีวิตของชาวบ้านโดยแท้จริง

 

 

 

 

              ฝ้ายมาจากการปลูกชุมชน                                            การทอผ้าของชุมชน

 

 

 

 

                                            การเย็บเสื้อด้วยมือ

 

 

 

 

 

                1. 3.มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ

 

   1. ผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 4 ดาวปี 2549                          2. รับรองการแจ้งข้อมูลกระทรวงพาณิชย์

  

3.ผลิตภัณฑ์  OTOPระดับ 4 ดาว

 ปี พ.ศ 2552                              4. มาตรฐาน อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)                               

                                                                                 

                                                                                      

                                                                          5.ผลิตภัณฑ์ OTOPระดับ 5 ดาว ปี  2553

3.1ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาว ปี 2553

3.2ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับ 4 ดาว ปี พ.ศ 2552

3.3ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับ 4 ดาว ปี พ.ศ 2549

3.4 มาตรฐาน มผช. ปี 2550

3.5ได้รับประกาศเกียรติคุณกลุ่มอาชีพดีเด่น จังหวัดมุกดาหาร ปี 2459

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

              1.4.ความสัมพันธ์กับชุมชน

    ชุมชนเป็นแหล่งกำเนิดของวัตถุดิบและแรงงาน เริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการปลูกฝ้าย เก็บฝ้าย เข็นฝ้าย ทอฝ้าย สู่กระบวนการทอผ้า ตัดเย็บ มาจากชุมชนพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และแบ่งงานกันทำดังรายละเอียดต่อไปนี้

 

                                การปลูกฝ้าย

 

                            

ฝ้าย เป็นพืชเศรษฐกิจเจริญเติบโตในบริเวณที่มีอากาศร้อน ลักษณะดินเป็นดินเหนียวปนทราย อากาศโปร่ง ไม่ชอบที่ร่มเงาบัง เส้นใยของฝ้ายดูดความชื้นได้ง่าย เหมาะสำหรับการเป็นเครื่องนุ่งห่มในเมืองร้อน เพราะฝ้ายดูดความชื้นแล้ว ความชื้นจะระเหยกลายเป็นไอ ผู้ที่สวมใส่เสื้อผ้าด้วยผ้าฝ้ายจะรู้สึกเย็นสบาย ฝ้ายจะปลูกในเดือนพฤษภาคมต่อกับเดือนมิถุนายน หรือเดือนกรกฎาคมต่อเดือนสิงหาคม แล้วแต่ภูมิภาคที่ปลูก ซึ่งเป็นฤดูฝนเป็นช่วงที่ฝ้ายได้รับฝนดี ครั้นประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมฝ้ายจะแก่และแตกปุย การปลูกฝ้ายชาวบ้านจะปลูกไปพร้อมๆ กับการปลูกข้าวระยะเวลาที่ใช้ในการปลูกฝ้ายจนกระทั่งสามารถเก็บปุยได้ใช้เวลาประมาณ 6 - 7 เดือน ชาวบ้านทุกครัวเรือนสามารถปลูกฝ้ายได้แล้วนำเส้นใยของฝ้ายมาทอเป็นผืนผ้า สำหรับเป็นเครื่องนุ่งห่มและใช้ในชีวิตประจำวัน แหล่งปลูกฝ้าย ในประเทศไทยอยู่ที่จังหวัดเลย เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ พิจิตร ลพบุรี ปราจีนบุรี สุโขทัย เพชรบุรี นครราชสีมา และกาญจนบุรี ผลผลิตของฝ้ายที่นำมาใช้ประโยชน์ได้แก่ ดอกฝ้าย เปลือก เมล็ดฝ้าย และเนื้อเมล็ดฝ้าย ดอกฝ้ายมีสีขาวลักษณะเป็นเส้นใยขนปุยใช้ทอฝ้ามาแต่โบราณ ในปัจจุบันเส้นใยจากฝ้ายนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและเครื่องใช้ในบ้าน สำหรับ พันธุ์ฝ้ายในประเทศไทย มีมากมายหลายชนิด นับตั้งแต่ฝ้ายตุ่น ซึ่งเป็นฝ้ายพื้นเมืองของไทย ดอกฝ้ายมีขนาดเล็ก สีน้ำตาล เส้นใยสั้น ๆ ใช้ในการทอผ้าด้วยมือแบบพื้นเมือง และฝ้ายชนิดอื่น ๆ ใช้ในอุตสาหกรรมทอผ้า

                             

                              การทำเส้นฝ้าย

 

                                                

   การเก็บฝ้ายจะอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน หรือ ธันวาคม เมื่อเก็บดอกฝ้าย แล้วจะนำมาตากผึ่งแดดให้แห้งสนิท แล้วเก็บสิ่งสกปรกที่เจือปน ออกจนหมด นำไปแยกเมล็ดฝ้าย ออกจากปุยฝ้าย ด้วยวิธีการนี้เรียกว่า “อิ้วฝ้าย” แล้วนำปุยฝ้ายไปดีด ให้ปุยฝ้ายแตกตัวละเอียดฟูขึ้นด้วยแรงสั่นสะเทือนของสายดีด ซึ่งเรียกว่า “กงดีดฝ้าย” จากนั้นนำปุยฝ้ายที่ดีดจนเป็นปุยละเอียดดี แล้วไปล้อด้วย “ไม้ล้อ” โดยใช้ไม้ล้อคลึงบนแผ่นปุยฝ้ายที่วางอยู่บน “กระดานล้อ” ให้เป็นแท่งกลมยาวแล้วดึงไม้ล้อออกแท่งกลมยาวที่ล้อเสร็จแล้ว เรียกว่า “ดิ้ว” หลังจากนั้นจึงนำไปเข็นฝ้ายให้เป็น เส้นใย โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า “หลา” ที่มีสายพานเชือกโยงจากหลา ไปปั่นหมุนแกนเหล็กไน เพื่อล้อฝ้ายให้เป็นเส้นใยพันม้วนอยู่กับแกนเหล็กไน เมื่อเต็มเหล็กไนแล้ว จึงจัดฝ้ายเข้า “ไม้ขาเปีย”เพื่อทำเป็นไจหรือปอย โดยกะขนาดเอง หลังจากนั้นจึงนำเส้นฝ้ายไปย้อมสีที่ต้องการ ในบางท้องถิ่น นิยมนำเส้นด้ายไป “ฆ่า” ด้วยการชุบน้ำข้าวหรือให้ฝ้ายมีความเหนียว คงทนไม่ขาดง่าย จากนั้นจึงนำไปใส่กงเพื่อกวักเส้นด้าย แล้วนำมาปั่นหลอดแยกเส้นฝ้ายออกเป็น 2 จำพวกคือ เส้นยืน และเส้นพุ่ง เพื่อใช้ในการทอผ้าต่อไป

 

 

                                      การย้อมสี

                 เส้นใยที่ได้จาก “ฝ้าย”จะมีสีขาว หรือ สีขาวขุ่น หรือสีน้ำตาลอ่อน ขึ้นอยู่กับชนิดของฝ้าย ดังนั้นเมื่อนำมาทอจึงต้องนำฝ้ายไปย้อมเพื่อให้เกิดสีที่สวยสดงดงาม ในอดีตสีที่นำมาย้อมฝ้ายนั้นจะได้จากวัสดุธรรมชาติซึ่งสามารถหาวัตถุดิบได้ตามท้องถิ่นไม่ว่าจะ เป็นเปลือกไม้ รากไม้ ดอก ผล หรือจากสัตว์บางชนิด แต่เนื่องจากกรรมวิธีในการสกัดสีจากธรรมชาติค่อนข้างยุ่งยาก และวัตถุดิบ เริ่มหายาก อีกทั้งสีสันที่ได้ไม่มีความหลากหลาย คุณภาพในการย้อมไม่ดีนัก จึงมีการนำสีที่ได้จากระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือสีเคมีมาใช้ในการย้อม ซึ่งช่วยให้สะดวก รวดเร็ว รวมทั้งยังให้สีสันต่าง ๆ มากมาย สามารถไล่ระดับสีได้ จึงทำให้ผู้ที่ใช้กรรม วิธีการย้อมสีธรรมชาติลดน้อยลงมากปัจจุบันสีที่นำมาย้อมเส้นใยฝ้าย สามารถแบ่งได้เป็น สีธรรมชาติและสีวิทยาศาสตร์ สี ที่ได้จากธรรมชาติทั้งหมดได้มาจากพืช และสัตว์บางชนิด สีที่ได้จากพืช จะนำมาจากส่วนต่าง ๆ ได้แก่เปลือก ราก แก่น ใบ ดอก และผล ส่วนสัตว์นั้นได้มาจาก “ตัวครั่ง” วัตถุดิบ ที่นำมาใช้ และกระบวนการในการย้อมสีธรรมชาตินั้น แต่ละท้องถิ่นก็จะมีความแตกต่างกันสีสันที่ได้จึงแตกต่างกันไป

                                   ขั้นตอนการย้อม


การย้อมนั้นแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ การย้อมเย็นและการย้อมร้อน
         การย้อมเย็น นั้นจะนิยมย้อมในหม้อดิน โดยการเตรียมน้ำสีใส่ไว้ในหม้อ จากนั้นนำเส้นฝ้ายไปจุ่มลงในหม้อ ใช้มือคน บีบ จนกระทั่งได้สีตามต้องการ หรือจะทำการหมักไว้เพื่อให้สีที่ได้เข้มขึ้น
         การย้อมร้อน เป็นการนำเส้นฝ้ายไปต้มในหม้อที่ใส่น้ำสี ใช้ไม้คนเพื่อให้ฝ้ายโดนน้ำสีอย่างทั่วถึง เมื่อได้สีตามต้องการจึงนำไปซักและตากแห้งซึ่งการย้อมร้อนมีขั้นตอนดังนี้
1. นำเส้นฝ้ายที่จะไปทำการย้อม มาซักด้วยน้ำสะอาดเพื่อขจัดฝุ่นผงและไขต่าง จากนั้นบีบน้ำออกให้หมาดเพื่อให้สีที่ ย้อมติดเส้นฝ้ายอย่างสม่ำเสมอ
2. นำเส้นฝ้ายที่บีบหมาดแล้วลงไปต้มในหม้อน้ำสี คนฝ้ายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สีเข้าไปในเส้นฝ้ายอย่างทั่วถึงประมาณ 30 นาที (ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบที่นำมาย้อม)
3. เมื่อได้สีตามต้องการ นำเส้นฝ้ายขึ้นจากหม้อต้ม บิดให้หมาด นำไปซักด้วยน้ำ สะอาด แล้วตากให้แห้ง ถ้าต้องการให้สีเข้มขึ้นสามารถนำมาต้มอีกครั้งหนึ่งจนกว่าจะได้สีตามต้องการ  //หมายเหตุ : วัตถุดิบแต่ละชนิดให้สีเหมือนกันแต่คนละโทนสี

 

 

 

สี

ชนิดของวัตถุดิบ

 

แดง

ตัวครั่ง, รากยอ, เปลือกก่อ

 

แดงเลือกนก (ส้ม)

ผลสะตี

 

เขียว

เปลือกมะม่วง, เปลือกลิ้นฟ้า, ใบหูกวาง, เปลือกสมอ, สัก

 

เหลือง

ขมิ้นชัน, แก่นแข, เปลือกขนุน

 

ดำ

ผลมะเกลือ, ผลกระจาย

 

น้ำตาล

เปลือกประดู่, เครือโก่ย, ผลหมาก

 

เทา

เปลือกบก, เหง้ากล้วย

 

ม่วงเทา

เปลือกหว้า

 

ม่วงอ่อน

ผลหว้า

 

คราม, น้ำเงิน, ฟ้า

ต้นคราม

 

 

                                      การทอผ้าหรือต่ำหูก

 


                                              วิธีการทอผ้า
ปัจจุบัน ถึงแม้ว่ายังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดบ่งบอกถึงต้นกำเนิดของการ ทอผ้า แต่ก็สามารถเทียบเคียงกับหลักฐานอื่น ๆ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันโดยมีเหตุผลหลายอย่างสนับสนุนแนวคิดที่ว่า การทอผ้ามีวิวัฒนาการมาจากการทำเชือก ทอเสื่อและการจักสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลายเชือกทาบที่ปรากฏ ร่องรอยให้เห็นบนภาชนะดินเผา ซึ่งพบเป็นจำนวนมากตามแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่เรื่อยมาจนถึงแหล่งโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุนี้เอง จึงกล่าวได้ว่าการทอผ้าเป็นงานหัตถกรรมที่เก่าแก่ที่สุด ในโลกงานหนึ่ง หลักของการทอผ้า ก็คือการทำให้เส้นด้ายสองกลุ่มขัดกัน โดยทั้งสอง พวกตั้งฉากกัน เส้นด้ายกลุ่มหนึ่งเรียกว่าด้ายยืน และอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายพุ่ง ลักษณะของการขัดกันของด้ายพุ่งและด้ายยืน จะขัดกันแบบธรรมดาที่เรียกว่าลายขัดหรืออาจจะเพิ่มเทคนิคพิเศษเพื่อให้ผ้ามีลวดลายสีสันที่สวยงามแปลกตา

                              ขั้นตอนในการทอผ้า
1. สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะ กอแต่ละชุดและฟันหวีดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะกรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง
2. เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่านสลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ

3. การกระทบฟันหวี (ฟืม) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา
4. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บในแกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ ให้พอเหมาะ

 

                            การทอผ้าพื้น

                                                                      


                                       การทอผ้าพื้น

 

 เป็นการใช้หลักการทอผ้าเบื้องต้น ที่นำเอาด้ายเส้นยืนและด้ายเส้นพุ่งมาขัดกัน เพื่อให้เกิดเป็นผืนผ้า โดยด้ายเส้นพุ่งและเส้นยืนอาจเป็นด้ายสีเดียวกัน หรือต่างสีกัน หรือนำเอาเส้นด้ายที่เป็นดิ้นเงินหรือดิ้นทองมาทอควบด้าย เพื่อให้ผ้า มีความมันระยับ สวยงามยิ่งขึ้น

 

                       อุปกรณ์ที่ใช้ในการทอผ้า

                        

กี่หรือหูก เป็นอุปกรณ์ในการทอผ้า ให้เป็นผืนตามลวดลายที่ต้องการ
ฟันหวีหรือฟืม มีลักษณะเป็นกรอบโลหะภายในเป็นซี่ถี่ ๆ คล้ายหวี แต่ละเส้นจะใช้เส้นด้ายยืนสอด เข้าไปช่องละเส้น เรียงลำดับตามความกว้างของหน้าผ้าจัด เส้นยืนให้อยู่ห่างกนตามความละเอียดของผ้า
ตะกอหรือเขา มีลักษณะเป็นกรอบไม้ หรือโครงเหล็ก ภายในทำด้วยลวด หรือซี่โลหะเล็ก ๆ มีรูตรงกลางสำหรับร้อยด้ายยืน ปกติมี 2 ชุด ถ้าเพิ่มตะกอมากขึ้น จะสามารถสลับลายได้มากขึ้น.
ไม้ไขว้ อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเส้นด้ายให้เป็นระเบียบ
ไม้ค้ำ ไม้ที่ใช้สอดด้ายเส้นยืน เพื่อทำให้เกิดลวดลายในการทอ ด้วยเทคนิคพิเศษ
ไม้หาบหูก ใช้ประโยชน์ในการดึงด้ายให้ตึง
ไม้ดาบหรือไม้หลาบ มีขนาด 2 - 3 นิ้ว ลักษณะแบนยาว ใช้สอดผ่านด้ายยืน แล้วผลิก ขึ้นทำให้เกิดช่องว่างให้กระสวยพุ่งผ่าน
ไม้แป้นกี่ ที่นั่งของผู้ทอ บางแห่งใช้ไม้แผ่น บางแห่งใช้ไม่ไฝ่ สอดด้วยแผ่นไม่ที่ใช้รองนั่ง
เชือกเขา ใช้ดึงเขากับไม้หางหูก ให้ตึง
แกนม้วนผ้า เป็นแกนที่อยู่ตรงกันข้ามกับแกนม้วนด้ายยืน ใช้ม้วนผ้าที่ทอเสร็จแล้ว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                .กระบวนการการทำงานของชุมชน

 

ดีดฝ้าย

ปั่นฝ้ายเป็นแท่ง

เข็นเป็นเส้นด้าย

นำขึ้นกี่ทอผ้า

 

ผ้าฝ้ายทอมือ

นำผ้ามาตัดตามแบบ

เย็บและปักลายด้วยมือ

รูปทรงของตัวเสื้อ

2. กระบวนการผลิต

                      2.1วัตถุดิบและส่วนประกอบ

 

1. ผ้าฝ้ายสีต่าง ๆที่ทอเป็นผืน ขนาด 4 เมตร (ทำเสื้อแขนยาวได้ 1 ตัว)

                                  

2.ด้ายจากโรงงานสีต่าง ๆ และกระดุมจากกะลามะพร้าว

                                  

3. อุปกรณ์ในการเย็บผ้า เช่น เข็ม กรรไกรเข็มหมุด ไม้บรรทัด สายวัด ชอล์คขีดผ้า

                             

 

 

 

 

                2.2.ขั้นตอนการผลิต

(1) ตัดผ้าความแบบที่ต้องการตามโครงการสร้างของเสื้อได้แก่ ตัวเสื้อ แขน ส่วนคอ กระเป๋าเสื้อ สาบหน้า

(2) เนาส่วนต่าง ๆ เพื่อหาระยะในการเย็บจริง

(3) นำด้ายม้วนจากโรงงาน(ควรเป็นสีที่ความเหมาะสมกับสีของผ้า) จำนวน 3 เส้นปั้นให้เป็นเส้นเดียวกัน เตรียมไว้สำหรับเย็บเป็นลาย

(4) เย็บโดยการสอยต่อคอ สาบหน้าให้เป็นลักษณะของตะเข็บ

(5) ต่อแขนในลักษณะเดียวกัน แล้วเย็บกระเป๋า

(6) เมื่อเย็บเสร็จแล้วทำการเข้ากระดุมและปักลายบนชายเสื้อสาบหน้า และปลายแขนของเสื้อ

1.การวัดขนาดการวางผ้า

2.การตัดแยกชิ้นส่วน

3.การแยกชิ้นส่วน

4.การแยกชิ้นส่วน

 

5.การแยกชิ้นส่วน

6.ชิ้นส่วนต่างๆ

7.การประกอบเป็นตัวเสื้อ

8.รูปแบบเสื้อเย็บมือ

                

                                         .รูปแบบเสื้อเย็บมือ

- เน้น ความละเอียดในการเย็บและปักลวดลาย การนำจินตนาการที่หลากหลายจากประสบการณ์มาประยุกต์ใช้ในการคิดลวดลาย

 

 

 

 

 

 

 

     2.3. เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

การเย็บด้วยมือขั้นพื้นฐาน

วัสดุอุปกรณ์ในการหัดเย็บ-ปัก มีดังนี้ค่ะ

1.ผ้าขาวสี่เหลี่ยม กว้างยาวตามต้องการ 1 ผืน(หรือหลายผืนก็ไม่ว่ากัน)

2.เข็มเย็บผ้า ที่จับถนัดมือ

3.ด้าย จะเป็นด้ายสำหรับเย็บจักร หรือจะเป็นด้ายปักก็ได้ แต่ขอให้สีเข้มหน่อย

4.กรรไกร

มาเริ่มฝึก การเนาผ้า กันก่อนนะคะ

- จับผ้าด้วยมือซ้าย จับเข็ม (ที่มีด้ายร้อยอยู่แล้ว เส้นเดียว) มือขวา    - แทงเข็มขึ้น-ลง ให้ปมด้ายอยู่ด้านล่างของผ้า   ฝีเข็มไม่ต้องห่างมากนัก ตามในภาพ แล้วดึงด้ายให้ผ่านไป - ทำซ้ำๆ อย่างนี้ ไปตามความยาวที่ต้องการ   นี่คือการเนา ใช้ในการทำให้ผ้า 2-3 ชั้น ติดกันคร่าวๆ ก่อนที่จะนำไปเย็บด้วยจักร  หรือ เนาเพื่อเป็นแนวในการเย็บจักร ตามเส้นแนวตะเข็บที่ต้องการ

- ทำอย่างนี้อีก จนกว่าจะได้ความยาวที่ต้องการ

 

 


การเดินเส้นแบบด้นถอยหลัง

- เริ่มด้วยการแทงเข็มขึ้นมาตรงจุดที่ 1   - แล้วย้อนมาแทงเข็มลงไปตามจุดที่ 2 โดยให้ปลายเข็มแทงขึ้นที่จุดที่ 3 ในเวลาเดียวกัน   -ดึงด้ายขึ้นให้ตลอด    - จากนั้นแทงเข็มลงที่จุดที่ 4 (จะเห็นว่าตรงกับจุดที่ 1) ให้ปลายเข็มแทงขึ้นที่จุดที่ 5   - ดึงด้ายผ่านตลอด   - ทำซ้ำอย่างนี้ ตามในภาพ จะได้การเย็บแบบเดินเส้น ซึ่งจะทำให้ตะเข็บสวย แข็งแรง 
- ถ้าอยากให้เป็นเส้นตรง ควรขีดเส้นเตรียมไว้ตามต้องการ

การปักเดินเส้นแบบเรียบ
- เริ่มแทงเข็มขึ้นที่จุดที่ 1 ดึงด้ายขึ้นมาให้หมด   - แทงเข็มลงจุดที่ 2 ในขณะเดียวกันสอดปลายเข็มขึ้นที่จุดที่ 3 แล้วดึงด้ายผ่านตลอด   - ทำตามผังลายที่ให้ไว้ไปเรื่อยๆ จะได้เป็นการปักเดินเส้นอย่างหนึ่งค่ะ

 

 

 


การปักเดินเส้นลายโซ่

- เริ่มเหมือนกับการปักที่ผ่านมานั่นแหละค่ะ ต่างกันอยู่ที่

- เมื่อแทงเข็มขึ้นที่จุดที่ 1 แล้ว ดึงด้ายขึ้นมาให้หมด จากนั้นแทงเข็มลงจุดที่ 2

- ให้ตวัดด้ายอ้อมไปด้านบน แล้วจึงแทงเข็มขึ้นจากจุดที่ 2 ไปยังจุดที่ 3
โดยทีด้ายอ้อมเข็มอยู่ดังในภาพ - จากนั้นดึงด้ายขึ้นมาให้หมด แล้วแทงเข็มจากจุดที่ 4 ไปยังจุดที่ 5
โดยมีด้ายตวัดอยู่ด้านบน   - ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ฝีเข็มจะอ้อมซ้อนกันเหมือนโซ่ เป็นลายที่สวยงามลายหนึ่ง

การสอย

- หลังจากผ่านมาหลายแบบแล้ว พอจะทราบใช่ไหมคะ ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี   - การสอยแบบนี้เรียกว่า การสอยแบบขั้นบันได   - ให้นำผ้ามาพับริมเข้าไปแล้วค่อยทำการสอย

- หรือนำตะเข็บผ้าสองชิ้นมาชนกัน แล้วสอย ตามลำดับที่เขียนมานั่นเลย - การสอยซ่อน จะสอนอีกครั้งนะคะ

การทำคัทเวิร์ค

การทำคัทเวิร์ค เป็นการปักริมผ้าที่สวยงามลายหนึ่ง ทำไม่ยากอย่างที่คิด
หรือจะปักเป็นลวดลายบนผ้าก็สวย   - เริ่มจากจุดที่ 1 แทงเข็มขึ้นมา ดึงด้ายตวัดปลายเข็ม

- แทงเข็มลงที่จุด 2 ให้ขึ้นมาที่จุด 3 ดังในภาพ   - ส่วนมากจะใช้ในงานฝีมือที่ปักริมผ้าสักกะหลาดให้ติดกัน

การปักลายก้างปลา 2 แบบ
 
แบบนี้ปักง่าย ทำตามขั้นตอนที่เขียนบอกไว้เลย

แบบนี้ยากกว่านิดหน่อย แต่คงไม่พ้นความสามารถใช่ไหม
การปักจุดทึบ

แบบนี้ เพียงร่างวงกลมขึ้นมา แล้วปักไปตามแบบเลย ง่ายมา

 

 

 

                     . การถ่ายทอดภูมิปัญญา

            

                  

          

                      

 

                   ถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับนักเรียน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

             

                         ประธานกลุ่มสตรีเสื้อเย็บมือบ้านกกไฮ

3.ผู้ผลิตผู้ประกอบการ

          3.1  กลุ่มผู้ประกอบการ

 

กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มสตรีเสื้อเย็บมือบ้านกกไฮ  สถานที่ผลิต บ้านกกไฮ หมู่ 2 ตำบลคำชะอี

อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร  โทรศัพท์ 086-2280-100

ประธานกลุ่ม   นางเจตปรียา  ใจตรง

สถานที่ตั้งกลุ่ม 1 หมู่ 2 บ้านกกไฮ ตำบลคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร

โทรศัพท์ 086-2280100

 

 

 

 

 

 

                 .เส้นทางคมนาคม

 

1.ถนนหมายเลข 2042รถ โดยสารประจำทาง มีบริการทุกวันวิ่งถนนสายมุกดาหาร-กุฉินารายณ์ ก.ม.ที่ 46

 1. ถนนหมายเลข 2 มีรถโดยสารประจำทางทุกวัน

  

                         

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                   3.2.แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์

1.ที่ทำการกลุ่มสตรีเสื้อเย็บมือบ้านกกไฮ   โทรศัพท์ 086-2280100

2.ศูนย์บริการการท่องเที่ยวจังหวัดมุกดาหาร

3. หอแก้วจังหวัดมุกดาหารถนนมุกดาหาร –ดอนตาล

4. ศูนย์ OTOP องค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหร ถนน มุกดาหาร – ดอนตาล(ทางไปหอแก้วมุกดาหาร

5. ตลาดอินโดจีนริมเขื่อนแม่น้ำโขงจังหวัดมุกดาหาร

6.งานแสดงสินค้าทั่วไป

จำหน่าย ณ ที่ทำการกลุ่ม

หอแก้วมุกดาหาร ถนนมุกดาหาร-ดอนตาล

ร้าน OTOP อบจ.มุกดาหาร ถนนมุกดาหาร-ดอนตาล

ศูนย์บริการการท่องเที่ยวมุกดาหาร

 

 

 

                         

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

      

 

 

 

 

 

 

 

 

 

view

แผนที่อำเภอ

view