http://kccd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าหลัก

 ภารกิจ สพอ.

 บทบาทหน้าที่

 ประวัติอำเภอ

 แผนที่อำเภอ

 บุคลากร

 เว็บบอร์ด

ติดต่อเรา

ลิงค์หน่วยงาน

งานนโยบายสำคัญ

กิจกรรมเด่น/โครงการริเริ่ม

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน/ ตำบล (VDR/TDR)

คลังภูมิปัญญา OTOP

องค์ความรู้ พช.

ปฎิทิน

« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      

สถิติ

เปิดเว็บ24/11/2014
อัพเดท20/11/2017
ผู้เข้าชม32,640
เปิดเพจ39,691
iGetWeb.com
AdsOne.com

การบริหารจัดการทีมงาน

การบริหารจัดการทีมงาน

 

“ ทีม” หมายถึง การมีจุดมุ่งหมายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การร่วมมือกัน และในบางครั้งทีมยังหมายถึง ความเท่าเทียมกันของสมาชิกในทีมด้วย ทีมงานเป็นคนกลุ่มเล็กๆ ซึ่งแต่ละคนมีทักษะความสามารถในการทำงานที่เติมเต็มซึ่งกันและกัน และทุกคนต่างๆก็ยึดมั่นในเป้าหมายเดียวกัน พร้อมทั้งมีส่วนในความรับผิดชอบต่อเป้าหมายนั้นร่วมกัน ทีมมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกด้วยกัน และในขณะเดียวกันก็มีปฎิสัมพันธ์กับผู้นำทีมด้วย สมาชิกของทีมคาดหวังว่าผู้นำทีมจะช่วยจัดหาทรัพยากร แนะนำแนวทางที่เหมาะสมในการทำงาน(Coaching) ในยามจำเป็น และช่วยเชื่อมต่อทีมเข้ากับส่วนงานอื่นๆขององค์กร

          คุณลักษณะของทีมที่สำคัญ 4 ประการ 1) ภารกิจของทีม 2) ขอบเขตการทำงานที่ชัดเจน 3) การมอบหมายอำนาจในการบริหารจัดการกระบวนการทำงานของทีมอย่างชัดเจน และ 4) การมีสมาชิกอยู่ภายในช่วงเวลาหนึ่งๆ ที่เหมาะสม

          “กลุ่ม” การที่คนกลุ่มหนึ่งมาทำงานอยู่ด้วยกันในสถานที่แห่งเดียวกัน เป็นการทำงานร่วมกัน ซึ่งเป็นวิธีการทำงานที่ผู้จัดการ หรือหัวหน้าเป็นผู้กำกับควบคุมการทำงานของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม และสมาชิกในกลุ่มสามารถทำงานของตนเองให้เสร็จสมบูรณ์ได้โดยไม่ต้องประสานกับสมาชิกคนอื่นๆ สมาชิกแต่ละคนจะทำงานตามคำสั่งของผู้จัดการ และสมาชิกแต่ละคนจะทำงานร่วมกับผู้จัดการเท่านั้น หัวหน้ากลุ่มเป็นผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ ของกลุ่มทุกเรื่องและเป็นผู้ประกอบงานแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน

          รูปแบบการทำงานเป็นทีม ที่นิยมใช้กันสูงมากมี 2 รูปแบบ คือ

 1. ทีมงานที่บริหารจัดการตนเอง ซึ่งเป็นคนกลุ่มเล็ก ๆ ที่ได้รับมอบหมายให้มีอำนาจในการปฏิบัติงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งซึ่งดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ทีมสามารถกำหนดเป้าหมายของตนเอง และทีมจะได้รับผลตอบแทนที่ดีหากทำงานบรรลุเป้าหมาย ทีมมีสิทธิในการคัดเลือกสมาชิก ปลดสมาชิกที่อาจเป็นภัยต่อทีมหรือขัดขวางไม่ให้ทีมมีผลการดำเนินงานที่ดีออกมาได้ ทีมสามารถคัดเลือกผู้นำของตน สมาชิกมีการหมุนเวียนกันทำงาน ปรับปรุงกระบวนการทำงาน กำหนดตารางการทำงาน กำหนดวันหยุด และเมื่อไรทีมควรดำเนินการบำรุงรักษาเครื่องจักร

2. ทีมงานโครงการ(Project Teams) เป็นทีมงานโครงการที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อการทำงาน ซึ่งไม่ใช่งานที่บริษัททำอยู่เป็นประจำ เป็นการทำงานในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และเมื่อทำงานสำเร็จทีมงานก็จะสลายตัวแยกจากกัน มีทั้งผู้นำทีมและผู้จัดการโครงการซึ่งทำงานแบบเต็มเวลาเป็นผู้ดูแลโครงการ

ข้อสรุปที่ได้

1. บริษัทไม่จำเป็นต้องนำวิธีการทำงานเป็นทีมมาใช้สำหรับกรณีที่ภารกิจที่ทำไม่มีความซับซ้อนมากนัก และเป็นงานที่บริษัททำอยู่เป็นประจำ รวมทั้งไม่จำเป็นต้องประสานการทำงานกันมากนัก และภารกิจนั้นก็ไม่ต้องอาศัยทักษะหรือประสบการณ์ที่หลากหลาย

2. การทำงานเป็นทีมอาจจะเป็นวิธีการทำงานที่ดีที่สุดในกรณีที่บริษัทไม่สามารถสรรหาบุคคลซึ่งมีส่วนผสมที่ลงตัวของความรู้ ความชำนาญ และแนวคิดมุมมองเกี่ยวกับงานที่จะทำ และบริษัทควรจะนำวิธีการทำงานเป็นทีมมาใช้ในกรณีที่เป้าหมายของภารกิจนั้นเป็นเป้าหมายซึ่งมีความท้าทายที่แตกต่างจากภารกิจอื่น

3. ผู้บริหารควรคำนึงถึงความเหมาะสมในการนำวิธีการทำงานเป็นทีมใน 3 ด้านมาใช้ คือ 1) ด้านความซับซ้อนของงาน 2) ความเกี่ยวโยงกันของเนื้องาน และ 3) วัตถุประสงค์ของภารกิจที่ทำ

บทที่ 2 ความสามารถที่สำคัญของทีม ในการทำงานให้มีประสิทธิผล

1. การมีเป้าหมายที่ชัดเจนร่วมกันและการวัดผลการดำเนินงาน  วิธีการทดสอบว่าสมาชิกทุกคนในทีมมีเป้าหมายร่วมกัน “ คำตอบในลิฟต์ ” ทำการทดสอบโดยแยกสมาชิกของทีมออกมาทีละคนและใช้คำถามว่า หากคุณกำลังขึ้นลิฟต์จากชั้นหนึ่งไปชั้นสอง พร้อมกับประธานบริษัท และท่านประธานถามคุณว่า ตอนนี้ทีมของคุณกำลังทำงานอะไรอยู่ คุณจะตอบว่าอย่างไรซึ่งสมาชิกทุกคนในทีมควรจะสามารถอธิบายจุดประสงค์ได้อย่างรวบรัดและชัดเจน

2. สมาชิกมีความมุ่งมั่นในเป้าหมายนั้นด้วยความมุ่งมั่น ความเข้าใจ หมายถึงการที่สมาชิกรู้ว่าเขาควรจะเดินไปในทิศทางใด แต่ความมุ่งมั่นเป็นสิ่งที่เกิดจากภายในตัวของสมาชิกซึ่งเป็นสิ่งจูงใจให้สมาชิกทีมปฏิบัติภารกิจนั้นๆ และไม่ล้มเลิกความตั้งใจที่จะทำงานนั้นให้สำเร็จ หมั่นเติมใจให้กับกันและกัน แม้ว่าจะประสบกับความยากลำบากในช่วงเวลาระหว่างการดำเนินงานก็ตาม ความมุ่งมั่นและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแสดงให้เห็นด้วยคำพูด เช่นใช้คำว่า “ เรา” และ “ของเรา” แทนคำว่า “ ฉัน คุณ และพวกเขา”

3. สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน และต่างก็ได้รับผลตอบแทนจากการทำงานในทีม นั่นคือ ผลงานของทีมเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับความร่วมแรงร่วมใจของทุกคนในทีม ที่จะทำให้ทีมก้าวสู่จุดหมายได้ สมาชิกของทีมจะมีคุณค่าต่อทีมได้ก็ต่อเมื่อพวกเขาลงมือทำอย่างแท้จริง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ การเข้าร่วมทีมแข่งเรือ ทุกคนต้องช่วยกันพายด้วยความแรงในจังหวะที่พร้อมเพรียงกัน  ทีมแข่งเรือไม่มีที่ว่างสำหรับคนที่อู้งานหรือคนที่ไม่พายเรือตามจังหวะเดียวกัน ผู้นำทีมมี 2 บทบาทคือ บางครั้งเขาก็สวมหมวกผู้นำ และบางครั้งเขาก็สวมหมวกของสมาชิกทีม(ต้องลงมือทำร่วมกับทีมด้วย)

4. สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงาน

          4.1 การสนับสนุนจากผู้นำ เพื่อสร้างความมั่นใจและเป็นเกราะป้องกันทีมในการทำงาน

            4.2 โครงสร้างองค์กรที่ไม่ใช่รูปแบบลำดับขั้นแบบตายตัว แต่เป็นโครงสร้างที่ก่อให้เกิดนิสัยในการทำงานที่นำไปสู่การทำงานเป็นทีม พร้อมที่จะแบ่งปันข้อมูล การร่วมมือกันเพื่อก้าวข้ามอุปสรรคอันเนื่องมาจากเหตุผลเชิงองค์กร รวมทั้งการกระจายอำนาจให้แก่พนักงาน

            4.3 ระบบการให้รางวัลที่มีความเหมาะสม ด้วยการให้รางวัลแก่พนักงาน โดยใช้ตาชั่งที่แตกต่างกันสำหรับการวัดผลงานของบุคคล และผลงานของทีม สิ่งที่ไม่ถูกต้องที่ควรคำนึง คือ “ การยกย่องและให้ความดีความชอบแก่ทีม ทั้งๆที่เป็นผลงาน จากการทำงานของบุคคล หรือการทำงานแบบสั่งการไปยังสมาชิกแต่ละคน ในขณะที่งานนั้นเป็นความรับผิดชอบร่วมของทีม”

            4.4 ประสบการณ์ในการทำงานเป็นทีม ประสบการณ์จะทำให้เขาทราบดีว่า สิ่งใดที่ก่อให้เกิดผลดีสำหรับทีมและสิ่งใดที่จะไม่เป็นผลดี และทราบดีว่าจะจัดรูปแบบเหตุผลที่ทำให้พนักงานต้องทำงานเป็นทีม

5. ความสอดคล้อง หมายถึง การวางแผน ความทุ่มเทในการทำงาน และการให้รางวัลที่สอดคล้องกับเป้าหมายสูงสุดขององค์กร

บทที่ 3 การจัดตั้งทีม

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับทีม ได้แก่ ผู้สนับสนุนทีม ผู้นำทีม สมาชิก

ผู้สนับสนุนทีม  ควรเป็นผู้จัดการหรือผู้บริหารที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผลงานของทีมอย่างแท้จริง และควรเป็นเป็นผู้ที่รับผิดชอบต่อผลการดำเนินงานของทีมด้วย นอกจากนี้ผู้สนับสนุนทีมยังควรเป็นผู้ที่มีอำนาจในการกำหนดขอบเขตของงาน การจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับทีม และการพิจารณาอนุมัติผลงานของทีม

ผู้นำทีม มีหน้าที่ความรับผิดชอบซึ่งคล้ายกับผู้จัดการทั่วๆไปอยู่หลายประการ แต่นอกเหนือจากหน้าที่เหล่านั้น ผู้นำทีมยังต้องสวมบทบาทของการเป็นผู้ริเริ่ม เป็นต้นแบบและเป็นผู้ให้คำแนะนำด้วย

หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกสมาชิกทีม คือ การพิจารณาจากทักษะความสามารถที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติภารกิจของทีมสำเร็จลุล่วงไปได้ ในลำดับแรกผู้สรรหาสมาชิกต้องวิเคราะห์เป้าหมาย กำหนดว่าทีมต้องการทักษะอะไรบ้างสำหรับการบรรลุเป้าหมายของทีม ไม่ว่าจะเป็นทักษะทางด้านเทคนิค ด้านการแก้ไขปัญหา ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้านองค์กร จากนั้นจึงกำหนดทักษะที่ต้องการและรับสมัครคนที่มีทักษะเหล่านั้น

แผนแม่บทของทีม เป็นเอกสารที่กล่าวถึงลักษณะของงานและสิ่งที่ฝ่ายบริหารควดหวังจากการทำงานของทีม โดยแผนแม่บทของทีม เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงทิศทางในการทำงานซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร นอกจากนี้การจัดทำแผนแม่บท ยังทำให้ผู้บริหารระดับสุงบอกได้ชัดเจนถึงสิ่งที่ทีมควรจะทำ

บทที่ 4 การเริ่มต้นที่ถูกต้อง : ก้าวแรกที่สำคัญ

1. ทีมควรเปิดตัวทีมด้วยการจัดประชุม โดยเชิญผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้าร่วมซึ่งรวมถึงผู้สนับสนุนทีมด้วย และในระหว่างการประชุมก็ให้กล่าวถึงแผนแม่บทของทีม พร้อมทั้งย้ำถึงความสำคัญในเป้าหมายของทีม และแสดงให้เห็นว่าเป้าหมายนั้นสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรอย่างไร

2. ทุกคนในทีมควรมีข้อตกลงกันว่า จะนำวิธีการตัดสินใจแบบใดมาใช้ในทีม โดยการเตรียมการเช่นนี้จะช่วยประหยัดเวลาในการทำงานลงได้ และหากทุกคนในทีมเห็นว่ากระบวนการในการตัดสินใจมีความเหมาะสม พวกเขาก็จะให้ความยอมรับในการตัดสินใจของทีมได้มากขึ้น

3. ในช่วงทีมทำการวางแผนและกำหนดตารางการทำงานนั้น สิ่งสำคัญประการแรกที่ทีมต้องทำก็คือ ทีมต้องมีเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงและชัดเจน จากนั้นจึงแตกเป้าหมายนั้นย่อยลงเป็นงานหลักและงานย่อยในปริมาณงานที่เหมาะสม  พร้อมทั้งประมาณเวลาในการปฏิบัติแต่ละงาน และมอบหมายงานให้สมาชิกแต่ละคน โดยพิจารณามอบหมายงานแต่ละชิ้นให้แก่คนที่สามารถทำงานนั้นได้ดีที่สุด

4. สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการจัดตารางการทำงานก็คือ จุดที่คาดว่าจะก่อให้เกินปัญหาคอขวด ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานล่าช้าออกไป จากนั้นจึงคิดหาวิธีการรับมือ หรือกำจัดจุดที่เป็นคอขวดเหล่านั้นไปเสีย

5. ทีมควรทราบวิธีวัดความสำเร็จในการทำงานของทีม และควรกำหนดตัววัดผลการดำเนินงานสำหรับทีมขึ้นมาโดยเฉพาะ

6. ทีมควรนำงบประมาณมาใช้ในการควบคุมการปฏิบัติงานของทีม คำนึงถึงความพอเพียงของงบประมาณ หากไม่ได้อาจต้องลดเป้าหมายของทีมให้ต่ำลง

7. การประสานความร่วมมือช่วยเปลี่ยนกลุ่มคนให้กลายเป็นทีมที่แท้จริง โดยจัดประชุมขึ้นอย่างสม่ำเสมอ การเชื่อมโยงการสื่อสารระหว่างสมาชิก การจัดสถานที่ทำงานของทีมงาน กิจกรรมสันทนาการ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ช่วยสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของทีม

8. ควรจัดห้องให้ทีมทำงานอยู่ในบริเวณเดียวกัน เพื่อให้สมาชิกมีโอกาสปฎิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ประสานความร่วมมือในการทำงาน และเป็นที่จัดแสดงผลงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

9. กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติตนขึ้น เช่น ประชุมตรงเวลา การทำงานแล้วเสร็จตามกำหนดเวลา การช่วยเหลือเพื่อนร่วมทีม การวิพากษ์อย่างสร้างสรรค์เพื่อให้สมาชิกเกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน

บทที่ 6 ควาท้าทายในการบริหารจัดการทีม: ความสำคัญของผู้นำทีม

ผู้นำทีม

  1. ต้องทำตัวเป็นผู้ริเริ่ม ต้นแบบ นักเจรจา และผู้ให้คำแนะนำ
  2. ทำให้ทุกคนในทีมเป็นส่วนหนึ่งของทีม
  3. การส่งเสริมให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของทีม ด้วยการมองเห็น

ความสำคัญของทักษะความสามารถของสมาชิกแต่ละคน และสิ่งที่พวกเขาทำได้เพื่อทีม

  1. พยายามหลีกเลี่ยงการคิดคล้อยตามกันเป็นกลุ่ม โดย 1) มอบหมายให้กลุ่ม

คนที่ได้รับความเชื่อถือจากสมาชิกได้แสดงความคิดเห็นคัดค้านอย่างรุนแรง 2) แต่งตั้งให้มีผู้ทำหน้าที่แย้งสมมุติฐาน และข้อสรุปของสมาชิกส่วนใหญ่ในทีม

  1. นำวิธีการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของทีม โดยนำคนที่มีความคิดนอกกรอบ

และคนที่มีรูปแบบความคิดในกรอบเดิมเข้ามาทำงานร่วมกัน และผสมผสานความคิดนอกกรอบเข้าด้วยกัน

บทที่ 6 ลงมือปฏิบัติการด้วยทีม

  1. การให้ความสนใจกับกระบวนการทำงานของทีม โดยพิจารณาจากความ

ร่วมมือกันของสมาชิก การแลกเปลี่ยนข้อมูล และพยายามทำให้แผนกซึ่งมีข้อมูลที่สำคัญสำหรับทีมแลกเปลี่ยนข้อมูล

  1. เมื่อสมาชิกคนใดคนหนึ่งสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นภายในทีม ทีมสามารถ

จัดการกับปัญหาได้ 2 วิธี คือ การหารือกันอย่างเปิดเผยภายในทีม และด้วยการหารือกันเป็นการส่วนตัวกับสมาชิกคนนั้น

  1. ทีมควรแบ่งภารกิจออกเป็นงานย่อย เพื่อกระตุ้นและจูงใจให้สมาชิกในการ

ทำงานร่วมกัน

  1. ทีมควรฉลองความสำเร็จ เมื่อทีมทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมายเป็นระยะๆ
  2. ทำให้ทีมเรียนรู้ซึ่งกันและกันมากขึ้น โดย 1) คัดเลือกผู้ที่มีความกระตือรือร้น

ต้องการเรียนรู้เข้ามาเป็นสมาชิกทีม 2) กระตุ้นให้สมาชิกให้ความสนใจกับบทเรียนที่พวกเขาจะได้รับจากการเรียนรุ้ผ่านประสบการณ์ของพวกเขาเอง 3) ให้โอกาสแก่สมาชิกในการทำการทดลองต่างๆ

  1. ผู้นำต้องทำตนให้พร้อมสำหรับให้สมาชิกเข้าพบได้เสมอ และรวมถึงการ

ยอมรับความผิดพลาดของตนเองได้

  1. สิ่งที่ทีมต้องให้ความสำคัญในการประเมินผล นอกเหนือจากผลลัพธ์ของการ

ทำงานคือ “ ปัจจัยด้านกระบวนการ(PROCESS Factors) “ โดยเฉพาะช่วงแรกของการทำงาน

            บทที่ 7 ทีมเสมือนจริง( virtual Team)

          ทีมเสมือนจริง หมายถึง ทีมที่สมาชิกจะติดต่อกันผ่านสื่อ โดยที่ไม่ได้พบหน้ากันโดยตรง เช่น ผ่านสื่ออีเมล์ การฝากข้อความทางเสียง การสนทนาทางโทรศัพย์ ทางอุปกรณ์ศื่อสารภายในกลุ่ม การประชุมทางไกลผ่านวิดีโอ เนื่องจากสมาชิกทีมไม่ได้อยู่ในที่เดียวกัน ทีมเสมือนจริงช่วยให้สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยทำให้ทีมมีทักษะที่หลากหลายและมีมุมมองในการทำงานที่หลากหลายมากขึ้น

            การบริหารทีมงานเสมือนจริงมีความท้าทายอยู่ 2 ประการ คือ 1) การทำให้สมาชิกของทีมซึ่งทำงานในสถานที่ต่างๆ สามารถประสานความร่วมมือระหว่างกัน และทำงานให้คืบหน้าไปได้ 2) การทำให้การติดต่อสื่อสารกับเพื่อนสมาชิกในทีมเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ

            เว็ปไซด์เป็นทั้งสถานที่ตั้งของห้างของทีมเสมือนจริง เป็นห้องสมุดที่รวบรวมเอกสารต่างๆไว้ และเป็นสถานที่แสดงตารางการนัดหมายต่างๆ

            ผู้นำทีมและสมาชิกของทีม ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษในเรื่องความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมของสมาชิกในทีม

            การให้คำแนะนำเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จของสมาชิกทีม

            บทที่ 8 การเป็นผู้ร่วมทีมที่ดี

  1. เปิดรับแนวคิดใหม่ๆ และวิธีการทำงานที่แตกต่างจากตนด้วยเจตคติเชิงบวก
  2. สมาชิกทีมควรแบ่งปันข้อมูล ประสบการณ์ และความรู้เกี่ยวกับวิธีการทำงานให้แก่เพื่อนร่วมทีมคนอื่นๆ
  3. ทางออกของปัญหา ทีมควรผสมผสานคุณลักษณะที่ดีที่สุดของทางเลือก

ต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อสร้างทางเลือกใหม่ที่ดีกว่า

  1. การทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานใหม่ ควรทำงานชิ้นที่ง่ายที่สุดก่อน ซึ่งจะ

ช่วยในเรื่องเวลาและการปรับตัวเข้ากับคนอื่นๆ

            5. การเจรจาต่อรองระหว่างกัน คุณไม่ควรสร้างสถานการณ์ในการต่อรองให้อยู่ในรูปที่ฝ่ายหนึ่งได้รับประโยชน์ และอีกฝ่ายหนึ่งเสียผลประโยชน์ ต้องเป็นไปในลักษณะที่อยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจซึ่งกันและกัน และทั้งสองฝ่ายพร้อมที่จะเปิดเผยข้อมูลและผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน

            6. สมาชิกทีมต้องมองเห็นถึงความสำคัญในเป้าหมายของทีม

            7. ต้องปฏิบัติตนให้เป็นที่ไว้วางใจของผู้อื่น เป็นไปตามที่พูดและสัญญาไว้

            8. การวางแผนการทำงานทีมเป็นสิ่งสำคัญแต่ยังเป็นประเด็นรองจากการลงมือปฏิบัติจริง

 

view

แผนที่อำเภอ

view