http://kccd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าหลัก

 ภารกิจ สพอ.

 บทบาทหน้าที่

 ประวัติอำเภอ

 แผนที่อำเภอ

 บุคลากร

 เว็บบอร์ด

ติดต่อเรา

ลิงค์หน่วยงาน

งานนโยบายสำคัญ

กิจกรรมเด่น/โครงการริเริ่ม

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน/ ตำบล (VDR/TDR)

คลังภูมิปัญญา OTOP

องค์ความรู้ พช.

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

สถิติ

เปิดเว็บ24/11/2014
อัพเดท20/11/2017
ผู้เข้าชม32,715
เปิดเพจ39,769
iGetWeb.com
AdsOne.com

รายงานการพัฒนาตำบลบ้านเหล่า(TDR)

รายงานการพัฒนาตำบล

(Tambon Development Report:TDR)

ตำบลบ้านเหล่า

อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร

                             

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอคำชะอี

อำเภอคำชะอี      จังหวัดมุกดาหาร

โทร.0-4263-7172

 

คำนำ

 

                   รานงานการประเมินสถานการณ์พัฒนาตำบล เล่มนี้ได้จัดทำขึ้น โดย การจัดเวทีประชาคม ร่วมกับพัฒนากร ในการสรุป วิเคราะห์ข้อมูล สภาพทั่วไป ข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาความต้องการ จุดอ่อน  จุดแข็ง อุปสรรค โอกาสของชุมชน ในการพัฒนาตำบล และได้ประเมินสถานการณ์พัฒนาตำบลในรอบปีที่ผ่านมา โดยนำผลการวิเคราะห์ข้อมูล กชช ๒ค และข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เพื่อนำไปวางแผนการพัฒนา แก้ไขปัญหาภายในครัวเรือนของชาวบ้านได้อย่างตรงกับสภาพปัญหาภายในครัวเรือน ชุมชน  อีกทั้งได้นำข้อมูลกิจกรรมโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ มาวิเคราะห์ความสอดคล้องกับ    ทิศทางการพัฒนาชุมชน จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลของชาวบ้าน และการประเมินสถานการณ์พัฒนาตำบล  ทำให้ชาวบ้านสามารถกำหนดทิศทางการพัฒนาตำบลได้ว่า ตำบลจะพัฒนาไปในทิศทางใด จึงจะทำให้  ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

                   หวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานการพัฒนาตำบล ฉบับนี้ คงจะสามารถนำไปเป็นแนวทาง และ ต่อยอดขยายผลการพัฒนาตำบลต่อไปได้

 

 

 

                                                                                           คณะผู้จัดทำ

                                                                                        สิงหาคม 2560

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญ

 

ส่วนที่ ๑        บริบทของหมู่บ้าน

  • สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน                                                             ๔
  • ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ                                                                 ๖
  • ข้อมูลด้านการศาสนา                                                                   ๗                                                            

 

ส่วนที่  ๒       สภาพปัญหาและสาเหตุ

  • ผลการวิเคราะห์ข้อมูล จปฐ.                                                        ๘
  • ผลการวิเคราะห์ข้อมูล กชช ๒ค                                                    ๑๐

 

ส่วนที่  ๓       แนวโน้ม/ทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน

  • วิเคราะห์ศักยภาพตำบล                                                            ๑๒

 

 

ส่วนที่  ๔       ข้อเสนอแนะของนักพัฒนาต่อการพัฒนา

  • ข้อเสนอแนะของนักพัฒนาต่อการพัฒนาหมู่บ้าน                                  14

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนที่  ๑  ข้อมูลทั่วไป

 

 

 

 

ประวัติความเป็นมา

ราษฎรส่วนใหญ่อพยพมาจากแขวงสวรรรณเขต  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในช่วงประมาณ ปี พ.ศ. 2362 ตรงกับรัชกาลที่ 2 ที่ตั้งของตำบลอยู่ห่างจากตัวจังหวัดมุกดาหารประมาณ 35 กม. อยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอคำชะอี พื้นที่เป็นที่ราบเชิงเขา มีภูเขาที่สูงที่สุดในจงหวัดมุกดาหาร เรียกว่าเขาแม่นางหม่อน หรือภูผาซาน

อาณาเขต (แสดงเนื้อที่โดยประมาณเป็นตารางกิโลเมตรและไร่)

 

 

ตำบลบ้านเหล่ามีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ  125  ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ 78,414 ไร่

ทิศเหนือ              ติดกับเขตตำบลบ้านค้อ   อำเภอคำชะอี  จังหวัดมุกดาหาร

ทิศใต้                 ติดกับเขตตำบลน้ำเที่ยง ต.บ้านซ่ง    อำเภอคำชะอี  จังหวัดมุกดาหาร

ทิศตะวันออก         ติดกับตำบลหนองเอี่ยน

ทิศตะวันตก           ติดกับเขตตำบลคำป่าหลาย   อำเภอเมือง  จังหวัดมุกดาหาร

ลักษณะภูมิประเทศ

          สภาพพื้นที่ทั่วไปของตำบลบ้านเหล่า  เป็นพื้นที่ราบ เชิงเขา

ลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู

-    ฤดูฝน       เริ่มตั้งแต่เดือน พฤษภาคม – ตุลาคม    ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณปีละ   1,200 - 1,500   มิลลิเมตร

-   ฤดูหนาว   เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 10 – 20   องศาเซลเซียส

-   ฤดูร้อน    เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม – พฤษภาคม อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 35 - 40   องศาเซลเซียส

                  การปกครอง

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเหล่า  แบ่งการปกครองออกเป็น  11 หมู่บ้าน มีพื้นที่อยู่ในเทศบาลตำบลเต็มทั้ง 

11   หมู่บ้าน ดังนี้

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

ชื่อกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน

หมายเลขโทรศัพท์

1

บ้านเหล่า

นายมั่งมี  คนขยัน

0843891360

2

บ้านนาสันทัด

นายสัมภาส  คนตรง

0623062122

3

บ้านเหล่า

นายวงพระจันทร์  ยืนยั่ง

0834147199

4

บ้านหนองหญ้าปล้อง

นายวัมนะ  คนขยัน

0879334153

5

บ้านแมด

นายประเสริฐ  โคตรสุโพธิ์

0801920070

6

บ้านแพง

นายรัศมี  ตาลสมรส

0807267496

7

บ้านโพน

นายบรรจง  คนฉลาด

0828379577

8

บ้านม่วง

นายสมคิด  คนซื่อ

0807259858

9

บ้านหนองปลาซิว

นายเยี่ยม  อามาตมนตรี

0801854575

10

บ้านแมด

นายธีรยุทธ  คนขยัน

0899378691

11

บ้านม่วง

นายประเสริฐ  อะสุชีวะ

0801877485

              

แยกจำนวนประชากรและครัวเรือนตามหมู่บ้าน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ                

ผลิตผลหรือสินค้า / บริการ ที่สำคัญของตำบล    ได้แก่

หมู่ที่

หมู่บ้าน

ผลิตผล /สินค้า

1

เหล่า

ผักสวนครัว ปลา เห็ด

2

นาสันทัด

ผักสวนครัว ไก่ไข่

3

เหล่า

ผักสวนครัว ไก่ไข่  ผ้าพื้นเมือง

4

หนองหญ้าปล้อง

ไม้กวาด  ผักสวนครัว

5

แมด

จักสาน ไก่พื้นเมือง

6

แพง

กล้วยน้ำว้า พืชผัก ผ้าพื้นเมือง

7

โพน

ไก่ไข่ หมู ผักสวนครัว ผ้าพื้นเมือง

8

ม่วง

ไก่ไข่  ผ้า

9

หนองปลาซิว

ปลา ผัก กล้วย

10

แมด

เห็ดนางฟ้า ปลา จักสาน

11

ม่วง

ไก่ไข่ ผัก

 

แหล่งท่องเที่ยว

  ตำบลบ้านเหล่า เป็นตำบลที่มีแหล่งท่องเที่ยวคือภูผาซาน เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดมุกดาหาร                              แรงงาน

                     แรงงานที่ใช้ในภาคเกษตรในตำบลส่วนใหญ่ใช้แรงงานจากสมาชิกในครัวเรือนเป็นสำคัญและในบางครัวเรือนที่มีสมาชิกไม่เพียงพอจะทำการจ้างแรงงานที่มีอยู่ในตำบล

การใช้ที่ดิน

                   ตำบลบ้านเหล่ามีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ  5 ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ 78,125 ไร่ มีการใช้แบ่งเป็นประเภทพื้นที่  ที่อยู่อาศัย   ที่ทำการเกษตรและที่สาธารณประโยชน์   

 

ข้อมูลด้านการศึกษา  โรงเรียนในเขตตำบลบ้านเหล่า  มีจำนวน  3 แห่ง  คือ

  1. โรงเรียนบ้านแมด  เปิดสอนอนุบาลถึง ประถมศึกษาปีที่ 6
  2. โรงเรียนบ้านม่วง  เปิดสอนอนุบาลถึง ประถมศึกษาปีที่ 6

               3.  โรงเรียนบ้านเหล่า  เปิดสอนอนุบาลถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

                  

               ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตตำบลบ้านเหล่า  มีจำนวน  3  แห่ง  คือ

  1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดอินทสวาสดิ์บ้านเหล่า
  2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดวรวิหารบ้านแมด
  3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดจันโทวาทบ้านม่วง

 

                  

ข้อมูลด้านการศาสนา

                   ตำบลบ้านเหล่า มีศาสนสถานทางพุทธศาสนา จำนวน  6 แห่ง

  1. วัดอินทสวาสดิ์บ้านเหล่า  ตั้งอยู่หมู่ที่ 1     ศาสนิกชนมาจากหมู่ 1,3
  2. วัดเวฬุวันบ้านหนองหญ้าปล้อง     ตั้งอยู่หมู่ที่ 4     ตำบลบ้านเหล่า
  3. วัดวรวิหารบ้านแมด ตั้งอยู่หมู่ที่ 5  ตำบลบ้านเหล่า
  4. วัดศรีชมพูบ้านแพง ตั้งอยู่หมู่ที่ 6   ตำบลบ้านเหล่า
  5. วัดศรีรัตนารามบ้านโพน   ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านเหล่า
  6. วัดจันโทวาทบ้านม่วง      ตั้งอยู่หมู่ที่ 11   ตำบลบ้านเหล่า

2.สำนักสงฆ์ทางพุทธศาสนา  จำนวน 2 แห่ง

    1) สำนักสงฆ์บ้านนาสันทัด ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 2  ตำบลบ้านเหล่า

    2) สำนักสงฆ์บ้านหนองปลาซิว  ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 9  ตำบลบ้านเหล่า

ข้อมูลด้านการสาธารณสุข

                       ในเขตตำบลบ้านเหล่า มีสถานบริการด้านสาธารณสุข ดังนี้ คือ

-          โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 มีเจ้าหน้าที่ 3 คน  ประชาชนในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ

หมู่ที่ 1,3,5,6,7,9,10    

-          โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 มีเจ้าหน้าที่  3  คน  ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ หมู่ที่ 2,4,8,11   

การบริการด้านสาธารณสุขของตำบลบ้านเหล่า  นับว่าประชาชนได้รับความสะดวกอย่างทั่วถึง  นอกจากจะรับบริการจากสถานีอนามัยและโรงพยาบาลโดยมีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกแล้ว ยังมีอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน ทั้ง 11 หมู่บ้าน ซึ่งมีหน้าที่ในการดูแล  ป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่อหรือโรคต่างๆในชุมชน  โดยการส่งเสริมและพัฒนาระบบสาธารณสุขมูลฐานร่วมกับเทศบาล

 

จุดเด่นของพื้นที่ ( ที่เอื้อต่อการพัฒนาตำบล )

             ตำบลบ้านเหล่า เป็นตำบลที่อุดมสมบูรณ์ มีทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ มากมาย ที่เอื้อต่อการประกอบอาชีพของประชากร ประชากรส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพทำนา รองลงมาคือ รับจ้าง ข้าราชการ และค้าขาย นอกจากนั้น ตำบลบ้านเหล่า ยังเป็นพื้นที่ที่มีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง ประชากรอยู่ในระเบียบวินัย เชื่อฟังผู้นำชุมชน มีความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันเป็นอย่างดี

 

 

 

 

 

 

ส่วนที่  ๒  สภาพปัญหาและสาเหตุ

 

 

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล จปฐ. ปี 2560

          ครัวเรือนทั้งหมดที่ดำเนินการสำรวจข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕60 มีจำนวน  1,262  ครัวเรือน สรุปผลการวิเคราะห์และประมวลผล  ดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

จากข้อมูล กชช ๒ ค

  • Ø ระดับการพัฒนาหมู่บ้าน ระดับ ๓ จำนวน  9  หมู่บ้าน ระดับ 2 จำนวน  2 หมู่บ้าน
  • Ø ตัวชี้วัดที่มีปัญหามาก มี 4 ตัวชี้วัดคือ ตัวชี้วัดที่ 7,12,28,32  
  • Ø ตัวชี้วัดที่มีปัญหาปานกลางมี 2 ตัวชี้วัด คือ ๔,2๗,   ส่วนใหญ่จะมีปัญหาระดับปานกลางทุกหมู่บ้าน
  • Ø ตัวชี้วัดที่มีปัญหาน้อยหรือไม่มีปัญหาเลย มี ๒3 ตัวชี้วัด คือ ๑, ๒, ๓, ๕, ๖, 8, ๑๐,๑๕, ๑๖, 17,๑๘,19,20, ๒๑, ๒๒, ๒๓, ๒๔, ๒๕, ๒๖, ๒๗,   30, ๓1,  33
  • Ø ตัวชี้วัดที่ไม่มีข้อมูลมี  5 ตัวชี้วัด คือ  9,11,13,14,29

 

ตารางแสดงข้อมูล กชช ๒ ค ปี ๒๕60

 

ตัวชี้วัด

มีปัญหา

(1) มาก

(2) ปานกลาง

(3) น้อย/ไม่มี

1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

(1) ถนน

0

4

7

(2) น้ำกิน

1

10

(3) น้ำใช้

11

(4) น้ำเพื่อการเกษตร

11

(5) ไฟฟ้า

1

10

(6) การมีที่ดินทำกิน

1

10

(7) การติดต่อสื่อสาร

7

4

2. สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

(8) การมีงานทำ

1

(9) การทำงานในสถานประกอบการ

-

-

-

(10) ผลผลิตจากการทำนา

1

1

9

(11) ผลผลิตจากการทำไร่

-

-

-

(12) ผลผลิตจากการทำเกษตรอื่นๆ

3

1

(13) การประกอบอุตสาหกรรมในครัวเรือน

-

-

-

(14) การได้รับประโยชน์จากการมีสถานที่ท่องเที่ยว

-

-

-

3. ด้านสุขภาพและอนามัย

(15) ความปลอดภัยในการทำงาน

11

(16) การป้องกันโรคติดต่อ

1

10

(17) การกีฬา

8

3

4. ด้านความรู้และการศึกษา

(18) ระดับการศึกษาของประชาชน

1

3

7

(19) อัตราการเรียนต่อของประชาชน

1

1

9

(20) การได้รับการศึกษา

2

2

7

5. การมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งของชุมชน

(21) การเรียนรู้โดยชุมชน

1

2

8

(22) การได้รับการคุ้มครองทางสังคม

2

9

(23) การมีส่วนร่วมของชุมชน

3

8

(24) การรวมกลุ่มของประชาชน

11

(25) การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของชุมชน

11

6. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(26) คุณภาพของดิน

11

(27) คุณภาพน้ำ

1

9

1

(28) การใช้ประโยชน์ที่ดิน

5

(29) การปลูกป่าหรือไม้ยืนต้น

-

-

-

(30) การจัดการสภาพสิ่งแวดล้อม

11

7. ความเสี่ยงของชุมชนและภัยพิบัติ

(31) ความปลอดภัยจากยาเสพติด

4

7

(32) ความปลอดภัยจากภัยพิบัติ

11

2

5

4

(33) ความปลอดภัยจากความเสี่ยงในชุมชน

 

 

 

 

ส่วนที่  ๓ แนวโน้มและทิศทางการพัฒนา

 

 

 

 

 

 

วิเคราะห์ศักยภาพตำบล

          ในการพัฒนาตำบลบ้านเหล่า ชาวบ้านได้นำปัญหาต่าง ๆ ของชุมชนที่ได้จาการสำรวจข้อมูล จปฐ. และ กชช ๒ค รวมทั้งความคิดความเห็นจากเวทีประชาคม มาวิเคราะห์ปัญหาโดยอาศัยเวทีประชาคมของหมู่บ้าน และการประชุมราษฎรที่ดำเนินการเป็นประจำทุกเดือน โดยได้สังเคราะห์ใช้ในรูปแบบแผนชุมชน ซึ่งสรุปสภาพตำบล ได้ดังนี้

 

 

จุดแข็ง

 

๑.      มีแหล่งเงินทุนในชุมชนที่เข้มแข็ง เช่น  กองทุนหมู่บ้าน โครงการ กข.คจ.

๒.      มีผู้นำที่เข้มแข็ง

๓.      มีกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ที่เข้มแข็ง

๔.      การมีส่วนร่วมของประชาชน

๕.      มีข้อมูล จปฐ. กชช ๒ค และข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ

๖.      มีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลาย เช่น การจักสานไม้ไผ่ การทอผ้า การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การเลี้ยงสุกร ปลา

๗.      มีการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมที่สำคัญ เช่น งานบุญเข้าพรรษา ออกพรรษา

๘.      ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคราชการอื่น ๆ

๙.      ผู้นำได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง

๑๐.  ผลิตผลทางการเกษตรที่หลากหลาย

มีที่ดินทำการเกษตร

 

โอกาส

 

๑.      ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคราชการอื่น ๆ

๒.      ผู้นำได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง

๓.      ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม

๔.      การคมนาคมสะดวก

๕.      ระบบการติดต่อสื่อสารรวดเร็ว

๖.      มีแหล่งเงินทุนจากภายนอก

 

 

จุดอ่อน

 

๑.      ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ในการประกอบอาชีพเสริมหลังจากการทำนำ

๒.      ประชาชนไม่สนใจในการประกอบอาชีพเสริม

๓.      ประชาชนมีการออมเงินน้อย การใช้จ่ายฟุ่ยเฟือย ค่านิยมในด้านวัตถุสูงขึ้น

๔.      ประชาชนยังขาดจิตสำนึกในการพัฒนาตนเองและชุมชน

๕.      ขาดความรู้ในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อเพื่อมูลค่าสินค้า

๖.      ขาดความรู้ในด้านการบริหารจัดการกองทุนทางการเงิน

๗.      ขาดความเอื้ออาทรกัน

 

 

 

อุปสรรค

 

๑.      การเมืองท้องถิ่นทำให้ชุมชนแตกแยก

๒.      นโยบายรัฐเปลี่ยนแปลงบ่อยไม่ชัดเจน

๓.      ภาวะเศรษฐกิจ ค่าครองชีพสูง ราคาปัจจัยการผลิตแพง ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูง

๔.      ได้รับผลกระทบจากภัยทางธรรมชาติ เช่น

          วาตภัย อุทกภัยทำให้เกิดความเสียหายต่อ   

          ชีวิตและทรัพย์สิน

๕.      ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำไม่แน่นอน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนที่ ๔  ข้อเสนอแนะของนักพัฒนาต่อการพัฒนาตำบล

 

 

 

 

 

สรุปผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลของหมู่บ้านเปรียบเทียบจากตัวชี้วัด  จปฐ.  กชช.๒ค.  และการจัดเวทีประชาคม  เพื่อให้ทราบถึงสภาพปัญหา  ระดับการพัฒนาหมู่บ้านและข้อมูลอื่นที่จำเป็นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนก่อนลงมือทำงานจะทำให้มีขั้นตอน  วิธีการทำงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมสนองต่อความต้องการของชุมชนได้อย่างแท้จริงและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน  ยุทธศาสตร์จังหวัด  แผนแม่บทชุมชน  จนกระทั้งการนำไปสู่การขับเคลื่อนกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านให้ประสบผลสำเร็จ  จึงขอเสนอแนะในเรื่องต่อไปนี้

๑.        ตำบลบ้านเหล่า ในปัจจุบันความเจริญเข้ามาสู่หมู่บ้านทำให้ความต้องการเครื่องอุปโภค-บริโภคจากภายนอกเพิ่มมากขึ้น  วิถีการดำเนินชีวิตเริ่มเปลี่ยนไปตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมผ่านสื่อต่าง ๆ  ทำให้ค่าใช้จ่ายในครอบครัวเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่อาชีพและรายได้คงเดิม  การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับชีวิตประจำวัน และการประกอบอาชีพ จึงเป็นวิธีการหนึ่งในการป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีเพื่อมิให้เกิดความประมาทในการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิต  การจัดตั้งกลุ่มอาชีพก็มีความสำคัญเช่นกัน  เพราะเป็นการสร้างอาชีพ  สร้างรายได้และเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในชุมชน

๒.        การมีส่วนร่วมของประชาชนยังมีน้อย  เนื่องจากข้อจำกัดด้านเวลาในการทำงาน  (อาชีพหลัก)  เพื่อสร้างโอกาสในการพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ควรใช้เทศกาลสำคัญ ๆ  เป็นเวทีเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน

๓.        ความสามัคคี  โดยเฉพาะในกลุ่มผู้นำชุมชนจะต้องเหนี่ยวแน่น  เพราะผู้นำเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านและมีสมาชิกในชุมชนเป็นหน่วยสนับสนุน  กิจกรรม/แผนงานจึงจะประสบผลสำเร็จ

๔.        เด็กเยาวชน  สตรีและคนชรา  ขาดโอกาสในการแสดงศักยภาพอย่างเต็มที่  เนื่องจากบทบาทสำคัญในชุมชนจะได้รับมอบหมายให้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้นำชุมชน  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพศชาย  เพื่อลดปัญหาความเลื่อมล้ำทางสังคม  ชุมชนควรเปิดโอกาส และสนับสนุนส่งเสริมบทบาทเด็ก  สตรี  และคนชรา  กับการมีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรม  โครงการในทุกขั้นตอน

๕.        ปัจจุบันการศึกษามีความสำคัญต่อการประกอบอาชีพของคนในชุมชนเพราะการศึกษาเป็นการสร้างโอกาสและเป็นช่องทางเลือกอาชีพได้หลากหลาย  ดังนั้นผู้ปกครองควรสนับสนุนบุตรหลานให้รักการเรียนและส่งเสริมบุตรหลานให้ได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

view

แผนที่อำเภอ

view