http://kccd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าหลัก

 ภารกิจ สพอ.

 บทบาทหน้าที่

 ประวัติอำเภอ

 แผนที่อำเภอ

 บุคลากร

 เว็บบอร์ด

ติดต่อเรา

ลิงค์หน่วยงาน

งานนโยบายสำคัญ

กิจกรรมเด่น/โครงการริเริ่ม

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน/ ตำบล (VDR/TDR)

คลังภูมิปัญญา OTOP

องค์ความรู้ พช.

ปฎิทิน

« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      

สถิติ

เปิดเว็บ24/11/2014
อัพเดท20/11/2017
ผู้เข้าชม32,638
เปิดเพจ39,689
iGetWeb.com
AdsOne.com

โครงการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร (ABC DEF S&P)

โครงการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร : CDD WORK SMART

(A B C D E F : S&P)

 

 

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอคำชะอี ได้ส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร : CDD WORK SMART ตามนโยบายกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

 A = Appreciation : ชื่นชม หมายถึง การตระหนัก เข้าใจ ชื่นชมยินดี ยอมรับนับถือ ยกย่องให้เกียรติในคุณค่าและความสำคัญของผู้อื่น
 B = Bravery : กล้าหาญ หมายถึง ความกล้าหาญไม่เกรงกลัวต่ออันตรายหรือความยากลำบาก หรือสถานการณ์ยุ่งยากไม่สบายใจ
 C = Creativity : สร้างสรรค์  หมายถึง ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ประดิษฐ์ คิดค้นสิ่งใหม่ด้วยความคิดของตัวเองที่ไม่ธรรมดา
 D = Discovery : ใฝ่รู้  หมายถึง การใฝ่รู้ การค้นหา การค้นพบข่าวสาร ความรู้ สถานที่และวัตถุต่างๆ เป็นครั้งแรก
 E = Empathy : เข้าใจ  หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด หรือประสบการณ์ของผู้อื่น โดยการเอาใจเราไปใส่ใจเขา จินตนาการว่า หากอยู่ในสถานการณ์นั้นจะเป็นเช่นไร
 F = Facilitation : เอื้ออำนวย หมายถึง การทำให้ง่ายการทำให้งานนั้นเป็นไปได้การเอื้ออำนวยความสะดวกให้ผู้อื่นทำงานในวิถีทางที่เหมาะสมกับตัวเขาเอง
 S = Simplify : ทำให้ง่ายขึ้น ทำให้เข้าใจง่าย ทำให้ชัดเจน 
 P = Practical : ความเป็นจริงเกี่ยวกับการกระทำ การปฏิบัติ สามารถปฏิบัติได้ เหมาะสม มีประโยชน์ ตามความเป็นจริง

ใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้องค์กรบรรลุวิสัยทัศน์และเป้าหมายสำคัญ "ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง" "คนสำราญ งานสำเร็จ"


การนำวัฒนธรรมองค์การ CDD WORK SMART

ไปใช้ในการเตรียมคัดสรรหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่น บ.แข้ หมู่ 5
ต.บ้านค้อ อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


โดย....สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร

 

 แบบบันทึกความรู้

ชื่อ – สกุล ผู้ถอดบทเรียน สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอคำชะอี

บันทึกเมื่อ  18  มิถุนายน  2558

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอคำชะอี       จังหวัดมุกดาหาร

ชื่อเรื่อง  การนำวัฒนธรรมองค์การCDD WORK SMART ไปใช้ในการเตรียมคัดสรรหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่น บ.แข้ หมู่ 5 ต.บ้านค้อ อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร

๑.บทนำ

                กรมการพัฒนาชุมชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ จนเป็นวิถีชีวิตของสังคมไทย  ได้ริเริ่มคิดค้นและพัฒนารูปแบบกิจกรรมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงมาตั้งแต่ปี 2549  โดยดำเนินโครงการและปรับปรุงพัฒนาเป็น” หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ” ในปี 2552 เป็นการขยายแนวคิดการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และร่วมกันขับเคลื่อนสังคมไทยไปสู่ “สังคมอยู่เย็น เป็นสุข” อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนา ซึ่งบ้านแข้ หมู่ 5 ตำบลบ้านค้อ อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร  ก็เป็นอีกหมู่บ้านเป้าหมายใน ปี 2558 งบกระทรวงมหาดไทย ที่ได้รับการพิจารณาเข้าร่วมกิจกรรมหมู่บ้านขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2558และเข้ารับการคัดสรรหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่น “อยู่เย็น เป็นสุข” จนได้รับรางวัลชนะเลิศ อันดับที่ 1 ระดับจังหวัด ด้วยความพร้อมเพรียงและการมีส่วนร่วมของชุมชน อย่างภาคภูมิใจ

๒.วิธีการ หรือกระบวนการทำงานหรือขั้นตอนอย่างไรบ้าง และแต่ละวิธีการ หรือกระบวนการทำงาน หรือขั้นตอน  มีวิธีปฏิบัติอย่างไร มีเทคนิคดีๆหรือเคล็ดลับอะไรบ้าง

          ๒.๑ Appreciation Eยอมรับนับถือให้เกียรติและให้ความสำคัญกับผู้นำชุมชน และกม.แกนนำ เชื่อมั่นในศักยภาพของเขา โดยการเชิญผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน และแกนนำ มาประชุมทำความเข้าใจ เพื่อลงไปจัดเวทีประชาคมคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบอีก 30 ครัวเรือน และให้ผู้นำชุมชนพร้อมชาวบ้านได้ดำเนินกิจกรรมอยู่บนพื้นฐานการมีส่วนร่วม โดยผ่านเวทีประชาคมในการตัดสินใจ ใครทำดีก็มีการยกย่องชมเชย เพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน

 

 

 

 

 


          ๒.๒ B : Bravery กล้าหาญไม่เกรงกลัวต่อความยากลำบาก หรือสถานการณ์ยุ่งยากไม่สบายใจ เห็นได้จากผู้นำชุมชนเป็นแบบอย่างในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง จะเห็นได้จากครัวเรือนของแกนนำสามารถเป็นศูนย์เรียนรู้และดำรงชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างเป็นรูปธรรม และทุ่มเท เสียสละในการทำงาน ร่วมกับนายอำเภอ เจ้าหน้าที่พช. ตลอดจนหน่วยงานทุกภาคส่วน

          ๒.๓ C:Creativity มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ พัฒนาและเสนอผลงานให้แตกต่างและดีกว่าเดิม จะเห็นได้จากการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานในพื้นที่ การเตรียมกิจกรรม การประสานบูรณาการกับทุกภาคส่วน เพื่อเป้าหมายอันเดียวกันคือการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง และมีการสนับสนุนให้ผู้นำชุมชนนำเสนองานโดยการนำสื่อวีดิทัศน์ การนำเสนอโดยระบบIT การถ่ายทอดนำเสนอภูมิปัญญาโดยผ่านบทกลอนลำและวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นวิถีชีวิตของคนในชุมชน   และเน้นการทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน โดยมอบหมายงานให้ตามความถนัดของแต่ละบุคคล เช่น ในการฝึกอบรมภาคทฤษฎี โดยเปิดโอกาสให้ผู้ใหญ่บ้านและผู้นำทางธรรมชาติที่อยู่ในชุมชน แสดงศักยภาพที่มีอยู่โดยให้ร่วมเป็นวิทยากร และนำแกนนำครัวเรือนต้นแบบ 30 ครัวเรือนไปดูงานที่กลุ่มเป้าหมายสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพในชีวิตประจำวันได้

 

 

 


         

          ๒.๔ S: Simplify ทำงานให้ชัดเจนและง่ายขึ้น เช่น การสาธิตกิจกรรม โดยนำคนที่มีความรู้อยู่ในชุมชนมาเป็นวิทยากร แบบพี่สอนน้อง

          ๒.๕ D: Discovery มีการเรียนรู้และพัฒนางานและตนเองอย่างต่อเนื่อง  มีผลงานการนำเสนอความรู้สามารถนำมาปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น การศึกษา การสรุปถอดบทเรียน การใฝ่รู้หาความรู้ทางด้านเทคโนโลยี่ใหม่ๆ มาใช้ในงาน เช่น การนำเสนอสื่อวีดีทัศน์ การศึกษาดูงานแล้วนำมาใช้ในพื้นที่สรุปกิจกรรมและถอดบทเรียนการดำเนินงาน ประเมินความสุขมวลรวม

           2.6 E: Empathy ทำงานด้วยการเอาใจเราไปใส่ใจเขา ยอมรับความแตกต่างของแต่ละบุคคล ปฏิบัติต่อทีมงานและผู้นำกลุ่มองค์กร ชาวบ้าน อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน เช่น นายอำเภอ เจ้าหน้าที่ พช. นายก อบต. ผอ.รพสต. และบุคลากรทางการศึกษาทั้งที่อยู่ในระบบและเกษียณแล้ว ในท้องถิ่น ร่วมผนึกกำลังในการทำงานเตรียมพื้นที่ประกวดหมู่บ้านอย่างทุ่มเทและเสียสละ ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับผู้นำ กลุ่มองค์กร ชาวบ้านด้วยความเอาใจใส่ และจริงจัง จริงใจ

 

 

 

 


          2.7 F: Facilitation เอื้ออำนวย ในการทำงานทั้งในสำนักงานและงานในพื้นที่ เช่น ในการเตรียมกิจกรรมการคัดสรร ทีมงาน พช.จะเอื้ออำนวยทางด้านวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องใช้สำนักงาน แก่บุคลากรในหมู่บ้านที่มีความสามารถทางด้านเทคโนโลยี เอื้ออำนวยในการจัดเวทีประชาคม เพื่อให้งานราบรื่นและเน้นการมีส่วนร่วมให้มากที่สุดด้วยความยิ้มแย้ม เป็นมิตร จนชุมชนเกิดการยอมรับและประทับใจในการทำงานร่วมกัน

๓.ข้อแนะนำ หรือพึงระวังอย่างไร

          ๓.๑ การสร้างความเข้าใจก่อนการดำเนินงานกับผู้นำหมู่บ้านและแกนนำเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก

          ๓.๒ การพิจารณาคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบ และกิจกรรมสาธิตอาชีพ ต้องผ่านเวทีประชาคม และมาจากความต้องการของชุมชนจริงๆ กิจกรรมถึงจะยั่งยืน

          ๓.๓ ในการพิจารณาครัวเรือนต้นแบบ ครัวเรือนนั้นจะต้องทำกิจกรรมตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่น กิจกรรมการลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้ ฯลฯ อยู่ก่อนแล้ว จะได้เห็นผลเป็นรูปธรรมและสามารถเป็นแบบอย่างของครัวเรือนอื่นได้

          ๓.๔ ให้ความสำคัญกับผู้นำและแกนนำ ตลอดจนกลุ่ม องค์กร ชาวบ้าน  โดยการชื่มชม ยกย่องเชิดชู ให้กำลังใจ เอาใจเขามาใสใจเรา

          ๓.๕ ประสานบูรณาการกับหน่วยงาน ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับชุมชน เช่น ปกครอง อบต. รพสต. เกษตร โรงเรียน ฯลฯเพื่อเข้ามาส่งเสริม สนับสนุน อย่างต่อเนื่อง

๔.ความยุ่งยาก/ปัญหา/อุปสรรค

          ๔.๑ หมู่บ้านเป็นหมู่บ้านแฝด ดังนั้นการทำกิจกรรมก็ต้องพิจารณาคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายจากทั้ง 2 หมู่บ้าน ให้เท่าเทียมกัน ระมัดระวังคำพูด การสื่อสาร และกริยาอาการที่จะไปกระทบกับคนในชุมชน   

๕.ประโยชน์ที่ได้รับ

          ๕.๑ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน/องค์กร

                   - เป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานให้กับหมู่บ้าน มีความสามัคคี ผนึกกำลังในการทำงานอย่างทุ่มเท เสียสละเป็นหนึ่งเดียว  ภายใต้สถานการณ์ขาดผู้บริหาร

                   - ได้รับความศรัทธาไว้วางใจและมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้นำ แกนนำ กลุ่ม องค์กร และคนในชุมชน  ทำให้ได้รับความร่วมมือในการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชนอย่างดี

                     - ได้รับความไว้วางใจและเชื่อมั่น ทีมงานได้รับขวัญกำลังใจจากนายอำเภอ จากการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในพื้นที่

          ๕.๒ ประชาชน

                   -มีการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรม

                   -ครัวเรือนต้นแบบทั้ง 30 ครัวเรือน สามารถเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต และเป็นแหล่งเรียนรู้แก่ครัวเรือนอื่นๆ ได้

                   -ประชาชนมีอาชีพและรายได้เพิ่มขึ้น ทำให้ไม่มีหนี้นอกระบบ

                   -มีสถานที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทางด้านการประกอบอาชีพ คือ กลุ่มทอผ้า กลุ่มทอเสื่อกก และศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

                    - ภาคภูมิใจในกิจกรรมที่พวกเขามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นตนกระทั่งเป็นต้นแบบในการเรียนรู้ได้

          ๕.๓ ชุมชน

                   - คนในชุมชนสมัครสมานสามัคคี เอื้ออารีต่อกัน มีความภาคภูมิใจในรางวัลที่ได้รับ เป็นแรงผลักดันให้สร้างกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม

                   -คนในชุมชนมีการรวมตัวกันทำกิจกรรม 6 ฐาน คือ การลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ประหยัด การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน การเอื้ออารี

                   -มีสวัสดิการชุมชน จัดสรรจากผลกำไรของกลุ่มออมทรัพย์ และกลุ่มการเงินอื่นๆ ในชุมชน เพื่อช่วยเหลือสมาชิกและคนในชุมชนตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเสียชีวิต และประสบเหตุภัยพิบัติต่างๆ

                   - ชุมชนมีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น มีป้ายแสดงกลุ่ม องค์กร การจัดระเบียบบริเวณภายในหมู่บ้าน การจัดการขยะ มีการรวมพลังจัดตั้งกลุ่มในการดูแลรักษาแหล่งน้ำ อนุรักษ์ปลูกพันธุ์ไม้ สนับสนุนพันธุ์ปลา ภายใต้กลุ่ม”รักษ์ห้วยแข้”โดยไม่พึ่งพางบประมาณจากทางราชการ

              การดำเนินงานในงานพัฒนาชุมชนทุกกิจกรรมนั้น จะประสบผลสำเร็จและมีกิจกรรมต่อเนื่องยั่งยืนได้นั้น ต้องเกิดจากความต้องการของชุมชน ซึ่งจะส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน เปิดโอกาสให้ผู้นำและกลุ่ม องค์กร ชาวบ้านได้แสดงศักยภาพ บนพื้นฐานวัฒนธรรมและกิจกรรมที่มีอยู่ในท้องถิ่น “เข้าถึง เข้าใจ พัฒนา” ก้าวหน้าสู่ความยั่งยืนและพึ่งตนเองได้ และที่สำคัญอย่างยิ่งของการทำงานเป็นทีมคือ การทุ่มเทเสียสละ ช่วยเหลือกันตามความถนัด เอาใจใส่ซึ่งกันและกัน และได้รับขวัญกำลังใจ เป็นสิ่งสำคัญในการทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างสรรค์งาน พช.

view

แผนที่อำเภอ

view