http://kccd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าหลัก

 ภารกิจ สพอ.

 บทบาทหน้าที่

 ประวัติอำเภอ

 แผนที่อำเภอ

 บุคลากร

 เว็บบอร์ด

ติดต่อเรา

ลิงค์หน่วยงาน

งานนโยบายสำคัญ

กิจกรรมเด่น/โครงการริเริ่ม

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน/ ตำบล (VDR/TDR)

คลังภูมิปัญญา OTOP

องค์ความรู้ พช.

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

สถิติ

เปิดเว็บ24/11/2014
อัพเดท20/11/2017
ผู้เข้าชม32,680
เปิดเพจ39,733
iGetWeb.com
AdsOne.com

ถอดบทเรียนโครงการสร้างสุขด้วย

 

 

กลองโบราณค่าล้ำ วัฒนธรรมลือเลื่อง เมืองแห่งขุนเขา สาวภูไท...คำชะอี

 

1.1 ประวัติอำเภอคำชะอี

                   อำเภอคำชะอีเคยเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครพนม เมื่อจังหวัดมุกดาหารได้รับการจัดตั้งเป็นจังหวัด เมื่อวันที่ 27 กันยายน  2525 จึงขึ้นเขตการปกครองอยู่ในจังหวัดมุกดาหาร ตั้งแต่นั้นมา ตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตามประวัติศาสตร์มีหลักฐานที่พอเชื่อถือได้ว่าเมืองนครพนมเป็นเมืองสืบเนื่องมาจากนครในอาณาจักรโคตรบูรณ์ ซึ่งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ต่อมาได้ย้ายมาตั้งอยู่บนฝั่งขวาในรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีส่วนตำนานเมืองโคตรบูรณ์ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่ามีความเป็นมาอย่างไร สรุปว่าอำเภอคำชะอีเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโคตรบูรณ์อันรุ่งเรืองในอดีต

 

1.2 ที่ตั้งและอาณาเขต

          ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดมุกดาหาร อยู่ห่างจากจังหวัด ระยะทาง 35 กิโลเมตร

                   อาณาเขต         ทิศตะวันออก จดกับ อำเภอเมืองจังหวัดมุกดาหาร

                                      ทิศตะวันตก จดกับ อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร

                                      ทิศใต้         จดกับ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร

                                      ทิศเหนือ    จดกับ อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร

 

1.3 การปกครองและประชากร

          อำเภอคำชะอี แบ่งเขตการปกครองตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2458 เป็น 9 ตำบล 88 หมู่บ้าน ดังนี้

          3.1 ตำบลคำชะอี         มี        14  หมู่บ้าน

          3.2 ตำบลคำบก           มี        6  หมู่บ้าน

          3.3 ตำบลหนองเอี่ยน     มี        10  หมู่บ้าน

          3.4 ตำบลเหล่าสร้างถ่อ   มี        7  หมู่บ้าน

          3.5 ตำบลน้ำเที่ยง         มี        12  หมู่บ้าน

          3.6 ตำบลบ้านค้อ         มี        11  หมู่บ้าน

          3.7 ตำบลบ้านเหล่า       มี        11  หมู่บ้าน

          3.8 ตำบลโพนงาม        มี        10  หมู่บ้าน

          3.9 ตำบลบ้านซ่ง         มี        7  หมู่บ้าน

 

1.4 การประกอบอาชีพและรายได้

          ประชาชนในพื้นที่อำเภอคำชะอี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักทำนาและทำการเกษตรทั่วไป มีป่าไม้และภูเขาสลับพื้นที่ราบ มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญหลายสาย เช่น ห้วยทราย ห้วยมุก และห้วยบังอี่ ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ มันสำปะหลัง ยางพารา ข้าว และอ้อย

          นอกจากนี้ ยังมีการรวมกลุ่มอาชีพของสตรีเพื่อทำอาชีพเสริมตามโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เพิ่มรายได้ให้กับตัวเองและครอบครัวในเวลาว่าง เช่น กลุ่มทอผ้าฝ้าย –ผ้าไหม กลุ่มจักสานไม้ไผ่ กลุ่มทำไม้กวาดดอกหญ้า กลุ่มทำขนมทองม้วน เป็นต้น

 

1.5 แหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญ

          5.1 ภูผาวาน ม.5 ต.บ้านเหล่า อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร

          5.2 ภูผากูด ม.4 ต.คำบก อำเภอคำชะอี  จังหวัดมุกดาหาร

          5.3 หนองบง ม.5 ต.หนองเอี่ยน อำเภอคำชะอี  จังหวัดมุกดาหาร

          5.4 วัดป่าวิเวกรัตนาราม ม.9 ต.คำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร

 

 

ข้อมูลอัตรากำลังเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอคำชะอี  จังหวัดมุกดาหาร

ชื่อ – สกุล

ตำแหน่ง

พื้นที่รับผิดชอบ

นางกานต์พิชชา สุธีรวิชญนันท์

พัฒนาการอำเภอคำชะอี

 

นายศักดิ์เกษม  กุลวงค์

นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

ตำบลคำชะอี 14 หมู่บ้าน

ตำบลคำบก 6 หมู่บ้าน

นางสุปราณี  รัชอินทร์

นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

ตำบลน้ำเที่ยง 12 หมู่บ้าน

ตำบลบ้านค้อ 11 หมู่บ้าน

นางทัศนีย์  นาดอน

นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

ตำบลบ้านเหล่า 11 หมู่บ้าน

ตำบลโพนงาม  10  หมู่บ้าน

นายวีรยุทธ  สุวรรณศรี

นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

ตำบลหนองเอี่ยน 10 หมู่บ้าน

ตำบลเหล่าสร้างถ่อ 7 หมู่บ้าน

นางสาวธัญวรรณ  จันปุ่ม

นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

ตำบลบ้านซ่ง 7 หม๋บ้าน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

          ตามที่กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้จัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 ตลาดจนรายละเอียดตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการ เพื่อให้สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอซึ่งเป็นหน่วยงานดำเนินการในระดับพื้นที่ได้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ พร้อมทั้งได้กำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดคำรับรองให้อำเภอ ซึ่งพัฒนาการอำเภอได้ลงนามคำรับรองการปฏิบัติราชการกับพัฒนาการจังหวัดมุกดาหาร จำนวน ๕ ตัวชี้วัด โดยมีรายละเอียดตัวชี้วัด ประกอบด้วย

 

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ จำนวนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ที่มีการบูรณาการกิจกรรมการพัฒนาเพื่อให้มีความสุขมวลรวม

       ผู้รับผิดชอบหลัก คือ นายศักดิ์เกษม กุลวงค์ ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

       ผู้รับผิดชอบร่วม คือ นายวีรยุทธ สุวรรณศรี ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

เป้าหมายตัวชี้วัด  จำนวนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบที่มีการบูรณาการกิจกรรมการพัฒนาเพื่อให้มีความสุขมวลรวม

กลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๖ หมู่บ้าน ได้แก่ ๑) บ้านม่วง ม.8 ต.บ้านเหล่า ๒) บ้านโคก ม.1 ต.บ้านค้อ ๓) บ้านโพน ม.7 ต.บ้านเหล่า ๔) บ้านโพธิ์ศรี ม.4 ต.บ้านซ่ง ๕) บ้านหนองปลาซิว ม.9 ต.โพนงาม ๖) บ้านคำบก    ม.4 ต.คำบก

ผลการดำเนินงาน  หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบที่มีการบูรณาการกิจกรรมการพัฒนาเพื่อให้มีความสุขมวลรวม  จำนวน ๖ หมู่บ้าน คิดเป็นผลงานร้อยละ ๑๐๐

 

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒ รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP)

       ผู้รับผิดชอบหลัก คือ นางทัศนีย์  นาดอน ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

       ผู้รับผิดชอบร่วม  คือ น.ส.ธัญวรรณ จันปุ่ม ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

เป้าหมายตัวชี้วัด  รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) มียอดจำหน่ายทั้งปีเพิ่มขึ้น ๒๐ % ของรายได้ ๓ ปีย้อนหลัง (74,๐๐๐,๐๐๐ บาท)

กลุ่มเป้าหมาย   กลุ่มผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP จำนวน ๗4 กลุ่ม

ผลการดำเนินงาน  กลุ่มผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP จำนวน ๗4 กลุ่ม มียอดจำหน่ายถึงเดือนมิถุนายน ๒๕๕๘ จำนวน 22,259,408 บาท คิดเป็นผลงานร้อยละ 65.40

 

ตัวชี้วัดที่ ๑.๓ จำนวนผลิตภัณฑ์ OTOP ในกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (กลุ่ม D)ได้รับการพัฒนาและยกระดับคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์

      ผู้รับผิดชอบหลัก คือ น.ส.ธัญวรรณ  จันปุ่ม ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

                 ผู้รับผิดชอบร่วม  คือ นางทัศนีย์  นาดอน ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

เป้าหมายตัวชี้วัด  ผลิตภัณฑ์ OTOP ในกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (กลุ่ม D)ได้รับการพัฒนาและยกระดับคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ จำนวน 12 ผลิตภัณฑ์

กลุ่มเป้าหมาย   กลุ่มผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP (กลุ่มD) จำนวน 12 กลุ่ม

ผลการดำเนินงาน  ผลิตภัณฑ์ OTOP ในกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (กลุ่ม D)ได้รับการพัฒนาและยกระดับคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ จำนวน 12 ผลิตภัณฑ์ คิดเป็นผลงานร้อยละ ๑๐0

ตัวชี้วัดที่ ๑.๔ ร้อยละของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่ได้รับการส่งเสริมธรรมาภิบาล

       ผู้รับผิดชอบหลัก คือ นางสุปราณี  นาดอน ตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

       ผู้รับผิดชอบร่วม  คือ นางทัศนีย์  นาดอน ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

เป้าหมายตัวชี้วัด  กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  จำนวน 8 กลุ่ม

 กลุ่มเป้าหมาย   กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตทั้งหมด 50 กลุ่ม

 ผลการดำเนินงาน  กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่ได้รับการส่งเสริมธรรมาภิบาล จำนวน 8 กลุ่ม คิดเป็นผลงานร้อยละ 100

ตัวชี้วัดที่ ๑.๕ ร้อยละของครัวเรือนยากจนเป้าหมายที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. คงเหลือ

       ผู้รับผิดชอบหลัก คือ  นายวีรยุทธ  สุวรรณศรี ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

       ผู้รับผิดชอบร่วม  คือ นางทัศนีย์ นาดอน ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

 เป้าหมายตัวชี้วัด ครัวเรือนยากจนเป้าหมายที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ.คงเหลือ 3 ครัวเรือน (ไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของครัวเรือนเป้าหมายทั้งหมด)

 กลุ่มเป้าหมาย  ครัวเรือนยากจนเป้าหมายที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. จำนวน 3๕ ครัวเรือน

 ผลการดำเนินงาน ครัวเรือนยากจนเป้าหมายที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. คงเหลือ จำนวน 0 ครัวเรือน (ร้อยละ 0 ของครัวเรือนเป้าหมายทั้งหมด)

 

 

 

 

 

 

 

๓.๑ ความสำคัญ แนวคิดการดำเนินโครงการสร้างสุขด้วย “Muk Model”

ความสำคัญและความเป็นมา

          สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดมุกดาหารได้กำหนดโครงการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการภายในระดับหน่วยงาน (Internal Performance Agreement : IPA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘  โครงการ “สร้างสุขด้วย MUK Model” โดยการบูรณาการผลการดำเนินงานของโครงการ  การบริหารจัดการครัวเรือนยากจนแบบบูรณาการ : ชี้เป้าชีวิต จัดทำเข็มทิศชีวิต บริหารจัดการชีวิต และดูแลชีวิต ตามที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ และโครงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนกรณียากจน เจ็บป่วย พิการ อนาถา ตามนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร ประจำปี ๒๕๕๘ โดยแนวคิดในการดำเนินโครงการ ดังนี้

          ๑. แนวคิดการบริหารจัดการครัวเรือนยากจนแบบบูรณาการ : ชี้เป้าชีวิต จัดทำเข็มทิศชีวิต บริหารจัดการชีวิต และดูแลชีวิต

      มีแนวคิดสำคัญพื้นฐานอยู่ ๓ แนวคิด ประกอบด้วย

      แนวคิดที่ ๑ ปัญหาความยากจนเกิดจากการที่ครอบครัวยากจนมีการบริหารจัดการชีวิตที่

ไม่เหมาะสม สามารถแก้ไขด้วยการบริหารจัดการชีวิต หรือการปรับเปลี่ยนวิถึชีวิต

      แนวคิดที่ ๒ ปัญหาความยากจนเป็นปัญหาเชิงซ้อน ไม่ใช่ปัญหาเชิงเดี่ยว ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการส่งเสริมให้มีอาชีพเพียงอย่างเดียว

      แนวคิดที่ ๓ ปัญหาความยากจน เป็นปัญหาภายในครอบครัวของแต่ละครัวเรือน มีสาเหตุ

ของปัญหาและเงื่อนไขต้องเข้าไปบริหารจัดการเป็นรายครอบครัว

                ภายใต้แนวคิดทั้ง ๓ ประการเบื้องต้น กรมการพัฒนาชุมชนได้กำหนดกระบวนการการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาครอบครัวยากจน ๔ กระบวนการ คือ กระบวนการที่ ๑ ชี้เป้าชีวิต (Life Identification) กระบวนการที่ ๒ จัดทำเข็มทิศชีวิต (Life Compass) กระบวนการที่ ๓ บริหารจัดการชีวิต (Life Management) และกระบวนการที่ ๔ ดูแลชีวิต (Life Improvement) เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายพ้นจากความยากจนอย่างยั่งยืน

 

          ๒. แนวคิดการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนกรณียากจน เจ็บป่วย พิการ อนาถา ตามนโยบาย  ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร

               จากนโยบายการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจังหวัดมุกดาหาร ตามโครงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนกรณียากจน เจ็บป่วย พิการ อนาถา ตามนโยบายผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร นายสกลสฤษดิ์ บุญประดิษฐ์ ซึ่งได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการปฏิบัติราชการในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๖  เพื่อมุ่งให้ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน มีการแก้ไขปัญหาที่เป็นระบบ ครอบคลุมทุกกลุ่มปัญหา ทุกพื้นที่ แบบเบ็ดเสร็จ เป็นรูปธรรม ไม่เกิดความซ้ำซ้อนของหน่วยงานที่รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหา และเป็นการป้องกันปัญหาที่ยังไม่เกิด ระงับยับยั้งปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้น รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วได้อย่างทันท่วงที โดยกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคนและสังคม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดมุกดาหาร โดยนำแนวคิดจากสภาพปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่มาจากการขาดปัจจัย ๔ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ประกอบด้วย

๑.      ด้านอาหาร ได้แก่ การขาดอาชีพที่มั่นคง สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรงสมบูรณ์เหมาะสม

และไม่สามารถประกอบอาชีพได้อย่างปกติ จึงส่งผลให้ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่แน่นอนและไม่เพียงพอต่อการยังชีพของคนในครอบครัว เป็นภาระต่อญาติพี่น้องและคนในชุมชนต้องให้ความช่วยเหลือ ต้องแก้ไขด้วยการส่งเสริมอาชีพที่ยั่งยืน โดยมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเป็นเจ้าภาพหลัก

๒.      ด้านเครื่องนุ่งห่ม ได้แก่ ปัญหาที่เกิดจากครอบครัวมีความยากไร้ ขาดแคลนสิ่งอุปโภค

บริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต อันเนื่องมาจากความยากจนไม่มีความสามารถจัดซื้อจัดหามาอุปโภคบริโภคในครอบครัว เช่น เสื้อผ้า ที่นอน หมอน มุ้ง เครื่องครัว เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในดำรงชีวิตอยู่ของคนในครัวเรือน ต้องขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้การสงเคราะห์ โดยมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเป็นเจ้าภาพหลัก

๓.      ด้านยารักษาโรค ได้แก่ ปัญหาที่เกิดจากสภาพความเจ็บป่วยของคนในครอบครัว อัน

ส่งผลกระทบต่อคนในครัวเรือน และยังไม่สามารถเข้าถึงการรักษาอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการทางการแพทย์ รวมทั้งคนในชุมชนก็ไม่สามารถจัดการให้ความช่วยเหลือได้ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน เช่น ความพิการทางร่างกาย ผู้ป่วยโรคเอดส์ ผู้ป่วยด้วยโรคชรา โรคแขนขาอ่อนแรง ฯลฯ และมีปัญหาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปรับการรักษา โดยมอบหมายให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เป็นเจ้าภาพหลัก

๔.      ด้านที่อยู่อาศัย ได้แก่ ครัวเรือนที่ประสบปัญหาที่อยู่อาศัย โดยสภาพบ้านเรือนไม่มั่นคง

มีสภาพทรุดโทรมเก่าและผุพังบางส่วนไม่เหมาะสมกับสภาพการอยู่อาศัยของคนในครัวเรือน ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัย และโดยสภาพความเป็นอยู่ของคนในครัวเรือนก็ไม่สามารถจะทำให้บ้านที่อยู่อาศัยมีสภาพดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ได้ด้วยตนเองและคนในครัวเรือน โดยมอบหมายให้สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดเป็นเจ้าภาพหลัก ขอรับการสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างหรือซ่อมแซมบ้านที่อยู่อาศัยจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีครอบครัวนั้นอยู่ในเขตความรับผิดชอบตามสภาพความจำเป็นและเหมาะสมของบ้านที่อยู่อาศัยร่วมกับสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดมุกดาหารสมทบหลังละ ๒๐,๐๐๐ บาท

ดังนั้น เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ประสบปัญหาความเดือดรอน ให้

สามารถช่วยเหลือตนเองได้และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมั่นคง เป็นปกติสุข ทุกภาคส่วนในจังหวัดได้มีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย ทั้งตามภารกิจที่เกี่ยวข้องและเป็นสาธารณกุศลในการช่วยเหลือคนยากจนและเดือดร้อนดังกล่าว จังหวัดมุกดาหารได้จัดตั้ง “ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนกรณียากจน เจ็บป่วย พิการ อนาถา จังหวัดมุกดาหาร และจัดตั้ง “กองทุนช่วยเหลือผู้ยากจน เจ็บป่วย พิการ อนาถา จังหวัดมุกดาหาร” ขึ้น ณ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดมุกดาหาร และมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดมุกดาหารเป็นหน่วยงานเลขานุการขับเคลื่อนการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายในรูปแบบการบูรณาการ และในระดับอำเภอได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ เป็นหน่วยงานทำหน้าที่เลขานุการขับเคลื่อนการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายในระดับอำเภอ และรายงานความก้าวหน้าผลการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายให้จังหวัดทราบทุกเดือน

๓. แนวคิดการยกระดับคุณภาพชีวิตคนมุกดาหารด้วย MUK Model

                 MUK Model เป็น “การจัดการอย่างมีเอกภาพบนฐานข้อมูลและองค์ความรู้เดียวกัน” เป็นนวัตกรรมที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดมุกดาหารใช้ในการขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ตามโครงการ “ยกระดับคุณภาพชีวิตคนมุกดาหารด้วย MUK Model” เป็นโครงการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการภายในระดับหน่วยงาน (Internal Performance Agreement : IPA) ประจำปี ๒๕๕๗  มีหลักการทำงานตาม MUK Model ดังนี้

                   M  :  Management (การจัดการ) คือ การที่คนมาทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการทำงาน โดยมีกระบวนการที่ทำให้งานหรือกิจกรรมต่าง ๆ สำเร็จลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ด้วยคนและทรัพยากรในองค์การ และเกิดผลงานบรรลุผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม

                   U : Unity (เอกภาพ) คือ ความเป็นอันหนึ่งเดียวกัน ความสอดคล้องกัน ทางด้านรูปลักษณะโครงสร้าง ด้านเนื้อหาสาระ เรื่องราว และเป้าหมายการทำงานที่เป็นเอกภาพ ซึ่งหมายถึงความเป็นเอกภาพของทีมปฏิบัติการเดิม ได้แก่ ศจพ.จ. / ศจพ.อ. / ชุดปฏิบัติการตำบล และ คณะกรรมการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนกรณียากจน เจ็บป่วย พิการ อนาถา ตามนโยบายผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร โดยมีฐานข้อมูล แนวทาง และเป้าหมายเดียวกัน

                   K : Knowledge  (องค์ความรู้) คือ การใช้ความรู้และความเข้าใจแนวทางของงานที่จะไปขับเคลื่อน ซึ่งรวมไปถึงความสามารถในการนำสิ่งนั้นไปใช้ดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ซึ่งความรู้ความเข้าใจ ประกอบด้วย ฐานข้อมูล กลุ่มเป้าหมาย ตัวชี้วัดและเกณฑ์การวัด ใช้องค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการตามรูปแบบแนวทางของกรมการพัฒนาชุมชน ๔ กระบวนงาน การยกระดับคุณภาพชีวิตคนมุกดาหารด้วย MUK Model การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนกรณียากจน เจ็บป่วย พิการ อนาถา และบทเรียนการทำงานในปีที่ผ่านมา

                   นวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการขับเคลื่อนโครงการ“ยกระดับคุณภาพชีวิตคนมุกดาหารด้วย MUK Model” ได้แก่ ชุดปฏิบัติการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน (ชกคม.) คือ ทีมปฏิบัติการระดับหมู่บ้าน เป็นรูปแบบของการรวมตัวของผู้นำชุมชน ผู้แทนกลุ่มองค์กรในชุมชน มีหน้าที่หลักในการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตของประชาชนในหมู่บ้าน เฝ้าระวังปัญหาไม่ให้ครัวเรือนในหมู่บ้านกลับมาตกเกณฑ์คุณภาพชีวิตตามเกณฑ์ จปฐ. ซ้ำอีก โดยการทำความเข้าใจครัวเรือน แนะนำการจัดทำแผนชีวิต แสวงหาภาคีขับเคลื่อน ติดตามเยี่ยมเยียนให้กำลังใจ ประเมินผลการยกระดับคุณภาพชีวิต และถอดบทเรียนการทำงาน

          ๔. แนวคิดการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ ยึดหลักการปฏิบัติตาม “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”  ยึดแนวคิดการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” มีการเชื่อมโยงทุกมิติ ของการพัฒนาอย่างบูรณาการ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้พร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในระดับปัจเจก ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ขณะเดียวกัน ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมในกระบวนการพัฒนาประเทศ พร้อมทั้งได้กำหนดวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศว่า“สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข  ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง”

 

๓.๒ การถ่ายทอดค่าเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนโครงการสร้างสุขด้วย “Muk Model”

 

      ๓.๒.๑ เป้าหมายการดำเนินงานตามโครงการสร้างสุขด้วย MUK Model

          -  อำเภอคำชะอี มีเป้าหมายการดำเนินงาน  7  ตำบล  25  หมู่บ้าน  มีครัวเรือน  1,053  ครัวเรือน

          -  ครัวเรือนเป้าหมาย แยกได้ดังนี้

                   ๑.  ครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ. ปี  ๒๕๕๗ ด้านรายได้ (รายได้เฉลี่ยต่ำกว่า ๓๐,๐๐๐ บาท/คน/ปี)  จำนวน  35  ครัวเรือน

                   ๒.  ครัวเรือนที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน กรณี ยากจน  เจ็บป่วย  พิการ  อนาถา  จำนวน  ๑0  ครัวเรือน 

                   ๓.  ครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ.  ปี  ๒๕๕๗  อย่างน้อย  ๑  ตัวชี้วัด  จำนวน  ๑,053  ครัวเรือน

 

 

ตำบล

จำนวนหมู่บ้าน

ครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ทั้งหมด (คร)

ครัวเรือนที่ตกเกณฑ์
ด้านรายได้ (คร.)

ครัวเรือนที่ประสบ
ปัญหาความ
เดือดร้อนฯ
 (คร.)

ครัวเรือนที่ตกเกณฑ์
จปฐ. ปี ๒๕๕๗
อย่างน้อย ๑ ตัวชี้วัด

พัฒนากรผู้รับผิดชอบ

บ้านซ่ง

6

 265

11

2

 265

น.ส.ธัญวรรณ  จันปุ่ม

หนองเอี่ยน

3

135

5

1

135

นายประยุทธ สุวรรณศรี

บ้านค้อ

4

156

7

5

156

นางสุปราณี รัชอินทร์

บ้านเหล่า

5

241

5

2

241

นางทัศนีย์  นาดอน

โพนงาม

4

136

4

-

136

นางทัศนีย์  นาดอน

คำบก

2

78

2

-

78

นายศักดิ์เกษม  กุลวงค์

น้ำเที่ยง

1

31

1

-

31

นางทัศนีย์ นาดอน

รวม

25 หมู่บ้าน

1,053 ครัวเรือน

35 ครัวเรือน

10 ครัวเรือน

1,053 ครัวเรือน

 

 

 

 

      ๓.๒.๒ วิธีการถ่ายทอดค่าเป้าหมายตามโครงการสร้างสุขด้วย MUK Model

                   ๑) ประชุมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนเพื่อชี้แจงสร้างความรู้ความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานโครงการสร้างสุขด้วย Muk Model และมอบหมายภารกิจให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง

                   ๒) จัดทำทะเบียนหมู่บ้านและครัวเรือนเป้าหมาย

                   3) จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการสร้างสุขด้วย Muk Model ระดับอำเภอ

                   ๓) จัดทำคำสั่งแต่งตั้งชุดปฏิบัติการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน(ชกคม.)

                   4) ดำเนินการประชุมชี้แจงสร้างความรู้ความเข้าใจชุดปฏิบัติการ ชกคม.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3.3 เทคนิค/วิธีการขับเคลื่อนและการสนับสนุนพัฒนากรในการสนับสนุนชุดปฏิบัติการ ชกคม.

            อำเภอคำชะอี มีเทคนิค/วิธีการขับเคลื่อนโครงการสร้างสุขด้วย Muk Model เพื่อสนับสนุนพัฒนากรในการสนับสนุนชุดปฏิบัติการ ชกคม. โดยได้นำนโยบายแปลงสู่การปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอน ดังนี้

                   -  ขั้นตอนที่  ๑  ขั้นเตรียมการ

                   ๑. ประชุมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการสร้างสุขด้วย Muk  Model  ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการภายในระดับหน่วยงาน  (Internal Performance Agreement : IPA)

                   2. จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการสร้างสุขด้วย Muk Model

                   ๓.  จัดทำโครงการหมู่บ้านศีล ๕

                   ๔. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งชุดปฏิบัติการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน (ชกคม.) จำนวน  25  หมู่บ้าน

                   ๕. ประชุมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนวิเคราะห์และจัดทำฐานข้อมูลครัวเรือนเป้าหมายและผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต  

                   ๖. ส่งหนังสือลงนามโดยท่านนายอำเภอลงนาม พร้อมส่งคำสั่งฯแต่งตั้งชุด ชกคม.แนวทางการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตฯให้ ชกคม.

                   ๗. ประชุมชี้แจงสร้างความรู้ความเข้าใจกับชุดปฏิบัติการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน (ชกคม.) และมอบหมายภารกิจใน 

                   ๘. แจ้งการดำเนินงานโครงการสร้างสุขด้วย Muk  Model ที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการ/กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน  ประจำเดือน

                   ๙. ติดตามผลการดำเนินงาน/รายงานผู้บังคับบัญชาทุกระดับ

 

                   -  ขั้นตอนที่ ๒  ขั้นปฏิบัติการ

                   ๑. สนับสนุนและบูรณาการขับเคลื่อนกิจกรรมในพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมาย  โดยได้มอบหมายภารกิจให้พัฒนากรดำเนินการประชุมขับเคลื่อนร่วมกับเจ้าหน้าที่ทุกตำบล และชุดปฏิบัติการ ชกคม. ทุกหมู่บ้าน

                   ๒.  ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนวิทยากร ประชุมเชิงปฏิบัติการครัวเรือนเป้าหมายที่ตกเกณฑ์ จปฐ.

                      -  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

                      -  เจ้าอาวาสวัด

                      -  อบต.                

                      -  ชุดปฏิบัติการฯระดับตำบล

                       -  กศน.

                   ๓.  ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนกิจกรรมฯในครัวเรือนเป้าหมาย เช่น

                                    -  โครงการเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก / จากประมงอำเภอ

       -  อบต. 

                                    -  สร้างบ้านอยู่อาศัย

                                    -  ปรับปรุงซ่อมแซม/สร้างห้องน้ำห้องส้วม

                   4. ติดตามผลการดำเนินงาน/รายงานผู้บังคับบัญชาทุกระดับ

                   -  ขั้นตอนที่  ๓  ขั้นติดตามประเมินผล

                   ๑.  ร่วมกับเจ้าหน้าที่และชุดปฏิบัติการ ชกคม. ติดตามประเมินผลความก้าวหน้าโครงการฯ                 ๒.  ประชุมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ
                        -  มอบหมายให้พัฒนากรแต่ละตำบลนำเสนอผลงานฯ พัฒนากร ๑ คน ต่อ ๑  หมู่บ้าน

ดีเด่นของตนเองและจัดทำเอกสารสรุปผลงานหมู่บ้านเป้าหมาย

                   ๓.  รายงานผลการดำเนินงานและประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลการดำเนินงานโครงการฯ

                   ๔.  สรุปบทเรียนผลการดำเนินงานส่งจังหวัด

                   ๕.  นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการฯภาพรวมของอำเภอและพัฒนากรนำเสนอ Best Practice

 

3.4 การขับเคลื่อนโครงการสร้างสุขด้วย “Muk Model”

          ๓.4.๑ อำเภอคำชะอี ได้จัดทำแผนปฏิบัติการสนับสนุนส่งเสริมการสร้างสุขด้วย Muk Model ดังนี้

                 ๑) ประชุมสร้างความเข้าใจชุดปฏิบัติการตำบล และ ศจพ.อ. ให้เข้าใจทิศทางการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย กระบวนการทำงาน โดยการมีส่วนร่วมและแสวงหาความร่วมมือการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของครัวเรือน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด

                 ๒) ชุดปฏิบัติการตำบลออกเยี่ยมเยียนครัวเรือนร่วมกับชุดปฏิบัติการ ชกคม. แนะนำครัวเรือนจัดทำแผนชีวิต บัญชีรับ-จ่ายครัวเรือน พูดคุยปรับทัศนคติการดำเนินชีวิตเพื่อให้ชีวิตมีคุณภาพดีขึ้น  ด้วยหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จัดทำ family Folder และจัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ในการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิต ระหว่างชุดปฏิบัติการตำบล ชกคม. กับครัวเรือนเป้าหมาย

                 ๓) สนับสนุนการขับเคลื่อนกิจกรรมให้ความช่วยเหลือครัวเรือนยากจนเป้าหมาย โดยประสานงานของบประมาณ ในการความช่วยเหลือตามสภาพปัญหาของครัวเรือน 

               ด้านอาชีพ  เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสอบถามความต้องการ เพื่อแจ้งขอรับการสนับสนุนทุนประกอบอาชีพให้แก่ครัวเรือนตามศักยภาพของคนในครัวเรือนจากกองทุนช่วยเหลือผู้ยากจน เจ็บป่วย พิการ อนาถา จังหวัดมุกดาหาร

              ด้านการรักษาพยาบาล (เจ็บป่วย) ประสานเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือโรงพยาบาลในพื้นที่ ให้การดูแลรักษาอาการเจ็บป่วยอย่างใกล้ชิดให้ถูกต้องตามหลักการแพทย์ 

              ด้านการสงเคราะห์  (ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ) ประสานงานกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดและศูนย์พัฒนาสังคมที่ ๔๒ ให้ความช่วยเหลือมอบเงินสงเคราะห์ผู้ยากไร้เพื่อยังชีพเฉพาะหน้าของครัวเรือน และ

              ด้านที่อยู่อาศัย (สภาพบ้านเรือนไม่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัย) ประสานองค์กรปกครองท้องถิ่นในพื้นที่จัดหางบประมาณซ่อมแซมหรือจัดสร้างที่อยู่อาศัยให้ครัวเรือนยากจนตามสภาพร่วมกับทางสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดมุกดาหาร

      ๔) จัดประชุม ศจพ.อ. ร่วมกับ ชุดปฏิบัติการตำบล เพื่อรายงานผลความก้าวหน้าของการให้ความช่วยเหลือครัวเรือนยากจน และรายงานผลให้จังหวัดทราบเดือนละ ๑ ครั้ง

      ๕) จัดกิจกรรมฝึกอาชีพแก้จนและจัดตลาดนัดชุมชน จำนวน ๑ ครั้ง ในวันที่ 11 มิถุนายน ๒๕๕๘ ณ ศาลาประชาคมอำเภอคำชะอี โดยมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๓๐ คน ๒ อาชีพ ได้แก่ ทำขนมไข่ และทำไม้กวาดดอกหญ้า

 

          ๓.4.๒ กิจกรรมที่สนับสนุนส่งเสริมกระบวนการขับเคลื่อนโครงการสร้างสุขด้วย Muk Model  ที่เห็นผลเป็นรูปธรรม ได้แก่

 

                   ๑) การฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือน  ได้แก่

   1.1 กิจกรรมสาธิตอาชีพแก้จนคนมุกดาหาร มี 2 อาชีพ ได้แก่ อาชีพทำขนมไข่ และทำไม้กวาดดอกหญ้า โดยมีครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 ครัวเรือน ในวันที่ 11 มิถุนายน 2558    ณ ศาลาประชาคมอำเภอคำชะอี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

   1.2 โครงการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพผู้ด้อยโอกาส โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดมุกดาหาร ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านซ่ง ในระหว่างวันที่ 23 – 24 มิถุนายน 2558 โดยมีครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วม จำนวน 50 คน โดยเน้นให้ครัวเรือนดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, จัดทำบัญชีครัวเรือน และสาธิตการทำน้ำยาล้างจานใช้เองในครัวเรือน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                   2) การมอบเงินสงเคราะห์ , การมอบเงินช่วยเหลือ, ทุนการศึกษาที่มีผู้ส่งมาช่วยเหลือ และจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

ครัวเรือน นางสาวปรารถนา  ตรงดี  บ้านค้อ ม.2 ต.บ้านค้อ อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร

                                                                                                                               

 

      

 

 

 

 

 

                  

การมอบทุนสงเคราะห์ช่วยเหลือครัวเรือน นายนิยม  คนหาญ บ.ดงยาง ม.๔ ต.บ้านค้อ

                        

                                     เดินทางไปมอบเงินสงเคราะห์ ให้  นางเขียน ห้วยทราย

 

การมอบเงินสงเคราะห์โดยพัฒนาสังคมฯ จ. มุกดาหาร 

ร่วมกับพัฒนาชุมชนอำเภอคำชะอี

                   3) มอบปัจจัยการประกอบอาชีพ ได้แก่ เครื่องทำขนมไข่, เครื่องมือช่าง 

  -นายธนูชร  ศรีหาวงค์  เลขที่ 56  ม 7 บ้านโนนสังข์ศรี  ต.บ้านซ่ง  อำเภอคำชะอี

  -นายลิกัน รูปเหมาะ   เลขที่  ๕๐  ม  1 บ้านนาสีนวน ต.บ้านซ่ง  อำเภอคำชะอี

  -นางเนียม สุพร  บ้านเลขที่  50  ม. 4  ทุ่งนางหนาย  ต.หนองเอี่ยน   อ.คำชะอี

 

 

 

 

 

 

                   ๔) โครงการสนับสนุนการสร้างบ้านครัวเรือน                              

 

3.5 การบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายผลการดำเนินงาน

3.5.1 ผลการดำเนินงานเชิงปริมาณ

             ผลการดำเนินงานของโครงการสร้างสุขด้วย MUK Model อำเภอคำชะอี  จังหวัดมุกดาหาร สรุปได้ดังนี้

                   ๑.  ครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ. ปี  ๒๕๕๗ ด้านรายได้ (รายได้เฉลี่ยต่ำกว่า ๓๐,๐๐๐ บาท/คน/ปี)  จำนวนครัวเรือนเป้าหมาย  35  ครัวเรือน ผ่านเกณฑ์ จปฐ. จำนวน 31 ครัวเรือน  คิดเป็นร้อยละ 88.57

                   ๒.  ครัวเรือนที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน กรณี ยากจน  เจ็บป่วย  พิการ  อนาถา
จำนวนครัวเรือนเป้าหมาย  ๑0  ครัวเรือน  ได้รับการแก้ไขปัญหาและความต้องการ จำนวน 10 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100

                   ๓.  ครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ.  ปี  ๒๕๕๗  อย่างน้อย  ๑  ตัวชี้วัด  จำนวนครัวเรือนเป้าหมาย      ๑,053  ครัวเรือน ผ่านเกณฑ์ จปฐ. จำนวน 885 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 84.04

 

          รายละเอียดตามตารางสรุปผลการดำเนินงานโครงการสร้างสุขด้วย “Muk Model” ดังนี้

ตำบล

จำนวนหมู่บ้าน

จำนวนครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ทั้งหมด (คร.)

ครัวเรือนที่ตกเกณฑ์
ด้านรายได้ (คร.)

ครัวเรือนที่ประสบปัญหายากจนฯ อนาถา (๒)

ครัวเรือนที่ตกเกณฑ์
จปฐ.ปี 2557
อย่างน้อย ๑ ตัวชี้วัด (๓)

ครัวเรือนเป้าหมาย

ผ่านเกณฑ์

จปฐ.

คิดเป็น

ร้อยละ

ครัวเรือนเป้าหมาย

ได้รับการแก้ไข

คิดเป็นร้อยละ

ครัวเรือน
เป้าหมาย

ผ่านเกณฑ์ จปฐ.

คิดเป็นร้อยละ

บ้านซ่ง

6

276

11

11

100

2

2

100

276

220

79.71

หนองเอี่ยน

3

135

5

4

80

1

1

100

135

90

66.67

บ้านค้อ

4

156

7

7

100

5

5

100

156

130

83.33

บ้านเหล่า

5

241

5

2

40

2

2

100

241

205

85.06

โพนงาม

4

136

4

4

100

-

-

100

136

118

86.76

คำบก

2

78

2

2

100

-

-

100

78

70

89.74

น้ำเที่ยง

1

31

1

1

100

-

-

100

31

26

83.87

รวม 6 ตำบล

25

1,053

35

31

88.57

10

10

100

1,053

885

84.04

   (ข้อมูล ณ วันที่ ๒2 กรกฎาคม ๒๕๕๘)

 

3.5.๒ ผลการดำเนินงานเชิงคุณภาพ

                 โครงการสร้างสุขด้วย MUK Model ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดีมีความสุขตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) และตอบสนองยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน ๓ ประเด็น ได้แก่ ๑) สร้างสรรค์ชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข  ๒) เสริมสร้างขีดความสามารถการบริหารงานชุมชน และ ๕) เสริมสร้างองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง บรรลุวิสัยทัศน์กรมการพัฒนาชุมชน “ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง” ซึ่งสามารถอธิบายได้ตามรายละเอียดดังนี้

                ๑. การยกระดับคุณภาพชีวิตของครัวเรือนเป้าหมายที่ตกเกณฑ์คุณภาพชีวิตตามเกณฑ์ จปฐ.  และครัวเรือนที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน เป็นการทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในภาพรวมทั้งอำเภอดีขึ้น ส่งผลต่อการตอบสนองยุทธศาสตร์ที่ ๑ สร้างสรรค์ชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข

               ๒. การส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) การสร้างและพัฒนาองค์กรภาคประชาชนที่เป็นทีมปฏิบัติการหมู่บ้าน ให้มีความสามารถในการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ส่งผลต่อการตอบสนองประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ เสริมสร้างขีดความสามารถการบริหารงานชุมชน

               ๓. การสร้างความรู้ความเข้าใจการทำงานเชิงบูรณาการของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนในภาวะที่มีบุคลากรจำกัด การสร้างเครือข่ายการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและภาคีการพัฒนา ทำให้หน่วยงานสามารถขับเคลื่อนงานให้มีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายได้รวมเร็วยิ่งขึ้น ส่งผลต่อการตอบสนองประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๕ เสริมสร้างองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง

         

 

ภาคผนวก

 

๑.      สำเนาโครงการสร้างสุขด้วย “MUK Model”

๒.      คำสั่งชุดปฏิบัติการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน (ชกคม.)

๓.      คำสั่งชุดปฏิบัติการสนับสนุนการขับเคลื่อน ชกคม.ระดับอำเภอ

๔.      คำสั่งคณะทำงานปฏิบัติการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับอำเภอ (ศจพ.อ.)

๕.      คำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนรับผิดชอบตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘

๖.      ฐานข้อมูลครัวเรือนตกเกณฑ์ จปฐ. ปี ๒๕๕๗

๗.      แผนปฏิบัติการอำเภอ

๘.      ทะเบียนครัวเรือนเป้าหมาย

๙.      รายงานโครงการสร้างสุขด้วย Muk Model (แบบ Muk 2)

๑๐.  สรุปผลการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนกรณียากจน เจ็บป่วย อนาถาฯ

๑๑.  สรุปผลการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ปี 2558

๑๒.  ภาพกิจกรรม

view

แผนที่อำเภอ

view