http://kccd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าหลัก

 ภารกิจ สพอ.

 บทบาทหน้าที่

 ประวัติอำเภอ

 แผนที่อำเภอ

 บุคลากร

 เว็บบอร์ด

ติดต่อเรา

ลิงค์หน่วยงาน

งานนโยบายสำคัญ

กิจกรรมเด่น/โครงการริเริ่ม

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน/ ตำบล (VDR/TDR)

คลังภูมิปัญญา OTOP

องค์ความรู้ พช.

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

สถิติ

เปิดเว็บ24/11/2014
อัพเดท20/11/2017
ผู้เข้าชม32,719
เปิดเพจ39,773
iGetWeb.com
AdsOne.com

สานกระติบข้าว

สานกระติบข้าว

บันทึกคลังภูมิปัญญาท้องถิ่น

ผลิตภัณฑ์ประเภท  เครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่ง

จังหวัดมุกดาหาร

ภูมิปัญญาท้องถิ่น                                                         กรมการพัฒนาชุมชน   กระทรวงมหาดไทย

๑.ผลิตภัณฑ์

  1. 1.     ภูมิปัญญาท้องถิ่น                                                            กระติ๊บข้าว(โนนป่าก่อ)1.1ประวัติความเป็นมา

 บ้านด่านช้าง หมู่ ๑๐ ตำบลบ้านค้อ  อำเภอคำชะอี  จังหวัดมุกดาหาร  เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่เขตป่าสงวน  ซึ่งมีราษฎรอพยพมาจากหลายจังหวัดในประเทศไทย  มาบุกเบิกเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นที่ดินทำกิน  ตลอดจนเป็นที่จัดสรรบ้านและที่ดินทำกินให้กับผู้อพยพมาจากชุมชนโนนป่าก่ออีกด้วย  ปัจจุบันมีจำนวน  ๑๘๖  ครัวเรือน  จำนวนประชากร     ๖๘๑   คน  แยกเป็นชาย      ๓๔๙   คน  หญิง ๓๓๒   คน  และเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในเขตโครงการพระราชดำริ    โดยเฉพาะราษฎรที่อพยพมาจากชุมชนโนนป่าก่อ  ได้รับการจัดสรรที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยในพื้นที่บ้านด่านช้าง จำนวน ๖๔ ครัวเรือน ๆ ละ ๒.๕ไร่พร้อมพันธุ์พืช/พันธุ์สัตว์  และในระหว่างที่รอผลผลิตจากการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ราษฎรที่อพยพต้องอาศัยภูมิปัญญาการจักสานโดยเฉพาะการสานกระติ๊บข้าวเป็นอาชีพสร้างรายได้ให้กับครอบครัว  และได้มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มบริหารจัดการด้านเงินทุน /การผลิต/การตลาดโดยใช้วัตถุดิบซึ่งเป็นทรัพยากรจากธรรมชาติในพื้นทีเป็นหลัก  และได้มีการปลูกทดแทนเพื่อให้คงสภาพเดิม

ครั้งแรก จะเป็นการสานกระติ๊บข้าวเอาไว้ใช้ในครัวเรือนของตนเอง  เพราะว่าชุมชนส่วนใหญ่

ต้องอาศัยกระติ๊บข้าว  สำหรับบรรจุข้าวเหนี่ยวที่นึ่งสุกแล้ว  ถ้าสานได้จำนวนมากก็จะเอาไว้เป็นของฝาก

ของที่ระลึก แก่ญาติพี่น้องที่มาเยี่ยมเยือน  เมื่อมีจำนวนมากขึ้นก็แบ่งขายเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว  มีหลายครัวเรือนที่มีภูมิปัญญาในการสานกระติ๊บข้าว  จึงเกิดการรวมกลุ่มกันขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน รวมทั้งทำเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน และเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนไม่ให้สูญหายด้วย

 

 

 

 

 

 

 

  1. ผลิตภัณฑ์

    

ในการสานกระติ๊บข้าวต้องมีความพากเพียรพยายามและความอดทนเพื่อให้ได้กระติ๊บข้าวที่มีความแน่นมั่นคงดังนั้นจึงอาศัยฝีมือที่มีอยู่และประสบการณ์ วัตถุดิบที่ใช้  ลายที่สาน  อีกทั้งจะต้องรักษามาตรฐานของผลิตภัณฑ์ให้คงอยู่ตลอดไป เพราะเป็นงานอาชีพที่สร้างรายได้หลักให้กับครอบครัวและชุมชนต่อไปในอนาคตอีกด้วย

1.2เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์

 

     1. วัตถุดิบที่ใช้เป็นไม้ไผ่ไร่ที่มีคุณสมบัติเนื้อจะเหนียวกว่าไม้ไผ่ชนิดอื่น

     2. เป็นงานหัตถกรรมด้วยมือตั้งแต่การเริ่มจักตอก เรียดตอก  การสานด้วยลายสองซึ่งเป็นลาท่ามีความละเอียดและแน่น ซึ่งถือว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยแท้จริง

 

 

 

 


 

 

 

 

                                           

 

 

 

 

1.3 มาตรฐานที่ได้รับ

 

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมช(มผช.) ปี ๒๕๕๕

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มาตรฐาน อุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)

 

 


1.4  ความสัมพันธ์กับชุมชน

 ชุมชนเป็นแหล่งกำเนิดของวัตถุดิบและแรงงาน โดยมีการปลูกไผ่ไร่ทดแทน และมีการคัดเลือกไผ่ไร่เพื่อเข้าสู่กระบวนการจัก สาน มาจากชุมชนพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน     โดยเริ่มจาก  การเตรียมไม้ไผ่ไร่   การเหลาจักตอก/เรียดตอก/การสาน/การสานฝากระติ๊บ/การทำฐานกระติ๊บ/การประกอบให้เป็นกระติ๊บข้าว ตลอดจนการอบรมควัน  มีการรวมกลุ่มบริหารจัดการด้านเงินทุน  ด้านการผลิต   ด้านการตลาด  ตลอดจนการตรวจคุณภาพของผลิตภัณฑ์

 

 

 

 

 

 

2   กระบวนการผลิต

2.1  วัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ใช้

๑.     ไม้ไผ่ไร่

๒.    หวาย

๓.    เครื่องจักตอก

๔.    ฐานกระติบข้าว

2.2   ขั้นตอนการผลิต

   ขั้นตอนที่ ๑ การเตรียมไม้ไผ่

             ๑. ตัดไม้ไผ่ไร่(เพราะมีคุณสมบัติเนื้อจะเหนียวกว่าไม่ไผ่ชนิดอื่นๆ) เป็นท่อน ๆละ ขนาดความยาว  ๔๐ ซ.ม.

          ๒. ตัดข้อไม้ไผ่ให้เรียบ

          ๓. ขูดเปลือกสีเขียวของไม้ไผ่ออกให้หมด

          ๔. ผ่าไม้ไผ่แบ่งครึ่ง  ต่อจากนั้นผ่าเป็น ๔ ซีก  ผ่าออกเป็น  ๘ ซีก  และผ่า ๑๖ ซีก  ตามลำดับ  ซึ่งไม้ ๑ ท่อนจะแบ่งออกได้  ๑๖ ซีก

          ๕. เหลาเส้นตอก  โดยกำหนดขนาดตามที่ต้องการ

          ๖. นำเส้นตอกมารีดโดยการใช้เครื่องรีดเส้น  เพื่อให้เส้นคมทั้งสองด้าน  ทำให้เวลาสานเส้นจะได้ชิดกันและมีความละเอียดสวยงาม

          ๗. คละเส้นตอกผสมกัน  แล้วมานับตอกครั้งละ ๓ เส้น  นับเป็น ๑  ถ้านับเส้นตอกได้ ๓๐ คู่ จะเท่ากับ ๑ ฝา  ซึ่งกระติบข้าว ๑ กล่อง เท่ากับ ๒ ฝาที่จะนำมาประกบกันเป็นกระติบข้าว  เท่ากับต้องใช้เส้นตอกจำนวน  ๖๐ คู่  เทคนิคในการสานคือถ้าต้องการเส้นละเอียด  จะต้องใช้เส้นตอกไม่น้อยกว่า ๒๘ คู่ขึ้นไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ขั้นตอนที่ ๒ วิธีการสาน

๑. เริ่มการสานโดยก่อนับตอก ๕ เส้น  ใช้เป็นตัวตั้ง ๕ เส้น  ตัวสาน ๕ เส้น  นับจากซ้ายไปขวา

 สานเส้นที่ ๑ ยกตัวตั้ง ๑,๒,๕

สานเส้นที่ ๒ ยกเส้นที่ ๒ ,๓

สานเส้นที่ ๓ ยกเส้นที่ ๓,๔

สานเส้นที่ ๔ ยกเส้นที่ ๑,๔,๕

สานเส้นที่ ๕ ยกเส้นที่ ๑,๒,๕

          ๒. เริ่มสานเส้นตอกตามลาย ๒ ในแนวนอน

          ๓. เอาลาย ๒ แนวนอนมาจดกัน  แล้วสานให้ต่อกันเป็นลาย ๒ แนวนอนทั้งหมด

          ๔. สานลาย ๒ แนวตั้ง  โดยสานทีละข้างสานขึ้นมา ๖-๘ ลาย แล้วทำลาย ๒ แนวนอนจนครบเส้นตอก  แล้วจึงเริ่มลาย ๒ แนวนอนอีก ๕ ลายแล้วม้วนตอก  โดยทำเหมือนกันทั้ง ๒ ด้าน เสร็จแล้วจึงตัดเส้นตอกส่วนเกินที่เหลือออกจากลาย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


                                                                                     

 

 

 

 

 

ขั้นตอนที่ ๓  วิธีการตัด

 

 

 

 

 

 


๑.     วางมีดตามขอบแล้วม้วนเส้นตอก  หลังจากนั้นจึงจับเส้นตอกที่ต้องการตัดดึงกลับด้านหลัง

๒.    พับครึ่งให้เป็น ๒ ชั้น  โดยดึงปากขอบให้เข้าไปข้างใน  แล้วพรมน้ำ เพื่อป้องกันไม่ ให้ไม้ไผ่แห้ง  เพราะจะทำให้ไม้ไผ่หักได้  และพับให้ปากขอบเสมอกัน

๓.    พับเป็นลิ้นใส่ฝา ( พับลาย ๒ แนวนอน  ให้ตรงกันเป็นวงรอบ  แล้วนำมาทุบเพื่อให้เป็นลวดลายเสมอกัน)

 

ขั้นตอนที่ ๔  การสานฝา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


๑.     นำไม้ไผ่บ้านมาสานเป็นลาย ๓  หรือที่คนท้องถิ่นเรียกกันว่าลายตาแหลว  หรือเริ่มจากการก่อลายขัดก็ได้

๒.    สานเสร็จแล้ว  นำมาวัดเส้นผ่าศูนย์กลางของฝา  แล้วพับครึ่งใช้เข็มแทงตรงจุดศูนย์กลาง  ทำวงเวียนรัศมีเป็นวงกลม

๓.    ตัดตามรอยขีดให้เป็นวงกลม

๔.    ดึงลิ้นชั้นนอกขึ้นแล้วใส่ฝา  โดยพลิกด้านทางลาย ๓ ออกด้านนอก  แล้วจึงพับลิ้นชั้นนอกเข้า  หลังจากนั้นพับลิ้นชั้นในลงไป  แล้วใช้ด้ามพร้าทุบ  ต่อจากนั้นจึงใช้สายยางรัดไว้

๕.    เย็บแบบด้นถอยหลัง  โดยใช้หวายเย็บข้ามที่ละ ๓ เส้นตอก

ขั้นตอนที่ ๕  การทำฐานกระติบข้าว

๑.     โค้งฐานกระติบข้าว  ซึ่งทำจากไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้มะกอก ,ไม้งิ้วผา .ไม้ยอ

๒.    เย็บต่อฐานกับตัวกระติบข้าว

 

ขั้นตอนที่ ๖  การอบรมควันกระติบข้าว

๑.นำกระติบข้าวมาอบรมควันในถังแดง  เพื่อป้องกันมอด ปลวก  และเพื่อเพิ่มสีสันให้กับเส้นไม้ไผ่  โดยใช้เวลารมควันประมาณ ๓๐  นาที  ซึ่งเทคนิคในการอบนั้นต้องเปิดฝากระติบข้าวออก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


การสืบทอดกิจกรรม

ในชุมชนจะมีการถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็กเยาวชน  ซึ่งเริ่มตั้งแต่อายุ  ๘  ปีขึ้นไป  โดยเด็กเยาวชนเหล่านั้นมีประสบการณ์การสานกระติบข้าวจากกิจวัตรประจำวันของผู้ปกครอง  ที่มีอาชีพเสริมจากการสานกระติบข้าว  และเกิดแรงจูงใจจากรายได้ที่ได้รับ

 

 

 

 

 

 


แหล่งที่มาของวัตถุดิบ

          ไม้ไผ่ที่เป็นทรัพยากรที่มีอยู่มากมายในพื้นที่  ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะนำมาจากป่าภูสีฐานซึ่งอยู่ใกล้บ้าน  และมีการปลูกทดแทนอยู่ในพื้นที่ไร่สวนของตนเอง  เพื่อเป็นการป้องกันการสูญหายของทรัพยากร

มาตรฐานราคากระติบข้าวที่นำออกจำหน่าย

  • กระติบข้าวขนาดใหญ่สูง เกรด A  ราคา  ๑๕๐  บาท  เกรด B  ราคา  ๑๒๐  บาท  เกรด  C  ราคา  ๑๐๐ บาท
  • กระติบข้าวขนาดกลางสูง  ราคา  ๘๐  บาท
  • กระติบข้าวขนาดกลางต่ำ  ราคา  ๗๐  บาท

กำลังการผลิต  ๑  วัน  สามารถผลิตได้  ๕  กล่อง/คน/วัน  หรือบางคนที่มีเวลาทำน้อยจะผลิตได้  ๒  กล่อง/คน/วัน  โดยสมาชิกกลุ่มสานกระติบข้าวจะมีรายได้ระหว่าง ๔๐๐ -  ๗๐๐  บาท/สัปดาห์  หรือรายได้เฉลี่ย

วันละ  ๒๐๐  บาท

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3    ผู้ผลิต  ผู้ประกอบการ

3.1    กลุ่มผู้ผลิต  ผู้ประกอบการ

        ที่ทำการกลุ่ม  บ้านเลขที่  ๒๒๒/๘  หมู่ ๑๐  ตำบลบ้านค้อ  อำเภอคำชะอี  จังหวัดมุกดาหาร

         รายชื่อคณะกรรมการกลุ่มจักสานบ้านด่านช้าง ม.๑๐ (ชุมชนโนนป่าก่อ)

          ๑. นางไพบูรณ์  ซองศิริ             ประธาน   โทรศัพท์  ๐๘-๗๒๒๒-๓๔๗๗

๒. นางสำเภา  วันชา               รองประธาน

๓. น.ส.พรทิพย์  สายทอง           เลขา

๔. นางฉวี  อุทรักษ์                 เหรัญญิก

๕. นางสำราญ  จำปาแดง          กรรมการ

๖. นายไมตรี  สินสร้อย             กรรมการ

๗. นายภูมิใจ  คนตรง               กรรมการ

 

 

 

 

 

 


โทรศัพท์ ๐๘-๗๒๒๒-๓๔๗๗

  • เส้นทางคมนาคม

          ๑. เดินทางจากอำเภอกุฉินารายณ์  ไปอำเภอเขาวง  จังหวัดกาฬสินธุ์ ต่อจากอำเภอเขาวง ไปอำเภอดงหลวง  ก่อนจะถึงอำเภอดงหลวง  ก็จะถึง องค์การบริหารส่วนตำบลกกตูม  เลี้ยวขวาเข้า องค์การบริหารส่วนตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง  เดินทางไปตามถนนทางหลวงชนบท  ประมาณ  ๑๕  กิโลเมตร  ก็จะถึงบ้านใต้ร่มพระบารมี  หมู่ ๑๐  ตำบ้านค้อ

๒.    เดินทางจากจังหวัดมุกาหาร  ไปอำเภอดงหลวง  เดินทางจากอำเภอดงหลวงไป อำเภอเขาวง

ก่อนจะถึงอำเภอเขาวง  ก็จะถึง องค์การบริหารส่วนตำบลกกตูม  เลี้ยวขวาเข้า องค์การบริหารส่วนตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง  เดินทางไปตามถนนทางหลวงชนบท  ประมาณ  ๑๕  กิโลเมตร  ก็จะถึงบ้านใต้ร่มพระบารมี  หมู่ ๑๐  ตำบ้านค้อ

 

3.2.แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์

แหล่งตลาด  จะมีช่องทางการตลาดอยู่หลายช่องทางด้วยกันคือ

๑.     มีพ่อค้าคนกลาง จากบ้านนาดี  ต.สงเปลือย  อ.เขาวง  จ.กาฬสินธุ์ เข้ามารับซื้อสินค้า

     สัปดาห์ละ  ๒  ครั้ง

๒.    ส่งจำหน่ายที่ร้านภูฟ้า

๓.    สร้างเครือข่ายการตลาดกับกลุ่มอาชีพบ้านแก้งนาง  อ.ดงหลวง  จ.มุกดาหาร

๔.    จำหน่ายให้กับหน่วยงานราชการ  หรือผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา

 

การตั้งราคารับซื้อผลิตภัณฑ์กระติบข้าวที่ยังประกอบไม่เสร็จจากสมาชิก

คณะกรรมการบริหารกลุ่มจะเรียกประชุมสมาชิก  เพื่อพิจารณาการตั้งราคา  โดยใช้หลักเกณฑ์จากขนาดของกระติบข้าวเช่น ใหญ่  กลาง  เล็ก  และเส้นตอกที่ใช้จักสาน  ซึ่งหมายถึงความละเอียด  สวยงาม  ในการตั้งราคานั้นถ้าใช้เส้นตอกขนาดใหญ่จะมีราคาถูกกว่าการใช้เส้นตอกขนาดเล็ก  ดังนี้

๑.     กระติบข้าวขนาดใหญ่ที่สานด้วยตอกเส้นเล็กราคาวงละ ๕๐ บาท  ตอกเส้นใหญ่ราคา

     วงละ ๔๐ บาท

๒.    กระติบข้าวขนาดกลางที่สานด้วยตอกเส้นเล็กราคาวงละ ๓๕ บาท  ตอกเส้นใหญ่ราคา

     วงละ ๓๐ บาท

๓.    กระติบข้าวขนาดเล็กที่สานด้วยตอกเส้นเล็กราคาวงละ ๓๐ บาท  ตอกเส้นใหญ่ราคาวง

     ละ ๒๕ บาท

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

view

แผนที่อำเภอ

view