http://kccd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าหลัก

 ภารกิจ สพอ.

 บทบาทหน้าที่

 ประวัติอำเภอ

 แผนที่อำเภอ

 บุคลากร

 เว็บบอร์ด

ติดต่อเรา

ลิงค์หน่วยงาน

งานนโยบายสำคัญ

กิจกรรมเด่น/โครงการริเริ่ม

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน/ ตำบล (VDR/TDR)

คลังภูมิปัญญา OTOP

องค์ความรู้ พช.

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

สถิติ

เปิดเว็บ24/11/2014
อัพเดท20/11/2017
ผู้เข้าชม32,716
เปิดเพจ39,770
iGetWeb.com
AdsOne.com

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน บ้านโคก หมู่ที่ 1 (VDR)

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน

(Village Development Report : VDR)

บ้านโคก  หมู่ที่   1   ตำบลบ้านค้อ

อำเภอคำชะอี    จังหวัดมุกดาหาร

 

 

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

                            บ้านโคก หมู่ ๑ ตำบลบ้านค้อ  นำโดยนายชา  ปากดี  นำครอบครัวจากบ้านค้อออกมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณโคก(ป่า) ซึ่งมีบริเวณกว้างใหญ่และมีแต่ความแห้งแล้ง ทำให้เรียกชื่อว่า บ้านโคกไก่เส่า  ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๒๐  ได้ตัดคำว่า” ไก่เส่า” ออก คงเหลือเพียงชื่อ” บ้านโคก” จนถึงปัจจุบัน  ซึ่งบ้านโคกเป็นหมู่บ้านอาสาพัฒนาป้องกันตนเอง (อพป.) และเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา ปี ๒๕๕๔ (ระดับ อยู่ดี กินดี )  มีครัวเรือนที่อยู่จริง ทั้งหมด ๒๓๔ ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด  ๙๕๙ คน  และในการบริหารหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านจำนวน  10  คนดังนี้  ๑. นายชา  ปากดี  ๒. นายดี  คนแคล้ว  ๓. นายป้อง  คนคล่อง ๔. นายเผือก  ขันแข็ง  ๕. นายอ่อน  พลวงค์ ๖. นายสิงห์  คนคล่อง  ๗. นายแผน  ขันแข็ง ๘. นายรังสี  คล่องดี  ๙. นายลาย  คนแคล้ว  และ ๑๐. นายอนนท์  คนคล่อง เป็นผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน

 

 

 

 

 

 

 

สภาพภูมิประเทศ

สภาพพื้นที่บ้านโคก หมู่ 1 ตำบลบ้านค้อ เป็นพื้นที่เขตติดต่อกับราบสูงบนเทือกเขาภูพานอยู่ในเขตป่าสงวนเสื่อมโทรม (เขตป่าภูสีฐาน)  มีพื้นที่ทั้งหมด  7,554 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ทำนา ทำสวน ทำไร่ 2,465 ไร่ พื้นที่ปลูกสวนยางทั้งหมด 1,400 ไร่ ปลูกไม้ยืนต้นทั้งหมด 130 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัยทั้งหมด 60 ไร่  และมีอาณาเขตติดต่อ  ดังนี้

ลักษณะที่ตั้ง

          ทิศเหนือ          จรด     บ้านตูมหวาน ม.3 ต.โพนงาม อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร

          ทิศใต้             จรด     บ้านดงยาง ม.7 ต.บ้านค้อ อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร

          ทิศตะวันออก     จรด     บ้านค้อ ม.3  ต.บ้านค้อ อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร

          ทิศตะวันตก  จรด เทือกเขาภูผาซาน บ.โนนสมบูรณ์ ม.9 ต.บ้านค้อ อ.คำชะอี  จ.มุกดาหาร

          การคมนาคม  เป็นถนนลาดยางและถนนลูกรังระยะทางห่างจากอำเภอมีอยู่ 2  เส้นทาง ดังนี้

  • เส้นทาง ผ่าน ต.บ้านเหล่า , ต.น้ำเที่ยง อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร  ระยะทาง  15  กิโลเมตร
  • เส้นทาง  ผ่าน  ต.หนองเอี่ยน ,ต.บ้านซ่ง ต.น้ำเที่ยง ระยะทาง   16  กิโลเมตร

 

 

 

ส่วนที่ 2 : การประเมินผลการพัฒนาหมู่บ้าน

 

 

การประเมินสถานการณ์พัฒนาหมู่บ้านจากข้อมูล จปฐ.

สถานการณ์พัฒนาหมู่บ้านของบ้านโคก หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านค้อ   อำเภอคำชะอี  จังหวัดมุกดาหาร     จากการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลจปฐ. ประจำปี 2560   เป็นดังนี้

บ้านโคก ม.1  มีตัวชี้วัดที่ ไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 1 ตัวชี้วัด คือ

ข้อที่

ตัวชี้วัด จปฐ.

ที่ตกค้าง

จำนวน

ครัวเรือน

ที่ตกเกณฑ์

ร้อยละ

สาเหตุที่ตกเกณฑ์

16

เด็กอายุ 6-14 ปีได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี

12 คน

12.63

เรียนไม่จบลาออกระหว่างภาคการศึกษา และบางส่วนก็อพยพตามผู้ปกครองไปอยู่ที่อื่น

 

ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไข

  1. ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ ต้องเข้าถึงเยี่ยมเยือนบ้านเด็กนักเรียน จะได้ทราบสาเหตุและร่วมกันแก้ไขกับทางผู้ปกครอง 
  2. สร้างแรงจูงใจให้กับเด็กนักเรียนในการเรียนหนังสือ    

การประเมินสถานการณ์พัฒนาหมู่บ้านจากข้อมูล กชช 2 ค

จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน(กชช 2 ค) ประจำปี 2560 บ้านโคก  หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านค้อ มีผลการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง (ระดับ 2 ) สภาพปัญหาของหมู่บ้าน มีปัญหามาก (ระดับ ๑) จำนวน 8 ตัวชี้วัด มีปัญหาปานกลาง (ระดับ ๒) จำนวน 7 ตัวชี้วัด และมีปัญหาน้อย (ระดับ ๓) จำนวน 11 ตัวชี้วัด  เมื่อพิจารณากลุ่มตัวชี้วัดตามระดับปัญหามาก สามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้

¨    ผลการวิเคราะห์ข้อมูล กชช.2ค ตัวชี้วัดที่มีปัญหามาก (ระดับ ๑) ปี 2560

ข้อที่

ตัวชี้วัด

ระดับคะแนน

สาเหตุที่เป็นปัญหาตามค่าคะแนน

4

น้ำเพื่อการเกษตร

1

การติดต่อสื่อสารไม่ทั่วถึงประชาชนในพื้นที่

8

การมีงานทำ

1

ประชาชนบางส่วนต้องไปประกอบอาชีพ จึงทำให้มีกิจกรรมการมีส่วนร่วมในชุมชนน้อยลง

17

การกีฬา

1

ประชาชนผู้มีรายได้น้อยส่วนใหญ่ไม่เข้าถึงแหล่งทุน เพื่อนำเงินทุนไปประกอบอาชีพเสริม

18

การได้รับการศึกษา

 

1

กลุ่มเป้าหมายออกจากการศึกษากลางคัน เพราะต้องตามผู้ปกครองไปประกอบอาชีพที่อื่น

20

ระดับการศึกษาของประชาชน

1

ส่วนใหญ่เรียนจบการศึกษาภาคบังคับและออกไปทำงานภาคการเกษตรหรือตามโรงงาน

21

การเรียนรู้โดยชุมชน

1

ขาดวิทยากรและศูนย์ถ่ายทอดที่เป็นหลักของชุมชน

23

การมีส่วนร่วมของชุมชน

1

ประชาชนบางส่วนต้องไปประกอบอาชีพ จึงทำให้มีกิจกรรมการมีส่วนร่วมในชุมชนน้อยลง

24

การรวมกลุ่มของชุมชน

1

มีกลุ่มแต่ไม่มีกิจกรรมต่อเนื่อง

 

¨    ผลการวิเคราะห์ศักยภาพชุมชน(SWOT ANALYIS)

จุดแข็ง

จุดอ่อน

1. มีผู้นำหมู่บ้านที่มีความเข้มแข็ง

2. มีทุนชุมชนเพื่อประกอบอาชีพเสริม

3. เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบปี 54

4. มีประเพณีและวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง

5.คนในชุมชนส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์เป็นเครือญาติกัน

6.มีสภาพแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เช่น ภูเขา ป่าไม้

1. ขาดแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

2.ขาดแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคในช่วงหน้าแล้ง

3. ประชาชนส่วนใหญ่ยังติดของฟรี

4.การจัดระเบียบสภาพแวดล้อม การดูแลความสะอาด ของบริเวณหมู่บ้าน ยังไม่ดีเท่าที่ควร

5. การแบ่งขั้วการเมืองท้องถิ่นในชุมชน

 

โอกาส

ข้อจำกัด

1. เป็นหมู่บ้านที่มีพื้นที่ติดกับเทือกเขา ทำให้มีโอกาสในการพัฒนาด้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เชิงเกษตร ด้านแหล่งอาหารจากทรัพยากรธรรมชาติ

 

1. การจ้างงานในหมู่บ้านมีน้อย

2. ชุมชนขาดการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย

3. การจัดข้อมูลสารสนเทศ

 

 

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนโดยใช้โปรแกรม CIA

          จากการวิเคราะห์ข้อมูลหมู่บ้าน/ชุมชน  จากข้อมูล จปฐ.ปี 2560 ข้อมูล กชช.2 ค ปี 2560 และข้อมูลอื่นๆ ด้วยโปรแกรม CIA และ Logic  Model ของบ้านโคก  หมู่ที่ 1  ตำบลบ้านค้อ  อำเภอคำชะอี  ผลการวิเคราะห์ปรากฏสภาพปัญหาต่างๆ  ในภาพรวมในด้านต่างๆ  ดังนี้

  1. ด้านการพัฒนาอาชีพ  ระดับ  2.2
  2. ด้านการจัดการทุนชุมชน  ระดับ  2.43
  3. ด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงของชุมชน  ระดับ  2.04
  4. ด้านการแก้ปัญหาความยากจน  ระดับ  2.27
  5. ด้านการบริหารจัดการชุมชน  ระดับ  2.66

 

 

 

 

 

ส่วนที่ 3: แนวโน้มทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน

 

การจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

          (๑) บ้านโคก  มีพื้นฐานด้านกลุ่ม  องค์กร  ที่เป็นรูปธรรมและหลากหลาย  ดังนั้น   จึงเป็นจุดเด่นที่เป็นการนำข้อมูล จปฐ.กชช2 ค.และฐานข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหมู่บ้านชุมชน มานำเสนอในเวทีประชาคม เพื่อต่อยอดทางด้านความคิด  โดยเริ่มกระบวนการพัฒนาตั้งแต่การสร้างความเข้าใจ  การวางแผนร่วมกันและการพิจารณาคัดเลือกกิจกรรมที่จะดำเนินการในหมู่บ้าน  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เห็นผลเป็นรูปธรรมคือ กลุ่มทอผ้าฝ้าย กลุ่มกลองกริ่ง กลุ่มทอเสื่อ กลุ่มเลี้ยงสุกร กลุ่มเลี้ยงโค และกลุ่มที่เกี่ยวกับเงินทุน เช่น กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  เพราะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวัน  และส่งเสริมภูมิปัญญาในการเรียนรู้เกี่ยวกับการการใช้เทคโนโลยีประกอบอาชีพที่ยั่งยืนและเหมาะสม ประกอบกับมีทรัพยากรภายในท้องถิ่นอยู่แล้ว สามารถนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์และทางเลือกที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

 

 

 

 

 

 

(๒) ชาวบ้านโคกยังคงอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นไว้อย่างเหนียวแน่นโดยเฉพาะประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนา  ตลอดจนความเชื่อทางพิธีกรรมที่เหนือธรรมชาติ เช่น การเลี้ยงเจ้าปู่ตา  พิธีเลี้ยงผีตาแฮกก่อนลงทำนา

 

 

 

 

 

 

(๓) ในการดำรงชีวิต  ส่วนใหญ่จะมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันตามระบบเครือญาติ  และช่วยเหลือกันทางด้านแรงงาน  เช่นการลงแขกดำนา  การสร้างบ้าน  หรือการช่วยเหลือกันในงานพิธีต่าง ๆ

(๔) มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์  และหลากหลาย เป็นแหล่งอาหารของหมู่บ้าน

 

 

 

 

 

 

 

 

(๕) มีแหล่งเรียนรู้ทางด้านการดำเนินชีวิตตามแบบเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นรูปธรรม

 

 

 

 

 

 

(๖) ในการพัฒนาหมู่บ้านมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างบ้าน  วัด  โรงเรียน

 

 

 

 

 

 

การใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาหมู่บ้าน

บ้านโคก หมู่ 1 ตำบลบ้านค้อ เป็นหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งคณะกรรมการหมู่บ้าน วัด โรงเรียน ได้ร่วมกัน กำหนดเป้าหมายการพัฒนาหมู่บ้านให้มีความเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ โดยเน้นการใช้ฐานข้อมูล ชุมชน เป็นฐานสำคัญ ในการชี้เป้าหมายการพัฒนาหมู่บ้านให้มีความเข้มแข็ง ครบถ้วนทุกมิติ ทั้งทาง ด้านเศรษฐกิจ สังคม ประเพณีวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และการศึกษาระบบข้อมูลที่ชุมชนแห่งนี้ มีความตระหนักร่วม และให้ความสำคัญในการชี้เป้าการพัฒนา ได้แก่ ข้อมูล ความจำเป็นขั้นพื้นฐาน (จปฐ) ข้อมูล กชช ๒ ค ข้อมูลการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการร่วมกันของคนในชุมชน หรือแม้กระทั่งข้อมูล
ที่คนในชุมชน มีความสนใจ ที่จะศึกษารวบรวม จัดเก็บเพื่อเป็นฐานข้อมูล ในการตัดสินใจ กำหนดแผนการพัฒนาหมู่บ้าน และแผนชุมชน

บ้านโคก  มีการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย เช่นการใช้ข้อมูลความจำเป็นขั้นพื้นฐาน(จปฐ.) และ ข้อมูล กชช ๒ ค. เป็นการชี้เป้าให้ชุมชนได้เรียนรู้ ร่วมกัน ใน ประเด็นด้านแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การรวมกลุ่มของชุมชนบ้านโคก จากข้อมูล กชช.2 ค. ตัวชี้วัดที่ 4,23,24 เพื่อนำไปสู่การพัฒนาโครงการหมู่บ้าน  ซึ่งมีการตั้งกลุ่มต่างๆขึ้นในหมู่บ้านเช่น  กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  กลุ่มทอผ้า  กลุ่มทำพานบายศรี กลุ่มกลองกริ่ง กลุ่มเพาะเห็ด กลุ่มเลี้ยงหมู กลุ่มสัมมาชีพ โดยมีหน่วยงานพัฒนาชุมชนส่งเสริม สนับสนุน ประสานงานให้กลุ่มอาชีพเข้าสู่การลงทะเบียนOTOP และนำไปศึกษาดูงานเพื่อสร้างเครือข่ายในการดำเนินงาน และนำข้อมูลกชช.2 ค. ตัวชี้วัดที่ 18 จปฐ. ข้อที่ 16 เด็กอายุ 6-14 ปีได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี เป็นการเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนบูรณาการในการทำงานร่วมกันกับโรงเรียน หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเป็นสำคัญ 
          การนำข้อมูล จปฐ./กชช.2ค ของหมู่บ้าน  ไปใช้ประโยชน์ดังนี้

-          การจัดทำแผนชุมชน

-          การจัดทำรายงานการพัฒนาหมู่บ้าน (VDR)

-          การจัดเวทีประชาคมในด้านการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ/กลุ่มกลองกริ่งของผู้สูงอายุ

 

 

ผลงานเด่นของหมู่บ้าน

  1. หมู่บ้านศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดิน
  2. เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ประจำปี 2554
  3. เป็นหมู่บ้านที่มีการดำเนินงานบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านที่เป็นรูปธรรม มีสถานที่เป็นเอกเทศและมีกิจกรรมการขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพ
  4. มีการดำเนินกิจกรรมสัมมาชีพปลูกข้าวโพดที่ต่อเนื่อง เรียนรู้การจำหน่าย และเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนสัมมาชีพ

 

ข้อเสนอแนะของนักพัฒนาต่อการพัฒนา

 

 

 

 

 

 

          บ้านโคก หมู่ 1 ตำบลบ้านค้อ อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ประชากรส่วนใหญ่เป็นเครือญาติกัน ดังนั้นการอยู่ร่วมกันจึงอยู่แบบถ้อยทีถอยอาศัยซึ่งกันและกัน ความเป็นอยู่ส่วนใหญ่จะพึ่งพาตนเองและคนในชุมชน ต่อมาเริ่มมีความขัดแย้งเนื่องจากผลของการลงแข่งขันการเมืองในท้องถิ่น ทำให้แบ่งออกเป็นฝักเป็นฝ่าย ส่งผลให้ในการทำงานของหน่วยงานและองค์กรภายนอกชุมชน ต้องใช้ความระมัดระวังในการเข้าไปส่งเสริม สนับสนุน ประสานงานกับตัวบุคคล กลุ่มองค์กรที่แตกต่างด้านความคิด แยกประเด็นดังนี้

 (๑) บ้านโคก หมู่ ๑ ต.บ้านค้อ  อ.คำชะอี  จ.มุกดาหาร  เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่  มีจำนวนครัวเรือนและจำนวนประชากรมาก  ทำให้ในการดำเนินงานพัฒนาไม่ทั่วถึง 

          (๒) สื่อหอกระจายข่าว  เสียงตามสายไม่ทั่วถึง  ทำให้เป็นปัญหาและอุปสรรคในการประชาสัมพันธ์และการสร้างความเข้าใจระหว่างผู้นำหมู่บ้านและชาวบ้าน

(๓)  มีการขัดแย้งทางความคิด  เนื่องจากการแบ่งกลุ่มกันทางการเมือง

(๔) ในหมู่บ้านมีปราชญ์ชาวบ้านมากแต่ไม่มีการถ่ายทอดอย่างเท่าที่ควร  หรืออีกนัยหนึ่งปราชญ์พร้อมที่จะถ่ายทอด  แต่ไม่มีผู้ที่ต้องการจะเข้ามารับความรู้ที่ต้องการถ่ายทอด  เพื่อนำไปใช้ประโยชน์

 

 

 

 

 

 

 

 

ปัจจัยมุ่งสู่ความสำเร็จ

             1.การบูรณาการหน่วยงานภาคีทุกภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วมการขับเคลื่อน

             2.การมีส่วนร่วมของชุมชน  ( ๕ ร่วม)  คือ  1 ร่วมคิด/วิเคราะห์ 2.ร่วมวางแผน 3.ร่วมทำ 4.รับผลประโยชน์ 5.ร่วมประเมินผล 

             3.การสร้างความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถ่องแท้ ให้กับคนในชุมชน

ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและวิธีการแก้ไข

          ๑. การบูรณาการความคิด กรอบ หลักการ ของแต่ละหน่วยงานที่ต่างกัน  ให้เป็นแนวทางเดียวกัน

๒. ภารกิจหลักของแต่ละหน่วยงานไม่สอดคล้องกัน

๓. ผู้นำ/แกนนำชุมชนขาดทักษะการบริหารจัดการชุมชน  การจัดการความรู้  ภูมิปัญญา

๔  การไม่ยอมรับในสภาพปัญหาที่แท้จริงของคนในชุมชน

๕  การส่งเสริมสนับสนุนที่ไม่ต่อเนื่อง

แนวทางการแก้ไขปัญหา

           ๑.ประสานการส่งเสริมของภาคีที่ทำงานในพื้นที่  ให้การเกิดการสนับสนุนตาม ภารกิจ กรอบ อำนาจหน้าที่ ของแต่ละหน่วยงาน

          ๒ สร้างความรู้ความเข้าใจใน  หลักการ  แนวทางการดำเนินงานอย่างละเอียด ในการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงงาน

          ๑ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ โดยจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

          ๒ ประสานการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีการพัฒนา

๓ กระตุ้น/ส่งเสริมผู้นำชุมชนให้เป็นแบบอย่างที่ดีในการนำกิจกรรมใหม่ๆ มาเสริมเพิ่มเติม และฝึกให้ประชาชนทำกิจกรรมอย่างเป็นปกติวิสัย และรับประโยชน์จากสิ่งที่ทำและไม่ถูกบังคับ ถูกสั่งให้ทำ

๔ ส่งเสริม/ค้นหาองค์ความรู้ ภูมิปัญญาของท้องถิ่น  แล้วสร้างแกนนำพัฒนาทักษะการจัดการความรู้แก่แกนนำและทีมงาน เพื่อจัดการความรู้ไว้สืบทอดต่อไป

         

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

view

แผนที่อำเภอ

view