http://kccd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าหลัก

 ภารกิจ สพอ.

 บทบาทหน้าที่

 ประวัติอำเภอ

 แผนที่อำเภอ

 บุคลากร

 เว็บบอร์ด

ติดต่อเรา

ลิงค์หน่วยงาน

งานนโยบายสำคัญ

กิจกรรมเด่น/โครงการริเริ่ม

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน/ ตำบล (VDR/TDR)

คลังภูมิปัญญา OTOP

องค์ความรู้ พช.

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

สถิติ

เปิดเว็บ24/11/2014
อัพเดท20/11/2017
ผู้เข้าชม32,697
เปิดเพจ39,751
iGetWeb.com
AdsOne.com

ผลการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐพอเพียง อยู่เย็นเป็นสุข บ้านแข้

ผลการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

บ้านแข้ หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านค้อ อำเภอคำชะอี จังหวัด มุกดาหาร

                   การน้อมนำเอาพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปรับใช้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และสร้างคุณค่าที่ดีแก่คนในชุมชนบนพื้นฐานการอนุรักษ์วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ความเป็นไทยโดยโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ระดับ “อยู่ดี กินดี” ปี 2558 ได้พัฒนาครอบครัว พัฒนาในหมู่บ้าน  และนำมาปรับใช้ในหมู่บ้านเพื่อมุ่งพัฒนา “สังคมที่เข้มแข็งและยั่งยืน“ ให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน ได้แก่

1.ชุมชนที่มีคุณภาพ ที่ยึดหลักความสมดุล ความพอดี พร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย

และความรับผิดชอบ

      2.ชุมชนแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ใช้เวทีประชาคม เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น ให้คิดเป็น ทาเป็น มีเหตุผล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต รักษาและต่อยอดภูมิปัญญา

     3.ชุมชนสมานฉันท์ และเอื้ออาทรต่อกัน ที่ดำรงไว้ซึ่งคุณธรรม และคุณค่าของเอกลักษณ์

สังคมไทยที่พึ่งพาเกื้อกูลกัน รู้รักสามัคคี มีจารีตประเพณีอันดีงาม มีความเอื้ออาทร รักภูมิใจในชาติและท้องถิ่น มีสถาบันครอบครัวที่เข้มแข็ง ตลอดจนมีเครือข่ายชุมชน

 

 

ผลสำเร็จการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
           

  1. มีวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นรูปธรรม

 

 

 

 บ้านแข้มีการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ประกอบด้วย 6 ด้าน

ด้านการลดรายจ่าย

-  มีการปลูกพืช ผัก ไว้บริโภคในครัวเรือน และการเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงไก่,เป็ด,ห่าน,โค,และอื่นๆ

                - มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน

                - งานศพ งานบุญ งานบวช ปลอดเหล้า ปลอดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์  โดยบ้านแข้ได้จัดกิจกรรมการรณรงค์การลดละเลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานศพและงานอื่นๆ โดยได้ออกกฎกติกาออกมาใช้ในชุมชน  เช่นการไม่ดื่มเหล้าในงานศพ,การไม่ดื่มสุราในงานกฐิน เป็นต้น

 

ด้านการเพิ่มรายได้

-  การเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่าย ได้แก่ ไก่,เป็ด,หมู,โค,และอื่นๆ

- การเกษตร ปลูกพืชเพื่อจำหน่าย ได้แก่  ข้าวโพด มะเขือเทศ มันฝรั่ง และอื่นๆ

- กลุ่มทอผ้า, กลุ่มสานเสื่อกก เป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้

                                ที่โดดเด่น บ้านแข้ได้มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพทุกกลุ่ม เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ชาวบ้านแข้ได้มีกิจกรรมช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

 

ด้านการประหยัด

-  มีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต มีการฝากสัจจะ ทุกวันที่ 5 ของเดือน เพื่อเป็นการส่งเสริมการออมเงินให้กับสมาชิก และเป็นแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพให้สมาชิกได้

- มีกิจกรรมส่งเสริมการออมให้กับเด็กนักเรียน โดยได้มีการฝากสัจจะในโรงเรียน

 

ด้านการเรียนรู้ภูมิปัญญาและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

- มีการสืบสานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ได้แก่ หมอลำ การสวดสรภัญญะ การทำพานบายศรี  การเย็บขันบูชา

- มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอเสื่อกก/การทอผ้า ให้กับเยาวชนลูกหลานชาวบ้านแข้

 

 

ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

- มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในหมู่บ้าน

- มีการปลูกต้นไม้ในชุมชน และที่สาธารณะ

- กิจกรรมธนาคารขยะ

 

ด้านการเอื้ออารีย์

                -มีกิจกรรมธารน้ำใจช่วยเหลือผู้ประสบภัย

                - มีการลงแขกดำนา ซึ่งได้จัดทำเป็นประจำทุกปี

 

1.1 ชุมชนมีกิจกรรมส่งเสริมการจัดทำบัญชีครัวเรือน

1.2 กิจกรรมการออมเงินในรูปแบบของการจัดตั้งกลุ่ม

 

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านแข้

โครงสร้างการดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต บ้านแข้

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตจัดตั้งขึ้นเพื่อให้สมาชิกของกลุ่มได้มีโอกาสในการเข้าถึงเงินทุนในการนำไปประกอบอาชีพโดยเกิดจากการร่วมมือกันของสมาชิกที่มีความคิดเห็นและแนวความคิดเหมือนกันที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันด้วยการนำเงินมาลงทุนเป็นหุ้นๆละ 100 บาท และในแต่ละเดือนก็จะมีการออมเงินในรูปแบบการฝากเงินสัจจะ ที่เป็นเงื่อนไขหรือข้อตกลงของสมาชิกภายในกลุ่มมากน้อยตามข้อตกลงของกลุ่ม ปัจจุบันกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านแข้มีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 132  คน และมีเงินหมุนเวียน ในบัญชี  1,781,253 ( หนึ่งล้านเจ็ดแสนแปดหมื่นหนึ่งพันสองร้อยห้าสิบสามบาท )นำไปฝากในธนาคารสองแห่งคือ 1.) ธนาคาร ธกส. บัญชีเลขที่ 237-2-7519-0 ( 2.) ธนาคารออมสิน บัญชีเลขที่ 020-6672-6600-9

ข้อมูลด้านบัญชีของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต บ้านแข้ ประจำปี พ.ศ. 2557

รายการ

2557

2558

หมายเหตุ

ยอดเงินสะสมของสมาชิก

2,085,270

-

 

จำนวนหุ้น

20,852

-

 

กำไรจากดอกเบี้ย

211,452

-

 

รายจ่ายต่างๆ

5,000

-

 

เงินปันผล

206,452

-

 

หมายเหตุ

เงื่อนไข การปันผล ( ปันผลให้สมาชิก 75%,)  (  ตอบแทนคณะกรรมการ 15%)(   เฉลี่ยคืนสมาชิก 5%)

(เข้าทุนสำรอง 5%)

 

 

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านแข้ มีสำนักงานตั้งอยู่บ้านเลขที่  65   หมู่ที่ 5 ต.บ้านค้อ อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร 

ตัวอย่างสมาชิกที่ประสบความสำเร็จในการนำทุนจากกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตไปใช้ในการประกอบอาชีพต่างๆ ได้แก่   นางเพ็ญศิริ คล่องดี,                                         นางเนือน สุพร ,                                   นางจันทร์เพ็ญ ศิลพูน

 

นางเพ็ญศิริ คล่องดี

เปิดรับซื้อข้าวเปลือกในชุมชน

              นางเนือน สุพร 

            เปิดร้าน ขายของชำ

         นางจันทร์เพ็ญ ศิลพูน

เปิดร้านอาหารตามสั่ง

 

 

ทรัพย์สินและครุภัณฑ์ต่างดังนี้

  1. คอมพิวเตอร์ ยี่ห้อ DMA                                          1 เครื่อง
  2. เครื่องปริ๊นเอกสาร ยี่ห้อฟูจิ X EROX M205B           1 เครื่อง
  3. เครื่องพิมพ์แคนนอล MP145                                   1เครื่อง
  4. โต๊ะทำงาน                                                               1 ชุด

 

1.3 การทำเกษตรทฤษฎีใหม่/ไร่นาสวนผสม/ปลูกพืชหมุนเวียน

ชาวบ้านแข้มีการประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ และมีการทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ ไร่นาสวนผสม และปลูกพืชหมุนเวียน แทบทุกหลังคาเรือน และมีครัวเรือนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 30 ครัวเรือน มีศูนย์เรียนรู้ที่สามารถศึกษาดูงานได้หลายแห่ง เช่น ครัวเรือนนางรุ้งลวัลย์ สมเสนตระกูล ครัวเรือนนางสมถวิล  อินทะแสง  ครัวเรือนนายสมภาร  พันโกฏิ เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กลุ่มผู้ปลูกข้าวโพดสาลี

โครงสร้างการดำเนินงานของกลุ่มผู้ปลูกข้าวโพดสาลี บ้านแข้

        

บ้านแข้นั้นถือได้ว่าเป็นปลูกข้าวโพดสาลีพันธ์ข้าวเหนียวที่มีรสชาติ ดีที่สุดแห่งหนึ่งในเขต อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งสามารถทำรายได้ให้แก่เกษตรกร พี่น้องชาวบ้านแข้ เป็นจำนวนมาก การเพาะปลูกนั้นจะเริ่มจากหลังที่มีการเก็บเกี่ยวข้าวนาปีแล้ว อยู่ราวๆประมาณปลายเดือน พฤศจิกายน ของทุกปี และทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณเดือนมกราคม ไปจนถึงเมษายน  เมื่อเก็บเกี่ยวข้าว เสร็จแล้ว กลุ่มผู้ปลูกข้าวโพดสาลี ก็จะทำการเตรียมพื้นที่สำหรับปลูก ด้วยการ ตัดซังตอข้าว แล้วเผาซังตอ จากนั้นจึงทำการไถพรวนดิน และตากดินให้แห้ง หลังจากนั้นก็จัดทำร่องปลูกหรือแถวสำหรับปลูก การปลูกนั้นนิยมปลูกเป็นหลุม ๆละประมาณ 3-5 เมล็ด  ส่วนการตลาดหรือจำหน่ายนั้น ทางกลุ่มผู้ปลุกข้าวโพดจะทำการจำหน่ายเองโดยการต้มฝักข้าวโพด ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง การจำหน่ายแบบฝักสดมีปริมาณไม่มากนัก

 

การจำหน่ายแบบต้ม ชาวบ้านจะนำข้าวโพดที่ต้มสุกแล้วมาบรรจุถุง ขายในราคาถุงละ 20 บาท จำหน่ายในชุมชนตนเองและชุมใกล้เคียง เช่น ตลาดนัดวันพฤหัสบดี ที่ทางอำเภอจัดให้มีขึ้นเป็นประจำ รายได้จากการจำหน่ายของกลุ่มโดยเฉลี่ยแล้วมีรายได้ประมาณ 400,000 บาท ต่อปี กลุ่มผู้ปลูกข้าวโพดสาลีบ้านแข้ ปัจจุบัน  มีสมาชิก รวมกัน   36 คน 

กลุ่มผู้ปลูกมะเขือเทศบ้านแข้

โครงสร้างการดำเนินงานของกลุ่มผู้ปลูกมะเขือเทศบ้านแข้

มะเขือเทศเป็นพืชเศรษฐกิจ อีกชิดหนึ่งที่ชาวบ้านแข้นิยมปลูกเพื่อสร้างรายได้เสริมหลังการเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ซึ่งมีสัดส่วนในการปลูกใกล้เคียงกันกับการปลูกข้าวโพดสาลี และส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเกษตรกรกลุ่มเดียวกันกับกลุ่มผู้ปลูกข้าวโพดสาลี  เนื่องจากสภาพภูมิอากาศของบ้านแข้นั้นมีลำห้วยธรรมชาติไหลผ่านสองลำห้วยนั้นคือ ลำห้วยอีต่าง และลำห้วย กุลา ที่ไหลผ่านทุ่งแข้ทางด้านทิศเหนือของหมู่บ้านทำให้บริเวณนี้นอกจะเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของพี่น้องชาวบ้านแข้ที่เรียกว่าทุ่งแข้ ยังถือได้ว่าเป็นแหล่งปลูกพืชเศรษฐกิจ อย่าง มะเขือเทศอีกด้วย กลุ่มผู้ปลูกมะเขือเทศใช้พื้นที่ บริเวณข้าง สองลำห้วยทั้งแห่งนี้เป็นพื้นในการปลูกมะเขือเทศ โดยได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธ์มะเขือเทศจากบริษัทเอกชน รวมถึงการรับซื้อผลิตทั้งหมดจากกลุ่มผู้ปลูกด้วย การเพาะปลูกนั้นเริ่มในราวเดือน ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งทางบริษัทเอกชนผู้สนับสนุนจะเป็นผู้กำหนดวันเวลาในการปลูกและวันรับซื้อผลผลิต กลุ่มมะเขือเทศจะเก็บเกี่ยวผลผลิตในราวๆ ต้นเดือน มีนาคม  สมาชิกมีรายได้จากการปลูกในแต่ละปี ประมาณ 280,000 บาท ต่อคนกลุ่มผู้ปลูกมะเขือเทศบ้านแข้ปัจจุบันมีสมาชิกภายในกลุ่ม จำนวน  18 คน

กลุ่มผู้เลี้ยงโค – กระบือ บ้านแข้

โครงสร้างการดำเนินงานของกลุ่มผู้เลี้ยงโค- กระบือ บ้านแข้

 

           

ชาวบ้านแข้นั้นนอกจากจะทำการเกษตรด้านการปลูกพืช เช่นข้าว,ข้าวโพด,มันฝรั่ง,มะเขือเทศ,และอื่นๆ แล้วยังนิยมเลี้ยงสัตว์เลี้ยงพวกโค และกระบือ อีกด้วยโดยมีการรวมกลุ่มเป็นสมาชิกกันมานาน รุ่นต่อรุ่น ซึ่งเริ่มจากการที่ได้รับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ และจากการระดมทุนภายในกลุ่มเพื่อที่จัดหาโค กระบือมาให้สมาชิกได้นำไปเลี้ยง ในแรกเริ่มนั้นสมาชิกผู้ที่มีความประสงค์จะเลี้ยงโคกระบือนั้นจะต้องมีสถานะเป็นสมาชิกก่อนด้วยการสมัครเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มและเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อการดูแลโคกระบือ โดยมีเงื่อนไขในการเลี้ยงคือ เลี้ยงแบบแบ่งผลตอบแทนกัน กล่าวคือ เมื่อสมาชิกนำโค กระบือไปเลี้ยงแล้วตกลูกออกมาจากนั้นสมาชิกเลี้ยงแม่โคและลูกต่อไปจนลูกโคหย่านมสมาชิกจึงส่งแม่โคให้แก่สมาชิกคนอื่นๆที่แจ้งความประสงค์ที่จะเลี้ยงสมาชิกจะได้ลูกโคที่หย่านมตัวนั้นเป็นกรรมสิทธิ์และเป็นวงจรแบบนี้ตลอดมา จนมาถึง ปัจจุบันการเลี้ยงในรูปแบบเดิมนั้นได้มีการยกเลิกแล้วเนื่องจากเกิดปัญหาในการบริหารจัดการอีกทั้งสมาชิกไม่มีความจำนงในการเลี้ยงเพราะเหตุจากแม่โคกระบือที่เลี้ยงติดต่อกันมาหลายรุ่นนั้น มีอายุมากขึ้นและสมาชิกบางรายที่นำไปเลี้ยงขาดการดูแลเอาใจใส่ ทำให้แม่โคไม่มีความสมบูรณ์ รวมถึงแรงจูงใจที่จะเป็นเจ้าของโคกระบือที่จะได้จากรุ่นลูกของแม่โค ต้องใช้เวลานาน ทำให้สมาชิกเห็นว่าไม่คุ้มในการเลี้ยง ทางกลุ่มจึงได้ นำโคกระบือนั้นจำหน่ายออกไปแล้วนำเงินจากการจำหน่ายมาฝากในบัญชีธนาคาร สหกรณ์การเกษตร คำชะอี ชื่อบัญชี “กลุ่มโคกระบือบ้านแข้ 5,6 จำนวน   534,217  บาท

12

ปัจจุบันกลุ่มผู้เลี้ยงโคกระบือปัจจุบันได้มีเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารชุดใหม่และมีการปรับเปลี่ยนระเบียบกติกาใหม่เมื่อ เดือน พฤษภาคม 2557 ที่ให้ผลตอบแทนสร้างแรงจูงใจแก่สมาชิกที่มีความประสงค์จะนำโคกระบือไปเลี้ยง ด้วยการให้โอกาสผู้เลี้ยงมีสิทธิในการเป็นเจ้าของโคกระบือได้ง่ายขึ้น คือเปิดโอกาสให้ผู้เลี้ยงเป็นผู้ไปสรรหาโคกระบือด้วยตนเอง ทางกลุ่มจะเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมทั้งราคาและคุณลักษณะของโคว่ามีความเหมาะสมแค่ไหน เลี้ยงไปแล้วมีโอกาสที่จะสร้างผลตอบแทนในอนาคตให้แก่สมาชิกผู้เลี้ยงหรือไม่ และจัดทำเป็นสัญญาในการกู้เงินกับกลุ่มไว้ โดยให้นำโคตัวนั้นที่ได้รับอนุมัติจากทางกลุ่ม เป็นหลักประกัน การพิจารณาอนุมัติงบประมาณไม่เกิน มูลค่าโค ตัวละ 30,000 บาท

ภาพถ่ายของสมาชิกที่ได้ทำสัญญาในการเลี้ยงโค กระบือ ของกลุ่มผู้เลี้ยงโคกระบือ บ้านแข้

นายจรัส ตรงดี

นายประวัติ รูปคม

นายมารวย ชฎารส

นางข่อง วงค์ตาหล้า

            

มีระยะเวลาในการคืนเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่กลุ่มไม่เกิน  4 ปี พร้อมกันนี้สมาชิกต้องชำระเงินต้นคืนกลุ่มปีละ 25 %  ของยอดเงินกู้ และจ่ายค่าดอกเบี้ยให้แก่กลุ่ม ในอัตราร้อยละ  5% ต่อปี ข้อมูลปัจจุบันกลุ่มผู้เลี้ยงโคกระบือบ้านแข้มีสมาชิกทั้งหมด  120 คน

บัญชีกลุ่มโค-กระบือ บ้านแข้ 5,6

กลุ่มผู้ปลูกมันฝรั่ง บ้านแข้

โครงสร้างการดำเนินงานของกลุ่มผู้ปลูกมันฝรั่ง บ้านแข้

 

 

มันฝรั่งเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านแข้นั้นได้นำมาปลูกเพื่อเสริมรายได้ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวข้าวนาปี โดยได้รับการสนับสนุนด้าน พันธ์มันฝรั่ง และเทคนิควิธีการปลูกและการดูแลจากบริษัทเอกชน ทางภาคเหนือมาให้คำแนะนำชาวบ้านแข้ได้รวมกลุ่มเป็นสมาชิกในปี 2557เป็นครั้งแรกมีนายแสงกล้า แก้วศรีบุตร เป็นหัวหน้ากลุ่ม

และมี มีสมาชิก ทั้งหมด 20 คนมีเนื้อที่ปลูกรวมกันประมาณ 20 ไร่ ช่วงเวลาในการปลูกนั้นเป็นหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ประมาณเดือน ธันวาคม และเก็บเกี่ยวประมาณเดือน เมษายน  ส่วนใหญ่กลุ่มผู้ปลูกมันฝรั่งนั้นก็จะเป็นกลุ่มเดียวกันกับกลุ่มผู้ปลูกมะเขือเทศ ผลผลิตมันฝรั่งที่ออกมาจากการปลูกนั้นถือได้ว่ามีคุณภาพดี ได้น้ำหนักตามเกณฑ์ที่บริษัทรับซื้อกำหนด ด้านการจำหน่ายนั้น บริษัทเอกชนจะมาทำการรับซื้อจากกลุ่มถึงแปลงปลูก รายได้ที่สมาชิกได้รับจากการปลูกมันฝรั่ง เฉลี่ยรายละ 25,000 บาท

 

 

กลุ่มทอเสื่อกก บ้านแข้

โครงสร้างการดำเนินงานกลุ่มทอเสื่อกก บ้านแข้

กก นั้นถือเป็นพืชที่มนุษย์รู้จักนำมาผลิตหรือนำมาถักทอเป็นเสื่อไว้ใช้สำหรับปูพื้นรองนั่ง ในบ้านเรือน มาตั้งแต่โบราณ บ้านแข้นั้น ได้นำต้นกก มาปลูกเอาไว้ เรือกตามสวน ไร่นา กก เป็นพืชที่ปลูกง่าย โดยทั่วไป ส่วนที่นำมาใช้ในการทอนั้น เป็นของลำต้น โดยการลอกเปลือกนอกออกมา แล้วนำไปตากแดดทำให้แห้ง เส้นกกที่แห้งแล้ว สามารถเก็บเป็นวัตถุดิบไว้ใช้สำหรับทอได้นานหลายเดือน  กลุ่มทอเสื่อกก บ้านแข้ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นกลุ่มแม่บ้าน การทอเสื่อกกนั้นจะต้องรวมกันเป็นกลุ่มๆละ 3- 5 คนเพราะว่าการทอเสื่อกกมีขั้นตอนในการผลิตหลายขั้นตอน จึงต้องทำงานเป็นกลุ่มและแบ่งหน้าที่การทำงาน ส่วนวิธีการผลิตนั้น กว่าจะออกมาเป็นเสื่อสำเร็จรูปนั้นก็เริ่มตั้งแต่การไปคัดเลือกต้นกก ที่ปลูกไว้หรือตามธรรมชาติต้องลำต้นสมบูรณ์ไม่มีรอยหักงอ ตรงตลอดลำต้น ตามขนาด                                                         
 ที่จะผลิต เสร็จแล้วนำต้นกกมาทำการปลอกเปลือกออกหลังจากนั้น นำมามัดรวมกันประมาณกำมือ แล้วนำไปตากแดด หลังจากนั้นก็สามารถเก็บไว้ใช้ในยามจะทอหรือนำไปทอได้เลยแต่ถ้าหากต้องการสีสันลวดลายก็สามารถนำไปย้อมสีเพื่อให้ได้สีสันลวด ลายตามต้องการ  แล้วก็นำมาเข้ากระบวนการทอเสือกก ต่อไป                 

 

ปัจจุบันกลุ่มทอเสื่อกกบ้านแข้มีสมาชิกรวมทั้งหมด  45 คน  มีผลผลิตจากการทอเสื่อกก ประมาณ  300 ผืน ต่อ ปี ส่วนใหญ่แล้วสมาชิกจะทอเสื่อกกไว้สำหรับใช้สอยในครัวเรือน และนิยมนำไปทำเป็นของ ฝาก เวลาญาติพี่น้องมาเยี่ยมเยือน การจำหน่ายนั้นเป็นส่วนน้อยส่วนใหญ่จำหน่ายหรือขายในชุมชน จำหน่ายในราคาผืนละ  300-500 บาทแล้วแต่ขนาดและลวดลาย  รายได้ของกลุ่มทอเสื่อกกบ้านแข้ประมาณ  30,000 ต่อปี

 

ร้านค้าชุมชนบ้านแข้

โครงสร้างการดำเนินงานของร้านค้าชุมชน บ้านแข้

ร้านค้าชุมชนถือได้ว่าเป็นหัวใจหลักของพี่น้องชาวบ้านแข้ เกิดจากการรวมตัวกันของสมาชิกในชุมชนมีขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการให้บริการของชุมชนโดยชุมชน เพื่อให้มีร้านค้าของอุปโภคบริโภคสำหรับบริการสมาชิกหรือบุคคลทั่วไปโดยมีราคาที่เป็นธรรม  การบริหารงานใช้ระบบการลงทุนเป็นหุ้นๆละ 100 บาทแต่ลงทุนได้ ไม่เกิน 40 หุ้น ต่อคน สินค้าที่นำมาจำหน่ายหรือให้บริการสมาชิกนั้น ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทอุปโภคบริโภค ในครัวเรือน เช่น  สบู่ ,ยาสระผม,ยาสีฟัน,น้ำปลา,ผลซักผ้า เป็นต้น ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด  237 คน  มีทุนเรือนหุ้น   256,100 (สองแสนห้าหมื่นหกพันหนึ่งร้อยบาท) การดำเนินงานของร้านค้าชุมชนบ้านแข้ ดำเนินงานผ่านคณะกรรมการร้านค้าชุมชน ซึ่งมาจากที่ประชุมใหญ่ประจำปีโดยการเลือกของสมาชิกร้านค้าชุมชนและมีวาระในการดำเนินงานคราวละ 6 เดือน

 

กลุ่มจักสานไม้ไผ่ บ้านแข้

ไม้ไผ่เป็นไม้สามารถพบเห็นได้ทั่วไป มนุษย์รู้จักนำเอาไม้ไผ่มาทำเป็นเครื่องใช้สอย และทำเป็นเครื่องมือในการหากิน ถือได้ว่าไม่ไผ่นั้นมีประโยชน์มากมายบ้านแข้เป็นชุมชนหนึ่งที่มีไม้ไผ่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและจากการปลูกของคนในชุมชน อยู่เป็นจำนวนมากได้เกิดการรวมกลุ่มจักสานขึ้นได้ผลิตสินค้าออกมาใช้สอยในครัวเรือนและจำหน่ายในชุมชนหลายอย่างหลายแบบเช่น  กระติบข้าว, สุ่มไก่,ตลอดจนเครื่องจับปลา ข้อง,และอื่นๆ กลุ่มผู้จักสานไม้ไผ่บ้านแข้ปัจจุบันมีสมาชิกด้วยกัน 11 คน ส่วนใหญ่จะผลิตไว้ใช้ในครัวเรือนส่วนใหญ่ และนำมาจำหน่ายบ้างตามที่ลูกค้าต้องการและมาซื้อเองถึงบ้านรายได้จากการจำหน่ายต่อปีของกลุ่มจักสานไม้ไผ่ประมาณ  15,000  บาท

 

 

  1. หมู่บ้านเป็นต้นแบบในการบริหารจัดการชุมชนได้โดยคนในชุมชน

       โดยคณะกรรมการมีการได้มีการแบ่งหน้าที่ในการทำงานออกเป็นหลายส่วน ทั้งด้านเอกสาร ,ด้านการเงินการบัญชี,และการให้คำแนะนำและเสนอแนะ

-           การจัดให้มีห้องประชุมคณะกรรมการ ตั้งอยู่ในสถานที่เดียวกันกับร้าค้าชุมชน  เพื่อใช้ในการประชุมวางแผน ปรึกษาหารือ ปัญหาด้านต่างๆ รวมถึงการกำหนดแผนงานต่างๆ

-           การจัดทำบัญชีเงินที่ชาวบ้านบริจาค และการใช้จ่ายเงิน อย่างเป็นระบบ เช่นการจัดงานบุญประเพณีบุญกองข้าวหรือบุญเดือนสาม  ชาวบ้านจะนำข้าวเปลือกมาร่วมทำบุญ คณะกรรมการด้านอำนวยการจะทำการจดบันทึกข้อมูลของผู้นำข้าวเปลือกมาร่วมบริจาค ว่านำข้าวเปลือกมากี่กิโลกรัม เมื่อรวบรวมแล้วก็จะรายงานในที่ประชุม หลังจากเสร็จพิธีถวายข้าวเปลือกแล้วก็จะนำข้าวเปลือกจำหน่ายและบางส่วนคณะกรรมการจะเก็บเข้าธนาคารข้าวของหมู่บ้านเอาไว้ใช้เวลามีการจัดงานต่างๆต่อไป

 

 ด้านการวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน

จัดทำและเก็บข้อมูลพื้นฐานด้านต่างๆอย่างเป็นระบบร่วมกับหน่วยงานสำรวจข้อมูล จปฐ. เป็นประจำทุกปี และมีการประชุมวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน ร่วมกับชาวบ้าน เช่นการร่วมประชาคมเกี่ยวกับปัญหาด้านต่างๆ แล้วนำมาวิเคราะห์หาแนวทางในการแก้ปัญหา โดยชุมชนมีส่วนร่วม ผลงานที่กรรมการด้านวางแผน ประสบความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมได้แก่ การแก้ไขสะพานข้ามห้วยอีต่างชำรุด เนื่องจากการใช้งานมานาน ไม้ที่สร้างสะพานผุพังตามการเวลาหากปล่อยไว้จะเกิดความเสียหายและไม่สามารถสัญจรและอาจเกิดอุบัติเหตุได้

หลังจากที่คณะกรรมการด้านวางแผนได้ประชุมร่วมกับชาวบ้านแล้วก็ได้กำหนดแนวทางการซ่อมแซม กำหนดวิธีการซ่อม ประมาณการด้านค่าใช้จ่าย ในการซ่อมสะพานในครั้งนี้คณะกรรมการกลางหมู่บ้าน อพป. ได้พิจารณาอนุมัติการใช้เงินงบประมาณจากบัญชีหมู่บ้าน อพป. จำนวน 5,000 บาท และได้รับการบริจาคจากชาวบ้านแข้ จำนวน  13,000 บาท รวมแล้วใช้งบซ่อมแซมสะพานข้ามห้วยอีต่าง  18,000 บาท โครงการซ่อมแซมสะพาน เริ่มตั้งแต่วันที่  8 พฤษภาคม 2557  ซ่อมเสร็จวันที่ 16 พฤษภาคม 2557 ในครั้งนี้มีชาวบ้านออกมาช่วยเหลือด้านแรงงาน จำนวน 70 คน

                   ภาพถ่ายที่ชาวบ้านแข้ออกมาร่วมแรงร่วมใจสามัคคีในการซ่อมแซมสะพานข้ามห้วยอีต่าง

  1. ประชาชนในหมู่บ้านมีความรู้ -  รัก -  สามัคคี

-มีร้านค้าชุมชน ที่ให้บริการสมาชิกในหมู่บ้าน เช่นสินค้าอุปโภค บริโภค

-ธนาคารข้าว เอาไว้สำหรับเก็บข้าวยามฉุกเฉิน

-การรวมพลังซ่อมสะพานด้วยตนเองของชุมชน

-การฟื้นฟูวัฒนธรรมการเอื้ออาทร  แบ่งปัน การช่วยเหลือกันในชุมชน

-น้ำใจที่เอื้ออารีย์ต่อกันในยามบุญจะมาช่วยแรงกัน

-เหตุอัคคีภัยชาวบ้านได้ช่วยกันเสียสละเงินช่วยบรรเทาทุกข์

 -มีศูนย์ดำรงธรรมประจำหมู่บ้าน

 

 

การเรียนรู้ประชาธิปไตยได้เรียนรู้หลักประชาธิปไตยทั้งจากการได้เรียนรู้โดยกระบวนการประชาธิปไตยเช่นการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน  การจัดทำประชาคมโครงการต่างๆ ในหมู่บ้าน,การออกกฎกติกาขึ้นมาใช้ในหมู่บ้าน การเลือกตั้งในระดับต่างๆ ชาวบ้านแข้นั้นได้เรียนรู้มาโดยตลอด ชาวบ้านบางคนเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยเลือกตั้ง กปน.ชาวบ้านได้เรียนรู้จากกระบวนการเรียนรู้ประชาธิปไตย ผ่านสื่อ สิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ และการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายของผู้นำหมู่บ้านโดยตลอด บ้านแข้นับได้ว่าเป็นหมู่บ้านประชาธิปไตยโดยแท้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำชุมชนคือ ผู้ใหญ่ชาญชัย สมเสนตระกูล  มีตำแหน่งเป็นรองประธาน”ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบลบ้านค้อ “  นอกจากนั้นชาวบ้านยังสามรถและเรียนรู้ได้จากศูนย์หนังสืออัฉริยะ ที่ศูนย์อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน

คณะกรรมการด้านการปกครองได้ยึดหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชาวบ้านทุกกรณีหากมีการประชุมครั้งใดก็จะเปิดโอกาสให้ผู้เช้าร่วมประชุมได้แสดงความคิดเห็น ในแบบของเขาโดยไม่ปิดกั้นหรือกีดกันแต่อย่างใด  เห็นได้ชัดเจนในด้านการปกครองแบบประชาธิปไตยคณะกรรมการจะมีการรณรงค์ให้ชาวบ้านออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ด้วยการใช้สื่อเสียงตามสาย เช่นการพูดของผู้ใหญ่บ้าน , การเปิดแผ่นสปอร์ต รณรงค์เลือกตั้งที่ กกต.นำมาให้เปิด และการติดป้ายประชาสัมพันธ์ ตามจุดสำคัญต่างๆ รวมถึงการจัดกิจกรรมต่างในชุมชน ก็จะมีการปลูกฝังจิตสำนึกให้คนในชุมชนได้รู้จักหน้าที่รับผิดชอบทั้งต่อตนเองและต่อสังคม

 

 

 

 

 

 

 

  1. การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ทางศาสนา และอนุรักษ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมให้กับคนในชุมชน

มีการส่งเสริมด้านการศึกษาและวัฒนธรรมภายในหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมทางศาสนาชาวบ้านแข้ไม่เคยขาด ชาวบ้านให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมทุกอย่างที่คณะกรรมการจัดขึ้น เช่น งานวันวิสาขบูชา ,งานวันเข้าพรรษา,กิจกรรมวันออกพรรษา,งานวันสงกรานต์,งานลอยกระทง,งานปีใหม่ เป็นต้น ดังภาพกิจกรรมต่อไปนี้

 

ประมวลภาพกิจกรรมด้านการศึกษาและวัฒนธรรม

กิจกรรมงานวันวิสาขบูชา  จัดขึ้น ในวันที่ 13 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557

กิจกรรมวันเข้าพรรษา จัดขึ้นในวันที่  11 เดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2557

มีการจัดขบวนแห่เทียนเข้าพรรษา

 

 

กิจกรรมงานวันลอยกระทง วันเพ็ญเดือน 12 จัดขึ้นเมื่อ   วันที่ 6 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คณะกรรมการกลางหมู่บ้าน อพป. และชาวบ้านออกมาร่วมในงานวันลอยกระทงอย่างคึกคักโดยการจัดงานครั้งนี้ได้ใช้ “หนองผือต้อน”เป็นสถานที่จัดงาน

มีการทำพิธีทางศาสนา “พิธีขอขมาเจ้าแม่คงคาโดยการอ่านบทภาษาบาลีในการขอพรและขอขมา ในสิ่งที่ชุมชนนั้นได้กระทำล่วงเกินต่อพระแม่คงคา

 

กิจกรรมงานเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ บ้านแข้ 57

จัดขึ้น 13 -15 เมษายน พ.ศ. 2557 ณ วัดแจ้งบ้านแข้

งานสงกรานต์บ้านแข้ ในปี 2557 ได้จัดขึ้นตามประเพณี การจัดกิจกรรมนั้นใช้เวลาในการจัดงานทั้งหมด สามวัน ในวันแรกนั้น 13 เม.ย. จะเป็นไฮไลท์ ของงานคือ มีกิจกรรมรดน้ำขอพร ผู้สูงอายุด้วยในภาคเช้า ในภาคกลางวันก็มีการละเล่นสนุกสนาน คณะกรรมการได้จัดหาวงดนตรี เวที เครื่องเสียง มาให้ชาวบ้านแข้ได้ร่วมสนุกสนานกันอย่างเต็มที่ และมีการจัด รำวงย้อนยุด หารายได้เข้า มูลนิธิผู้สูงอายุบ้านแข้ ด้วย  ภาคกลางคืน ก็มีวงดนตรีของลูกหลานชาวบ้านแข้ที่ไปเป็นศิลปินอยู่ กทม.มาร่วมแสดงให้ชาวบ้านแข้ได้ชมรวมถึงนักท่องเที่ยวที่เดินทางมากับเพื่อนในวัสงกรานต์

ในงานเย็นทั่วหล้ามหาสงกรานต์บ้านแข้ 57 นี้ภาคบ่ายก็มีการแห่ขบวนนางสงกรานต์ตามถนนเมนหลักของหมู่บ้าน ชาวบ้านแข้ได้สาดน้ำกันชุ่มฉ่ำตลอดเส้นทางที่ ขบวนแห่ผ่าน ในวันที่สองของการจัดงาน ภาคเช้ามีการร่วมสนุกสนานร้องรำทำเพลงอยู่ที่ วัดแจ้งบ้านแข้ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานหลัก เพราะว่าครั้งนี้คณะกรรมการได้ว่าจ้างชุดเวที่เครื่องเสียงให้สนุกสนานถึงสามวัน ส่วนภาคบ่ายก็มีการแห่ขบวนพระพุทธรูป ไปตามถนนเส้นทางหลัก เพื่อให้ชาวบ้านได้นำน้ำอบน้ำหอมมาสรงองค์พระพุทธรูปเพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว ส่วนในวันที่สามนั้นจะเหมือนวันที่สองแต่การจัดขบวนแห่นั้น จะเป็นนิมนต์พระคุณเจ้า นั่งบนรถที่เตรียมเอาไว้แล้วขบวนแห่ก็ไปตามถนนเส้นทางหลัก เพื่อให้ชาวบ้านแข้ได้นำน้ำอบนำหอมที่มีส่วนผสมของขมิ้นมาสรงพระคุณเจ้า

การจัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ

งานวันเด็กแห่งชาติคณะกรรมการด้านการศึกษาร่วมกับมูลนิธิโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 11 บ้านแข้ และชุมชนได้ร่วมกันนำเงินสวัสดิการจากกลุ่มต่างๆ จัดกิจกรรมงานวันเด็กแห่งชาติเพื่อให้เด็กลูกหลานเยาวชนได้เรียนรู้และปลูกจิตสำนึกในการเป็นคนดี และรับผิดชอบต่อสังคม เช่นการเป็นคนรู้กตัญญูเวลาผู้ใหญ่ให้รางวัลก็รู้จักไหว้ขอบคุณ ในการจัดงานมีเด็กๆและผู้ปกครองมาร่วมในงานมากมาย เด็กๆได้ร่วมแสดงบนเวทีอย่างมีความสุข

ประมวลภาพกิจกรรมงานวันเด็กแห่งชาติประปี 2558 ดังนี้

กิจกรรมวันเด็กบ้านแข้ครั้งนี้จัดขึ้นในวันที่  9 เดือนมกราคม พ.ศ. 2558

 

  1. การส่งเสริมสุขภาพอนามัยของคนในชุมชน

ได้มีการดำเนินจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัยของคนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เช่น

การรณรงค์การลดละเลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานศพและงานอื่นๆ โดยได้ออกกฎกติกาออกมาใช้ในชุมชน  เช่นการไม่ดื่มเหล้าในงานศพ,การไม่ดื่มสุราในงานกฐิน เป็นต้น

 

 

ชุมชนบ้านแข้ได้ร่วมกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านค้อ  จัดกิจกรรมงดดื่มสุราในงานศพ และให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมโดย สถานศึกษาคือโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 11 บ้านแข้

 

 

กิจกรรมป้องกันไข้เลือดออกในชุมชน

งานรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกจัดขึ้นที่ บ้านโคก หมู่ที่ 1  ชาวบ้านแข้เป็นชุมชนหนึ่งที่เข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายและไม่เคยมีประวัติผู้ป่วยไข้เลือดออกติดต่อกันหลายปี  เพราะว่าชาวบ้านแข้ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมโดยจะเน้นการป้องกันก่อนเกิดเหตุ เช่น การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย และการติดตามข่าวสารการระบาดจากชุมชนอื่นอย่างใกล้ชิด

กิจกรรมส่งเสริมให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง

โครงการจัดกีฬาฟุตบอลต้านภัยยาเสพติด ชาละวันคัพ มีการจัดต่อเนื่องกันมา กว่า ๑๗ ครั้งมีวัตถุประสงค์ให้ชาวบ้านออกกำลังกาย

 

 

  1. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน

กิจกรรมส่งเสริมการใช้พลังงาน

ชาวบ้านมีการใช้จักรยานเพื่อประหยัดพลังงาน และใช้ฟืน ส่งเสริมให้ชุมชนใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน

 

กิจกรรมการดูแลรักษาปรับปรุงสภาพแวดล้อมของชุมชน

       -  มีการวางแผนในการปรับปรุงและพัฒนาเกี่ยวกับด้านความสะอาดของหมู่บ้านอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในช่วงหน้าฝนที่มีวัชพืชและหญ้าจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วคณะกรรมการหมู่บ้านด้านสิ่งแวดล้อมจะมีการตัดหญ้ารอบหมู่บ้าน 2 เดือนต่อครั้งในช่วงหน้าฝน  

 

ในกิจกรรมการครั้งนี้ชาวบ้านทั้งหมู่บ้านได้ออกมาร่วมงาน 100 คน และร่วมรับประทานอาหารเที่ยงที่วัดแจ้ง บ้านแข้และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากชาวบ้านที่ช่วยกันบริจาคและส่วนหนึ่งได้มาจากเงินพัฒนาหมู่บ้าน

                                กิจกรรมการเพิ่มพื้นที่ป่าของชุมชน

ชาวบ้านมีการปลุกป่า “สวนพยูง”  นายเพลินศรี แสนราษฏร์

 

 

 

 

  1. การพัฒนาในชุมชน มีการจัดตั้งกลุ่ม และกิจกรรมมีความสอดคล้องและเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน

กลุ่มทอเสื่อกกบ้านแข้

                มีการฝึกอบรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย โดยได้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากเสื่อ สมาชิกกลุ่มได้รับการฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้ พัฒนาผลิตภัณฑ์เป็น หมวกกก ทำให้กลุ่มมีรายได้เพิ่มจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์  และการมาศึกษาดูงานกลุ่มทอเสื่อกก บ้านแข้ จาก อบต. โจดม่วง จ.ศรีษะเกษ

 

 

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านแข้

เป็นแหล่งเงินทุนของสมาชิก บริการฝาก ถอน และให้สมาชิกได้กู้เพื่อนำไปใช้ในการลงทุนประกอบอาชีพ โดยมี อ.กฤษณา คล่องดี เป็นประธานกลุ่ม ปัจจุบันมีเงินทุน ประมาณ ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท

 

 

 

 

ร้านค้าชุมชน

เป็นร้านค้าของสมาชิก บริการจำหน่ายสินค้า อุปโภค บริโภค  ในราคาประหยัด และมีการปันผล    คืนให้แก่สมาชิกและนำไปใช้เป็นสวัสดิการให้แก่ส่วนรวม ปัจจุบัน มีทุนหมุนเวียนกว่า ๒,๖๐๐,๐๐๐ บาท

 

 

  1. การสร้างความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

 

ผลงานด้านการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย

ในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย บ้านแข้ หมู่ที่ 5 นั้น ได้มีการจัดชุด ชรบ.หรือชุดรักษาความสงบ ออกปฏิบัติหน้าที่ ให้การดูแลและอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ ตำรวจ,ทหาร  ไม่ว่าจะเป็น งานในชุมชน และงานภายนอกชุมชนอื่นๆที่ร้องขอมา งานที่เห็นภาพการดูแลความสงบเรียบร้อยได้อย่างเยี่ยมยอด คืองานมหากฐินสามัคคี ประจำปี 2557 ที่จัดขึ้น วันที่ 2 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่าน ชุด ชรบ.ของหมู่บ้านได้ออกปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับหน่วยงาน ตำรวจ.ทหาร  ด้วยความเรียบร้อย ไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงใดเลย

ป้ายมาตรการที่ชุมชนได้ร่วมกันทำขึ้นบังคับใช้ในชุมชน

 

บ้านแข้มีการรณรงค์และมาตรการให้งานศพปลอดเหล้า และการพนัน

 

 

ผลงานด้านขับขี่ปลอดภัย งดเหล้าในงานศพ

คณะกรรมการด้านรักษาความสงบ เน้นการมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนด้วยการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันรักษาความสงบเรียบร้อยของหมู่บ้านบ้านแข้นั้น มีชุดรักษาความสงบของหมู่บ้านที่มีความเข้มแข็ง สามารถออกทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ ฝ่ายปกครอง และฝ่ายอื่นๆคอยดูแลช่วยเหลือพี่น้องบ้านแข้  อำนวยความสะดวกด้านจราจร ด้านการจัดอาคารสถานที่

 

 

 

 

9. การพัฒนาเด็กเยาวชนและสตรี และผู้ด้อยโอกาส

กิจกรรมเพื่อพัฒนาสตรี บ้านแข้

กิจกรรมร่วมงานวันสตรี ที่อำเภอคำชะอี

กลุ่มสตรีบ้านแข้ได้เข้าร่วมในงานโดยมีท่านนายกลัยรัก ทองผา มาเป็นประธานในงาน  

 

 

กิจกรรมเพื่อพัฒนาเยาวชน และเด็ก บ้านแข้

กิจกรรมงานวันเด็กแห่งชาติ  ๒๕๕๘  คณะกรรมการหมู่บ้านและผู้ปกครองได้จัดงานขึ้นที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแข้โดยมี นายสนอง มานิตย์  ประธานมูลนิธิโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๑๑ บ้านแข้ มาเป็นประธานจัดงานครั้งนี้

   

 

 

โครงการเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง ของ รพสต. บ้านค้อ นำโดย ผอ.พรทิพย์ ไตรยราช ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๘

   

พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง ของชาวบ้านแข้ หมู่ที่ 5 ที่ ได้น้อมนำมาปฏิบัติในชุมชน

         

view

แผนที่อำเภอ

view